มหากาพย์ปล้นคนไทย ใครกันแน่ที่ปล้นเรา

มหากาพย์ปล้นคนไทย อย่าให้ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ มาปล้นเกี่ยวกับความรู้ อย่าให้ปตท ทรราชน้ำมันมาปล้นความเชื่อและ ความจริงไปจากเรา
ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก


ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก ผมขอเขียนตามที่เพจบ้างเพจได้กล่าวอ้างมาเลยละกัน แต่จะให้ดี ขอเกริ่นถึงหน้าที่ของโรงแยกก๊าซก่อนจะดีกว่า

วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติแต่ละหน่วย
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 1
เพื่อผลิตวัตถุตั้งต้นให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2, 3 และ 4
เพื่อขยายตัวตามความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวก๊าซหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้น
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5
เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีความต้องการก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบตั้งต้น พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงในด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์
http://vcharkarn.com/varticle/42530

ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรงแยกก๊าซสร้างมาเพื่ออะไร และมันก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจขนาดไหน เรามาเข้าเรื่องของเพจนี้ที่ได้กล่าวอ้างมาละกัน เนื่องจากทุกอย่างมันเชื่อมกันหมดเลยต้องขอแยกเป็นเรื่องนะครับ

แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงที่มาของราคาก๊าซ LPG นั้นเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าก๊าซ LPG ที่เราใช้กันอยู่ในประเทศนั้นมาจากไหนบ้าง เพราะราคาก๊าซ LPG จากแต่ละที่นั้นแตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทยก๊าซ LPG มาจากสามแหล่งหลักๆ คือ

1) ได้มาจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งก๊าซ LPG นี้ก็ถือเป็นผลผลิตที่ได้ออกมาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันนั่นเอง

2) ได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยภายหลังมีการขุดค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถนำไปแยกองค์ประกอบที่มีความชื้นสูง หรือที่มีสภาพเป็นของเหลวออกมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ แทนที่เราจะนำก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ไปเผาเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดนั้น เราก็จับมันมาทำการแยกส่วนที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอื่นได้อีก ซึ่งก๊าซ LPG ก็ถือเป็นหนึ่งที่ได้มาจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาตินี้ ก๊าซ LPG ที่ได้ก็สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการผลิตสิ่งต่างๆ เช่น เมล็ดพลาสติก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ก๊าซ LPG ที่ได้นี้ก็สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เช่นกัน โดยจะเห็นว่าปัจจุบันนั้นมีการนำก๊าซ LPG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคหุงต้ม ภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม

3) ก๊าซ LPG ที่ได้มาจากการนำเข้า ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันนั้นการผลิตก๊าซ LPG ทั้งจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในประเทศ ทำให้ปัจจุบันเราต้องนำเข้าก๊าซ LPG อยู่ประมาณ 181,000 ตันต่อเดือน (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 จากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน)

เมื่อทราบแหล่งที่มาแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าต้นทุนของก๊าซ LPG ที่มาจากแต่ละแหล่งนั้นเป็นอย่างไร โดยในส่วนของต้นทุนก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันนั้น เราก็ต้องมาดูก่อนว่าเราได้ก๊าซ LPG ที่ได้มานั้นมาได้อย่างไร ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโรงกลั่นน้ำมันนั้นใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งที่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่และก็เป็นการนำเข้าในราคาที่ซื้อขายกันในตลาด ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันนั้น ก็จะต้องมีการขายในราคาตลาดด้วยเช่นกัน ดังนั้นราคาของก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากโรงกลั่นนี้จึงต้องสะท้อนถึงราคาตลาดที่มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยทั่วไป ซึ่งก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามราคาตลาด แต่ปัจจุบันรัฐก็ไม่ได้ให้โรงกลั่นขายก๊าซ LPG ในราคาตามที่ควรจะได้ โดยรัฐได้มีการกำหนดราคาก๊าซ LPG ให้กับโรงกลั่นน้ำมันโดยวิธีการใช้ราคาเฉลี่ยที่คำนวณจากราคาตลาด (ราคา CP) ในอัตราส่วนร้อยละ 76 และราคาที่รัฐตั้งเพดานไว้ในประเทศที่ 333 ดอลลาร์ต่อตันในอัตราส่วนร้อยละ 24 ซึ่งก็จะทำให้ราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นนั้นต่ำกว่าราคาตลาดลงมาในระดับหนึ่ง

สำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตมาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้น จะต่างกับก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันคือก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นจะใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิต ดังนั้น ต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG จึงมาจากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยบวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาโดยทางกระทรวงพลังงานนั้นทำให้ทราบว่าราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นจะอยู่ที่ประมาณ 550 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งก็ยังสูงกว่าราคาที่รัฐกำหนดไว้ที่ 333 ดอลลาร์ต่อตัน และส่วนต่างตรงนี้โรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นก็เป็นผู้รับภาระ โดยรัฐไม่ได้เข้ามาอุดหนุนแต่ประการใด


สำหรับการนำเข้าก๊าซ LPG มาใช้ในประเทศนั้นก็ตรงไปตรงมาคือเป็นราคาที่เราซื้อมาในราคาตลาดโลกบวกกับต้นทุนการนำเข้า ซึ่งปัจจุบัน (ราคา ณ เดือนกรกฎาคม 2556) ราคาที่ขายอยู่ในตลาดโลกที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้าอยู่ที่ 793 ดอลลาร์ต่อตัน ถ้ารวมกับค่าใช้จ่ายในการนำเข้าซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ เดือนโดยขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น อัตราแลกเปลี่ยน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็จะทำให้ต้นทุนการนำเข้าก๊าซ LPG ขยับไปอยู่ที่ประมาณ 850 ดอลลาร์ต่อตัน เมื่อเทียบกับเพดานราคาที่ 333 ดอลลาร์ต่อตัน มีส่วนต่างถึง 517 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งรัฐก็ได้นำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปชดเชยเพื่อทำให้ราคาก๊าซ LPG ในประเทศนั้นอยู่ในระดับเดิม (ราคา CP นั้นจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูร้อนมี demand น้อยราคาจะต่ำกว่า $800/MT หน้าหนาวจะราคาแพงมากกว่า $1000/MT โดยทั่วไปราคาเฉลี่ยจะอยู่ราวๆ $900/MT รวมค่าขนส่งในช่วงรอบปีที่ผ่านมา)
คราวนี้ก็มาถึงต้นทุนของก๊าซ LPG ที่มาจากแหล่งต่างๆ ที่ ราคา LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันนั้นก็จะเป็นสูตรที่มีการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างราคาตลาด (หรือที่เรียกว่า Contract Price : CP) ในสัดส่วนร้อยละ 76 และราคาเพดานตามที่รัฐกำหนดในสัดส่วนร้อยละ 24

ซึ่งหากลองพิจารณาจากสูตรนี้ก็จะเห็นว่าราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นนี้ยังไงก็สูงกว่าเพดานราคาที่รัฐเป็นผู้กำหนด ก็เนื่องมาจากสัดส่วนของราคาตลาด (ที่แพงกว่าราคาที่รัฐกำหนด) ที่เข้ามาเฉลี่ยในสูตรนั้นมีมากกว่า ดังนั้น ผู้ผลิตหรือโรงกลั่นที่เห็นว่าต้นทุนราคาก๊าซ LPG ของตนเองสูงกว่าเพดานราคา ณ โรงกลั่นที่รัฐกำหนดก็ไม่อยากที่จะผลิตหรือนำออกมาขาย เพราะว่าขายไปก็ขาดทุน แถมราคาก็ดันไปต่ำกว่าราคาน้ำมันเตาซะอีก ก็เลยนำก๊าซ LPG ที่ผลิตได้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงกลั่นแทนดีกว่า ซึ่งก็ทำให้ก๊าซ LPG จากโรงกลั่นที่ออกมาสู่ตลาดนั้นลดลง ส่งผลให้มีการนำเข้าก๊าซ LPG มากขึ้น
ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติเองนั้น ต้นทุนก๊าซ LPG นั้นอยู่ที่ประมาณ 550 ดอลลาร์ต่อตัน โดยวัตถุดิบในการผลิตนั้นก็มาจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งรัฐเองนั้นก็ไม่ได้เข้าไปชดเชยในส่วนนี้ และผลต่างของต้นทุนการผลิตที่ 550 ดอลลาร์ต่อตันกับและราคา ณ โรงกลั่นที่รัฐกำหนดไว้ที่ 333 ดอลลาร์ต่อตันนั้น ทางผู้ประกอบการโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นผู้รับภาระไป (ซึ่ง ปตท ทรราชน้ำมันเป็นผู้รับภาระอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซให้ประชาชนทั้งหมด)

สำหรับก๊าซ LPG ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้นรัฐก็ได้เข้าไปชดเชยส่วนต่างราคาทั้งหมด ซึ่งหากไม่มีการชดเชยแล้วก็จะไม่มีผู้ใดนำเข้าก๊าซ LPG เข้ามาในประเทศเนื่องจากต้องนำเข้ามาในราคาที่สูงแต่ต้องมาขายในราคาที่ต่ำกว่าคือซื้อมาที่ราคา 850 ดอลลาร์ต่อตัน (รวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า) แต่ขายได้ในราคาเพียงแต่ 333 ดอลลาร์ต่อตัน ขาดทุนไปถึงประมาณ 517 ดอลลาร์ต่อตัน  (เงินกองทุนน้ำมันนั้นจะจ่ายคืนผู้นำเข้าใช้เวลาดำเนินการกว่า 9 เดือนจึงจะได้เงินชดเชย ทำให้ไม่มีบริษัทอื่นๆนอกจาก ปตท. ที่จะเป็นผู้นำเข้าและยอมรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น  ปตท ทรราชน้ำมันจึงต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยดังกล่าวในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ)
ภาระชดเชยของราคาก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันและจากการนำเข้าที่ทางกองทุนน้ำมันเข้าไปชดเชยที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีมูลค่าสูงถึง 3,000-4,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับราคาตลาด หรือราคา CP นั่นเอง โดยจะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ เดือน

จากราคา ณ โรงกลั่นที่ 333 ดอลลาร์ต่อตันนั้น เราก็มาดูองค์ประกอบอื่นๆ ในโครงสร้างราคา LPG กันบ้าง ซึ่งก็มีโครงสร้างเหมือนๆ กับโครงสร้างราคาน้ำมัน จะต่างกันตรงที่โครงสร้างราคา LPG ในปัจจุบันนั้นมีการแบ่งออกเป็น 3 ราคา คือ ราคาสำหรับภาคครัวเรือน ราคาสำหรับภาคขนส่ง และราคาสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยในโครงสร้างราคาสำหรับทั้งสามภาคนั้นก็ประกอบไปด้วยภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมัน แต่ในโครงสร้างราคาก๊าซ LPG นี้ไม่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงานเหมือนกับน้ำมันสำเร็จรูปประเภทอื่นๆ แต่มีที่น่าสังเกตก็คือมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันสองครั้ง ครั้งแรกเป็นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในอัตรา 0.9946 บาทต่อกิโลกรัมเท่าๆ กัน ซึ่งการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันส่วนนี้นั้นก็ถูกนำไปใช้ในการชดเชยค่าขนส่งก๊าซ LPG ไปยังคลังก๊าซ LPG ก็เพื่อให้ราคาก๊าซ LPG ณ คลังต่างๆ ทั่วประเทศมีราคาเท่ากัน หลังจากนั้น จะมีการเก็บเงินเข้ากองทุนอีกก้อนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในโครงสร้างราคาสำหรับภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม โดยในภาคขนส่งนั้นถูกเก็บอยู่ที่ 3.0374 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมถูกเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันอยู่ในอัตรา 10.83 บาทต่อกิโลกรัม การเรียกเก็บกองทุนน้ำมันครั้งที่สองนี้ เป็นการเรียกเก็บเพื่อนำไปใช้ในการลดภาระของเงินกองทุนน้ำมันที่จะต้องจ่ายชดเชยในส่วนของผลต่างของราคา ณ โรงกลั่นที่ผมได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น

สำหรับภาคปิโตรเคมีนั้นไม่ได้ซื้อก๊าซ LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง แต่เป็นการซื้อเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอื่นๆ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ซึ่งการนำก๊าซ LPG ไปใช้เป็นวัตถุดิบนี้ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซ LPG แทนที่จะนำไปเผาทิ้งเฉยๆ ซึ่งมูลค่าของภาคปิโตรเคมีต่อเศรษฐกิจนั้นมีถึง 700,000 ล้านบาทต่อปี รวมถึงมีการจ้างงานมากกว่า 300,000 คน

สำหรับราคาของก๊าซ LPG ที่ทางปิโตรเคมีนั้นก็เป็นการซื้อที่ราคาที่เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ซื้อผู้ขายและสภาวะของตลาด ณ ขณะนั้นและไม่ได้ถูกกำหนดเพดานเหมือนกับราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยราคาเฉลี่ยปี 2555 นั้นอยู่ที่ประมาณ 22-23 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่นที่รัฐตรึงไว้ที่ประมาณ 10.30 บาทต่อกิโลกรัมอยู่พอสมควร ที่ผมนำไปเปรียบเทียบกับราคา ณ โรงกลั่นก็เพราะราคานี้เป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนต่างๆ ซึ่งถือเป็นราคาต้นทุนของเนื้อก๊าซ LPG จริงๆ เปรียบเทียบกัน เราจะไม่เอาราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงจากภาคอุตสาหกรรมไปเทียบกับราคาก๊าซ LPG ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับภาคปิโตรเคมี เพราะที่มาของราคาไม่เหมือนกัน

อีกหนึ่งเรื่องคือ ที่คุณเจ้าของเพจ อยากนักอยากหนา ให้ภาคขนส่งใช้แก๊ส LPG ก่อน รวมถึงที่เคยบอกว่าต่างประเทศก็นิยมใช้นั้น อยากถามว่าประเทศพวกนั้น เค้ามีการ Subsidy เหมือนประเทศไทยบ้างหรือไม่


http://www.mylpg.eu/lpg-prices-across-europe

จากภาพลองคิดเอา ถ้าราคาได้เท่านี้ คิดว่าต่างชาติ หรือ บริษัทลงทุนจากต่างประเทศ อยากมาลงทุนโรงกลั่น หรือนำ LPG เข้ามาเพื่อจำหน่ายหรือไม่ ไม่ได้โลกสวย แต่อยากให้มองรอบด้านว่า ถ้าขาดทุนใครอยากจะลงทุน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://pantip.com/topic/30863007

Share This: