หยุดมโนวาทกรรมราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลเซีย

คงเคยมีคนโพสต์เรื่องการรณรงค์คัดค้านทางประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ โดยโยงกับราคาพลังงาน และ ใช้ประโยคเชื่อมโยงที่ว่า “ราคาน้ำมันต้องเท่ามาเลเซีย”

หากวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้กับการเอามาโยงราคาน้ำมันนั้นคนละเรื่องกันทีเดียว เพราะ สาระสำคัญในการประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ สาระสำคัญอยู่ที่การผลิตก๊าซธรรมชาติ เพื่อเอามาผลิตไฟฟ้า

กราฟการใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้า จาก สนพ.ที่มา สนพ.

 

ส่วนต่อมาเรื่องการที่บอกว่า ใช้ระบบจ้างผลิตได้ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐมากกว่าระบบแบ่งปันผลิตได้ผลประโยชน์มากกว่านั้น กลุ่มคนที่เข้าใจผิด มีการอ้างไปถึงว่า จ้างผลิตได้มากกว่า คงลืมไปว่า หากรวมตัวเลขทุกตัวเข้าด้วยกันของไทยได้มากกว่าด้วยซ้ำ

 

การบิดเบือนข้อมูลผลประโยชน์ที่ได้จากสัมปทาน

รายได้รัฐจากสัมปทานน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

 

ส่วนถัดมา มีความเข้าใจผิดว่า มาเลเซียมีหลุม มีบ่อน้ำมันและก๊าซน้อยกว่าเรา เรื่องหลุมน้อยกว่า มากกว่า ไม่ได้เป็นหลักฐานว่า เราร่ำรวยกว่ามาเลเซียหรือประเทศอื่นๆ แต่หากต้องพิจารณา ปริมาณที่พบด้วย

ทำไมราคาน้ำมันจึงแพงกว่า

 

จำนวนหลุมผลิตมากกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะผลิตปิโตรเลียมได้มากกว่า

 

 

สุดท้ายมีการเชื่อมโยงประเด็น ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย การแปรรูป ปตท. ทำให้น้ำมันแพงขึ้น หากเป็นผู้เจริญ ฉลาด และ คิดได้ จะไม่มีตรรกะการเชื่อมโยงแบบนี้เด็ดขาด เพราะ ไม่เกี่ยวกัน ราคาน้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม เช่น เมื่อพูดถึง “ข้าวหอมมะลิ” ผู้ที่บริโภคข้าวทั่วโลกจะเข้าใจทันทีว่าหมายถึงอะไร มีลักษณะอย่างไร ซื้อหรือขายกันที่น้ำหนักเท่าไร เป็นต้น ดังนั้น ข้าวหอมมะลิ จึงจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ในทางตรงข้าม เมื่อพูดถึง “รถยนต์” จะพบว่าผู้ผลิตแต่ละรายผลิตรถยนต์ที่มีลักษณะ คุณภาพ และมาตรฐานแตกต่างกันมาก รถยนต์จึงไม่จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์

ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก เราจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ราคาทองคำที่ซื้อขายกันที่เยาวราชจะขึ้นลงโดยอิงกับราคาตลาดโลก

การแปรรูป ปตท. ไม่เกี่ยวกับการทำให้ราคาน้ำมันแพง

 

หากพิจารณาตามภาพสัดส่วนราคาเนื้อน้ำมัน หรือแม้แต่ค่าการตลาดมีแปรผันตลอด มีขึ้นและลง แต่หากในส่วนของ ภาษีกับกองทุนต่างๆ นั้น มีสัดส่วนที่เก็บเพิ่ม และไม่ค่อยลดลงอีกต่างหาก

 

ถ้าหากตรรกะว่าแปรรูป ปตท ทำให้น้ำมันแพง แบบนี้เท่ากับสินค้าทุกชนิดในโลกนี้ ได้รับการแปรรูปเหมือนกันหมดทุกอย่าง ตามภาพด้านล่าง

 

กราฟดัชนีหุ้นกับทองคำ

https://portal.settrade.com/blog/sombat/2010/10/22/935

กราฟราคาน้ำมัน 1861-2010

https://www.businessinsider.com.au/chart-of-the-day-oil-since-1861-2011-6

 

แต่หากยังสงสัยอีกว่าทำไมน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย นั่นก็คือ มาเลเซียไม่มีการเก็บภาษี

 

ทำไมน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย

 

ข้อมูลจาก http://energythaiinfo.blogspot.com/2019/01/butterfly-effect.html

Share This: