หยุดสัมปทานปิโตรเลียมเพราะ? อนาคตพลังงานไทย

เรื่องหยุดสัมปทานปิโตรเลียมนี่เห็นกลุ่มต่อต้านหยิบมาบอกโน่นนิดนี่หน่อยแล้วก็รู้สึกว่าคนพวกนี้เก่งในการหาข้อมูลนะ แต่ที่เก่งกว่าคือการบอกความจริงไม่หมดนี่สิ ก็ไม่รู้ว่าที่มาเรียกร้องให้หยุดสัมปทานปิโตรเลียมกันแล้วเรียกร้องอยากใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบมาเลเซียนั้นกลุ่มต่อต้าน

ได้ศึกษามาดีแค่ไหนว่าถ้ายกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมแล้วเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตมันจะทำให้ราคาก๊าซราคาน้ำมันถูกลงจริงหรือ

ที่อ้างๆว่าประเทศอื่นในอาเซียนเขายกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมกันหมดแล้วและหันไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นก็อยากถามว่าอย่างกัมพูชาที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแต่ยังไม่สามารถผลิตปิโตรเลียมภายใต้ระบบดังกล่าวได้สักหยดทำไมไม่เอามาพิจารณาด้วย หรืออยากแค่จะเทียบกับประเทศที่มีแหล่งปิโตรเลียมเยอะๆอย่างมาเลเซียหรืออินโดนีเซียเท่านั้น เห็นเคยชอบบอกว่าเราผลิตน้ำมันได้มากกว่าบรูไนทำไมทีเรื่องยกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมไม่บอกบ้างล่ะว่าบรูไนเขาก็ใช้ระบบสัมปทานแบบเรานี่ล่ะ ไม่ได้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตอย่างที่เรียกร้องกันเลย

อันที่จริงเรื่องยกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมหรือไม่นี่ไม่จำเป็นต้องคิดให้ยุ่งยากเลย ไม่ว่าจะใช้ระบบแบบไหนเราก็สามารถเขียนสัญญาเองได้ เพราะเราเป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม ไม่ว่าจะใช้ระบบไหน ผู้เข้ามาสำรวจและผลิตเขาต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เรากำหนดอยู่แล้ว แต่ปัจจัยหลักมันขึ้นอยู่กับว่าเรามีทรัพยากรปิโตรเลียมที่ดึงดูดให้น่าลงทุนมากแค่ไหน ถ้าเรามีเยอะมากเราก็เรียกร้องสิทธิของเรามากๆได้ ไม่จำเป็นต้องไปยกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมอะไรเลย ข้อดีของระบบสัมปทานก็คือรัฐไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเมื่อการสำรวจและผลิตมันไม่ประสบความสำเร็จ ลองคิดดูการสำรวจและผลิตที่ใช้เงินทุนนับหมื่นๆล้านนั้น คงไม่ดีแน่หากรัฐจะทำเองแล้วเกิดไม่สำเร็จขึ้นมา เท่ากับภาษีของเราที่ไปหายวับไปกับตา

อีกข้ออ้างหนึ่งของกลุ่มผู้เรียกร้องให้ยกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมก็คือเขาบอกว่าภายใต้สัญญาสัมปทานปิโตรเลียมปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลประโยชน์น้อยมากๆ ก็ต้องบอกว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรงนี้คงต้องขออนุญาตนำหลักฐานมาแสดงประกอบเอาไว้ ผลการศึกษาจากสถาบัน Daniel Johnston ดังรูปแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียมอยู่ในระดับกลางๆเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งหากพิจารณาศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมในประเทศเราประกอบด้วยแล้วก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกับประเทศอื่นๆที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน

Share This: