ข้อเท็จจริงพลังงานไทย : สารพันคำอธิบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

คนไทยทุกคนควรขวนขวายหาข้อมูลแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความสามารถความฉลาดและซื้อสัตย์ของข้าราชการไทยตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเรื่อยมาทั้งที่มีต้นทุนสูง 40-50% ของราคาที่ขายได้เพราะแหล่งมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายเราพบก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก มีสัดส่วนถึง 70 กว่า %ของปิโตรเลียมที่ค้นพบทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐฯ ก็ได้เผยแพร่ให้รับทราบกันทั่วไปอยู่แล้วเราจึงได้ใช้ก๊าซในประเทศในราคาถูกมาตลอด 30 กว่าปีเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งก๊าซถูกกว่าน้ำมันเตา ถูกกว่าน้ำมันดีเซลมาก และถูกกว่าก๊าซนำเข้าถึงครึ่งต่อครึ่งน้ำมันดิบส่วนมากถูกค้นพบในยุคหลังๆส่วนใหญ่ขายให้โรงกลั่นในประเทศเพราะผู้ขายได้ประโยชน์จากการที่สามารถเอาค่าภาคหลวงมาหักภาษีได้ มีส่งออกอันเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เกิดการใช้ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ภายในประเทศมาตั้งแต่เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 แต่ในปีแรกๆ ส่งออกมากกว่าใช้ในประเทศ เพราะ spec น้ำมันดิบที่ผลิตได้ไม่เหมาะกับโรงกลั่นในประเทศ (น้ำมันดิบถูกพบหลังจากสร้างโรงกลั่นไปแล้ว) ต่อมาเอกชนก็ปรับปรุงโรงกลั่นให้รองรับน้ำมันเหล่านี้ได้ จึงลดการส่งออกลงขณะนี้ประมาณ 44,000 บาร์เรลต่อวัน ก็คือ 30% ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ซึ่งถ้าเทียบกับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดของประเทศที่ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ก็เป็นแค่ 5% ที่ยังส่งออกอยู่เพราะ

  1. ผู้ซื้อภายในประเทศไม่ต้องการ
  2. ผู้รับสัมปทานมีสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าต่างประเทศ (ตกลงทำสัญญากันล่วงหน้าไว้แล้ว)
  3. ผู้รับสัมปทานยังต้องส่งออกเป็นครั้งคราวบ้าง เพื่อรักษาตลาดไว้ (ในกรณีที่ไม่สามารถขายภายในประเทศได้)

ภาพนี้ได้มาจากสถาบันปิโตรเลียม แสดงให้เห็นแหล่งปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะ แสดงตัวเลขผลิตไปแล้วเท่าไร ส่งออกเท่าไร เหลืออีกเท่าไรเผยแพร่ต่อสาธารณะทั้งหมดมาตลอดเกือบยี่สิบปีแหล่งทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และภาพนี้ทำให้เราทราบถึงข้อเท็จจริงพลังงานไทยมากยิ่งขึ้นโดยในกฎหมายก็เขียนไว้ชัดว่าทรัพยากรเป็นของรัฐฯ บริษัทน้ำมันเป็นผู้รับสัมปทาน ได้สิทธิสำรวจและผลิตภายใต้การควบคุมของรัฐฯ ตามกฎหมายพ.ร.บปิโตรเลียม ไม่ใช่เจ้าของ ซึ่งกำหนดหน้าที่ สิทธิและการแบ่งผลประโยชน์ไว้อย่างชัดเจนแน่นอนไม่ได้เป็นไปตามอำเภอใจข้าราชการหรือนักการเมือง ไม่มีใครที่จะโกงพลังงานไทยได้อย่างแน่นอน ไม่ว่ายุคไหนไม่ว่าก๊าซน้ำมันดิบ คอนเดนเสท ทั้งหมดที่ผลิตได้จากผืนแผ่นดินไทย รัฐฯเก็บส่วนแบ่งกำไร 55% สำหรับ Thailand 1 ส่วน Thailand 3 ก็ ได้ 70% กว่า ไม่ว่าจะส่งออกหรือไม่ส่งออก ไม่ได้ทำให้รัฐเสียประโยชน์เลย หนำซ้ำส่วนที่ส่งออกก็จะทำให้ได้ค่าภาคหลวงสูงขึ้น เพราะราคาส่งออกสูงกว่าราคาขายในประเทศ จากเรื่องเครดิตภาษีข้างต้น

ประเทศไทยใช้ก๊าซ น้ำมันดิบ และคอนเดนเสทรวมกันวันละประมาณ 2 ล้านบาร์เรล น้ำมันดิบที่ผลิตได้ 0.15 ล้าน กับคอนเดนเสทอีก 0.1 ล้านก็คิดเป็นเพียง 12% กว่าๆ ของความต้องการใช้ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกวันละ 0.9 ล้านบาร์เรล (45%) แต่ด้วยสัดส่วนที่น้อยอย่างที่เห็นจึงไม่ได้ส่งผลต่อต้นทุนของโรงกลั่นมากนักมันเป็นเหตุเป็นผลที่เข้าใจได้อยู่แล้วถ้าไม่ใช้อารมณ์ที่ไม่พอใจราคาน้ำมันสำเร็จรูปแพงมากระตุ้น

น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์เวลาขายก็ต้องอิงราคาตลาดโลกเหมือนทองคำ เหมือนข้าว เหมือนสินแร่อื่นๆ ทั้งหมด เราผลิตข้าวผลิตยางได้เป็นที่หนึ่ง ที่สองของโลกก็ยังต้องขายตามราคาตลาดไม่งั้นเราก็ต้องออกมาคัดค้าน โจมตี ให้ราคาทองถูกๆ ราคาข้าวราคายางถูกไปด้วยแล้วเราก็ผลิตน้ำมันดิบได้นิดเดียว คือ 0.17% ของโลก(150,000 เทียบกับ 88,000,000 บาร์เรลต่อวัน)ไม่ได้เป็นเจ้าตลาดโลกเหมือนข้าว เหมือนยาง จะไปหวังลมๆ แล้งๆ ให้เราสามารถกำหนดราคาน้ำมันที่จะเอาเข้ามากลั่นในประเทศได้อย่างไร

เอาข้อมูลนี้มาแชร์กันเพื่อที่จะบอกว่า ภาครัฐ ไม่เคยโกหกไม่กลัวการจับได้ ไม่ต้องแก้เกี้ยว แต่กลัวการใส่ร้าย บิดเบือน ดังนั้นจงค้นหาข้อมูลให้รอบด้าน ทั่วถึง ศึกษาให้เข้าใจ ไม่เข้าใจก็ถาม แล้วคิดแล้วถามจนเข้าใจ อย่าเชื่อคนที่ไม่เข้าใจ หรือจงใจทำเป็นไม่เข้าใจและไปปะติดปะต่อข้อมูลกันออกมาเพื่อจะโจมตี

 ข้อเท็จจริงพลังงานไทย

ที่มา : https://www.facebook.com/notes/wisut-punnahitanon/สารพันคำอธิบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติคนไทยช่วยกันสนใจทรัพยากรของเรากันหน่อย/520844867969230

Share This: