เทียบกรณีระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ กับราคาน้ำมันที่ ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด

จากกรณีฝูงเครื่องบินไร้คนขับเข้าถล่มหน่วยปรับสภาพน้ำมันดิบก่อนส่งออกขาย 2 แห่งในซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นเหตุให้ตลาดราคาน้ำมันดิบและตลาดน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้นมาก ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มีผลกระทบกับสถานการณ์การจัดหาและราคาน้ำมันโลก

เหตุราคาน้ำมันดิบน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูง
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าพลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำมัน เพราะฉะนั้นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบต่อประเทศไทยแน่นอน แม้ว่าจะไม่มีการประกาศปรับราคา แต่กลไกโครงสร้างภายในก็มีความผันผวนให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจากกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ปตท. ไม่ได้มีสิทธิ์เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หรือแทบไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศได้ตามที่หลายท่านมีอคติ

            เกิดอะไรขึ้นบ้างกับราคาน้ำมันหลังเกิดเหตุการณ์!!!
                ด้วยเหตุว่าสถานที่ที่ถูกโจมตี 2 แห่งนั้น เป็นแหล่งที่ผลิตน้ำมันดิบสำคัญ ทำให้เกิดการสูญหายของกำลังผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และทำให้น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก (1. สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าเวสต์เท็กซัสทะยานขึ้นกว่า 11% 2.ไนเม็กซ์ปรับตัวขึ้นกว่า15%แตะที่ราคา 63.34 ดอลลาร์/บาร์เรล 3.สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะยานกว่า 19%แตะที่ราคา 71.95 ดอลลาร์) และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในครั้งนี้ส่งผลให้ตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ที่ประเทศไทยอ้างอิงราคาปรับพุ่งสูงขึ้นมากตามตลาดน้ำมันดิบ ( เช่น ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 10% เพียงช่วง 3 วันหลังการโจมตี) และกระทบต่อราคาหน้าโรงกลั่นประเทศไทยที่ต้องปรับตาม ยังผลให้ค่าการตลาดน้ำมันในขณะนั้นอยู่ในระกับที่ต่ำมาก

กราฟราคาน้ำมันสำเร็จรูปวสิงคโปร์

จากสถานการณ์ที่ค่าการตลาดลดต่ำลงมาก เกิดเป็นกระแสข่าวการปรับราคาน้ำมันตามสื่อต่างๆ ในโซเชียล อันแสดงให้เห็นว่า ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หรือควบคุมราคาน้ำมันในประเทศ หากแต่เป็นสถานการณ์โลก สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ประเทศไทยอ้างอิงต่างหากที่เป็นเหตุผลหลักและมีผลกระทบโดยตรงจากราคาน้ำมัน …

                ไม่ใช่แค่สถานการณ์ภายนอกประเทศเท่านั้นที่มีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศ!!!
            คำถามคือหลังจากที่ค่าการตลาดลดต่ำลงอย่างมาก ทำไมจึงไม่มีการประกาศปรับราคา? … คำตอบคือ นโยบายภาครัฐ ก็มีส่วนต่อการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศเช่นกัน โดยช่วงเย็นของวันที่ 17 กันยายน 2562 กบง.ได้ประกาศลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันลง โดย เบนซินทุกประเภท ลดการเก็บกองทุนน้ำมันลง 1 บาท เบนซินที่มีการใช้กองทุนน้ำมันในการอุดหนุนอยู่แล้ว อุดหนุนเพิ่ม 1 บาท  และดีเซลทุกประเภทลดการเก็บกองทุนน้ำมันลง 60 สตางค์ มีการใช้กองทุนน้ำมันในการอุดหนุนอยู่แล้ว อุดหนุนเพิ่ม 60 สตางค์ โดยมีผลในวันที่ 18 กันยายน 2562
เมื่อค่ากองทุนฯ ถูกเก็บลดลง ก็มีผลทำให้ค่าการตลาดขยับขึ้นมา ในวันถัดไปอยู่ในระดับที่ผู้ประกอบการยังสามารถดำเนินการต่อได้โดยที่ไม่ต้องมีการปรับราคาหน้าปั๊ม
อัตราปรับลดราคากองทุนน้ำมันราคาน้ำมันหน้าปั๊ม
จากสถานการณ์การผันผวนของราคาในช่วงสั้นๆ นี้แสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริง กลไกที่ ปตท. สามารถใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันมีเพียงแค่ค่าการตลาดเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อย ไม่ถึง 10% ของราคาขาย หากแต่สิ่งที่มีผลกระทบและเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับราคาของน้ำมันในประเทศ คือตลาดราคาน้ำมันที่ประเทศไทยอ้างอิงและนโยบายภาครัฐในการจัดเก็บภาษีและกองทุนน้ำมันนั่นเอง

Share This: