เปิดโปง ปตทพร้อมทั้งเกาะติดสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วที่เกาะเสม็ด

ภาพจากดาวเทียมระบบเรดาร์ COSMO-SkyMed-3 เมื่อเวลา 06.09 น. ของวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ทางด้านเหนือของเกาะเสม็ด แสดงให้เห็นอาณาบริเวณของคราบน้ำมันที่เป็นฟิล์มที่มีขนาดและปริมาณลดลงจากเมื่อวานนี้ จากประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เหลือ 5 ตารางกิโลเมตร และมีการหดตัวลงจนกระจายตัวไปไม่ถึงเกาะค้างคาว เกาะขาม และเกาะกุฎี  นอกจากนี้เริ่มเห็นผิวน้ำสีอ่อนแทรกตัวอยู่ในอาณาบริเวณของฟิล์มนี้  แสดงถึงความหนาแน่นของฟิล์มน้ำมันที่ลดลง ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่ามวลน้ำมันที่เป็นต้นกำเนิดของฟิล์มน้ำมันในบริเวณนี้ น่าจะมีปริมาณลดลงมาก แต่ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้างในบริเวณตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเสม็ด

สำหรับบริเวณชายฝั่งอ่าวเพด้านตะวันตกและแหลมหญ้า ซึ่งมีลักษณะที่คาดว่าอาจจะเป็นฟิล์มน้ำมันนั้น ยังไม่ได้รับรายงานจากการสำรวจภาคสนามว่าเกิดจากอะไร แต่จะได้เร่งดำเนินการสำรวจต่อไป

 

ข้อมูลจาก http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/component/content/article/1668

เมื่อมองจากภาพข้างบน นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่คราบน้ำมันลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลดีกับหลายๆอย่าง แต่ที่จะเห็นผลที่สุดคือระบบนิเวศทางทะเลที่ดูจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น เราจะฟื้นฟูความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาร่วมรู้ทัน ปตท และมาร่วมฟื้นฟูความเสียหายกันดีกว่า

เป็นความคิดเห็นดีๆของอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด ทั้งผลกระทบโดยตรงกับระบบนิเวศทางทะเล อาจารย์ท่านนี้ได้กล่าวไว้ว่า

ช่วงนี้มีหลายท่านถามถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านระบบนิเวศทางทะเล ผมจึงขอถือโอกาสสรุปเรื่องนี้มาให้ฟัง โดยใช้แผนที่กรมอุทกศาสตร์ ทหารเรือ อันเป็นแผนที่ทางทะเลมาตรฐานของประเทศไทย และใส่สัญลักษณ์ระบบนิเวศที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ c แนวปะการัง s หญ้าทะเล

ก่อนอื่นขออธิบายเรื่องพื้นที่คร่าว ๆ แต่กรุณาสังเกตนิดว่า ผมใช้คำพูดว่า “พื้นที่ตรวจสอบ” ไม่ใช่พื้นที่ได้รับผลกระทบ เพราะตราบใดที่เรายังไม่ตรวจสอบในรายละเอียดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราคงไม่สามารถบอกไปว่าพื้นที่นั้นได้รับผลกระทบ หากไม่มีผลกระทบ ก็ยิ่งดี แต่จำเป็นต้องตรวจสอบ

ตามลักษณะภูมิศาสตร์ ทะเลบริเวณที่ควรต้องตรวจสอบว่าได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมันหรือไม่? แบ่งเป็น 2 บริเวณหลัก ได้แก่ ทะเลเปิด (unprotected area) นับตั้งแต่จุดที่น้ำมันดิบรั่วไหลมาจนถึงเกาะเสม็ด เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร และอ่าวกึ่งปิด ได้แก่ อ่าวเพ ที่กระแสน้ำพัดน้ำมันในลักษณะของฟิล์มบาง ๆ เข้ามา

เมื่อเทียบเคียงกับภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA ฟิล์มน้ำมันลอยไปถึงหมู่เกาะกุฎีและบริเวณใกล้เคียง หมายถึงพื้นที่อย่างน้อย 10 กิโลเมตร รวมเป็นทั้งหมด 50 กิโลเมตรที่น้ำมันผ่านมาจนถึงตอนนี้ สำหรับพรุ่งนี้มะรืนนี้ ขึ้นกับว่าลมและคลื่นจะพัดไปถึงไหน เรื่องนั้นต้องรอภาพถ่ายดาวเทียมในวันต่อๆ ไปครับ

ฟังดูแล้วมันใหญ่เหลือเกิน แต่แน่นอนว่า การตรวจสอบมีหลายระดับ ตั้งแต่แบบสุ่มเช็คนิดหน่อย ไปจนถึงระดับเข้มข้น

ในระดับสุ่มเช็ค จะเป็นเขตน้ำลึก โอกาสที่จะเกิดผลกระทบมีน้อยมาก เช่น พื้นที่มีน้ำลึกเกิน 20 เมตร

หากเริ่มเข้าเขตน้ำตื้น การตรวจสอบย่อมเน้นขึ้น เพราะยิ่งตื้นย่อมยิ่งมีสิทธิที่จะเกิดผลกระทบ การเก็บตัวอย่างต้องมีมากขึ้น ทำสถานีตรวจสอบถี่ขึ้น เก็บข้อมูลในหลายตัวแปรมากขึ้น เช่น แทนที่จะดูแค่หอย A ก็อาจต้องดูทั้งหอย A และหอย B

หากดูจากแผนที่ สีเหลืองคือแผ่นดิน ในทะเลมี 3 สี ได้แก่ สีขาว (น้ำลึกกว่า 10 เมตร) สีฟ้าอ่อน (น้ำลึก 5-10 เมตร) และสีฟ้าเข้ม (น้ำตื้นกว่า 5 เมตร)

จะเห็นว่าบริเวณที่คราบน้ำมันลอยผ่าน รวมถึงช่วงที่เป็นแผ่นฟิล์มน้ำมัน จะผ่านระดับความลึกทั้ง 3 แบบ การตรวจสอบจึงต้องมีหลายระดับ ตามความแตกต่างของความลึกน้ำ และความเข้มข้นของคราบน้ำมัน

ในพื้นที่ซึ่งระดับความลึกใกล้เคียงกัน แต่ความเข้มข้นของคราบน้ำมันต่างกัน การเก็บตัวอย่างและตรวจเช็คย่อมต่างกัน เช่น หน้าอ่าวพร้าวน้ำตื้นใกล้เคียงกับกลางอ่าวบ้านเพ แต่หน้าอ่าวพร้าวมีคราบน้ำมันเข้มข้น ขณะที่กลางอ่าวเพมีเพียงแผ่นฟิล์มบาง ๆ เราจึงต้องตรวจสอบอ่าวพร้าวมากกว่าอ่าวเพ

ในการศึกษาแบ่งเป็นด้านกายภาพและชีวภาพ

ด้านกายภาพหมายถึงการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การศึกษาตะกอน ตรวจเช็คสารต่าง ๆ ที่อาจสะสมอยู่ (หากจำเป็น สามารถตรวจสอบย้อนกลับเพื่อเช็คดูว่าเป็นคราบน้ำมันจากที่ไหน? เพื่อความมั่นใจและความเป็นกลาง) งานนี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ใช้ห้องแลปพิเศษและอุปกรณ์เครื่องมือบางประการที่สามารถตรวจสอบได้

ด้านชีวภาพหมายถึงระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต

ระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ แบ่งเป็น 5 อย่าง ได้แก่ หาดทราย หาดหิน แนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล (บ้านเพ มีนิดหน่อย) และพื้นท้องทะเล

การตรวจสอบเริ่มตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัด สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เรื่อยไปจนถึงห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศ ระดับการตรวจสอบย่อมแตกต่างกันตามความเข้มข้นของคราบน้ำมัน เช่น เราต้องตรวจสอบหาดทรายที่อ่าวพร้าวมากกว่าหาดทรายที่หาดบ้านเพ เราต้องตรวจสอบแนวปะการังที่อ่าวพร้าว มากกว่าแนวปะการังที่เกาะกุฎี

พื้นที่การตรวจสอบสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน ในพื้นที่อื่นซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมไม่ได้โชว์คราบน้ำมันเคลื่อนผ่านไป เราอาจมีการสุ่มตรวจเพื่อความมั่นใจ เช่น หมู่เกาะมัน แต่คงไม่มากเท่าพื้นที่ซึ่งภาพถ่ายโชว์ชัดว่าคราบน้ำมันเคลื่อนผ่าน

ทั้งหมดนี้ จะเห็นว่า เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน หากยิ่งลงรายละเอียด จะพบว่ายิ่งซับซ้อนขึ้น เช่น ศึกษาแพลงก์ตอน ก็ต้องแบ่งเป็น 3 กลุ่ม แพลงก์ตอนพืช แพลงตอนสัตว์ชั่วคราว (ตัวอ่อนสัตว์น้ำ) และแพลงก์ตอนสัตว์ถาวร แค่นี้ก็ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คน ยังหมายถึงลูกทีมอีกหลายคนที่ต้องคอยช่วยกันดูและนับแพลงก์ตอน

หากถามว่าจำเป็นต้องทำละเอียดเช่นนี้ไหม? คำถามก็คงจะกลับไป เราต้องการทำตามมาตรฐานสากลหรือไม่? หากต้องการ เราก็ต้องทำในระดับนี้ เป็นกระบวนการที่ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจติดตามมาในภายหลัง

หากปราศจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลาง แล้วการเจรจาจะตั้งอยู่บนข้อมูลหลักฐานใด? เราเบื่อไหมที่เห็นคนไทยทะเลาะกัน?

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมเขียนมา คงพอตอบคำถามของหลายคนที่สงสัยว่า เมื่อไหร่จะทราบผลกระทบ? เมื่อไหร่จะรู้ความเสียหายที่เกิดขึ้น?

ผมยืนยันว่า ในกรณีของคราบน้ำมัน ไม่มีกรณีใดที่เกิดขึ้นในประเทศไหนในโลก ที่สามารถประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกด้านที่ครอบคลุมได้ ภายใน 7 วัน 15 วัน หรือแม้กระทั่ง 1 เดือน

หากทำได้ นั่นคงไม่ใช่การทำตามมาตรฐานสากล

เพราะฉะนั้น อดใจกันอีกนิด ค่อย ๆ ติดตามกันไปอีกหน่อย เราจะได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นทีละน้อย จนสุดท้าย เราจะมองภาพรวมออก

แม้มันอาจช้าไม่ทันใจ แต่ในด้านสิ่งแวดล้อม คำว่าช้าคงไม่มีความหมายเท่ากับคำว่า “ละเอียดพอหรือยัง”

เพราะหากเกิดปัญหาในอนาคต เราย้อนเวลากลับมาทำใหม่ไม่ได้ แล้วถึงตอนนั้น ก็คงมีหลายคนสงสัย “ทำไมไม่ทำให้ละเอียด?”

ขออภัยที่ภาพดูแล้วห่วยจัง เนื่องจากอาจารย์ไม่มีลูกน้องให้ใช้ มีแต่ลูกให้เลี้ยง ทำได้แค่นี้ก็สุดฝีมือแล้วครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat

จากที่ได้อ่านมาข้างต้น ทำให้เราทราบได้ว่า รู้ทัน ปตทง่ายๆกับทรัพยากรธรรมชาติ หรือจะระบบนิเวศก็ดี หากเกิดความเสียหายแล้ว การฟื้นฟูนั้นยากยิ่งนัก นอกจากยากแล้วยังต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นฟูให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ดังนั้น หากเป็นความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เราคงยากที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น แต่หากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของมนุษย์นั้น ย่อมป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะทำอะไรให้คิดถึงความสมดุลของธรรมชาติด้วย เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นมาแล้ว การฟื้นฟูย่อมยากและใช้เวลามากกว่าทำให้เสียหายแน่นอน

ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่  https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/

Share This: