ปตท. กับการ แปรรูป

     การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่ผลิตและสำรวจ แปรรูป ไปจนถึงค้าปลีกน้ำมันและแก๊ส เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่เศรษฐกิจและเพื่อเป็นความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ

     จนกระทั่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 จำเป็นต้องพึ่งพาเงินกู้ในโครงการช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ จะต้องมีการดำเนินการ “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ”สู้วิกฤตต้มยำกุ้งแปรรูป ปตท. เพื่อระดมทุนจากตลาดหุ้น

     บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ปตท. พร้อมกับกลุ่มคนไม่น้อยที่ต่อต้านการแปรรูป เพราะมองว่าเป็นการขายชาติ เอาสมบัติชาติมาขาย พร้อมปลุกระดมคนเพื่อต่อต้านตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

     หลังจากแปรรูป ปตท. สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารงาน ส่งผลให้ทำรายได้ให้รัฐเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนที่ ปตท. จะแปรรูปเสียอีก

     จากบริษัทพลังงานแห่งชาติ สู่บริษัทพลังงานข้ามชาติ ขยายการลงทุนสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ปตท. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน
ซึ่งจากที่กล่าวมา การแปรรูป ปตท. ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่อย่างใด โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกชุดมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย จึงมั่นใจได้ว่า การแปรรูป ปตท. มีความโปร่งใส และดำเนินถูกต้องทุกขั้นทุกตอน

Share This: