NGV ขึ้นราคา ปตท.ยิ้มขึ้นNGVอีก1บาท ปี58 เท็จจริงเป็นอย่างไร

NGV ขึ้นราคา

เวลานี้เรื่องก๊าซธรรมชาติ NGV ยังถูกถกเถียงในวงกว้างว่าควรสนับสนุนเชื้อเพลิงชนิดนี้ไปทิศทางไหน ทั้งกระแสขอขึ้นราคาเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่อง มาดูกัน

หลายท่านอาจจะยังสับสนระหว่าง NGV หรือ NG ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งก่อนที่จะพูดถึงไทม์ไลน์การปรับราคา NGV ในบทความนี้ จึงอยากใช้พื้นที่เพื่ออธิบายความหมายเสียก่อน
NG (Natural Gas) คือปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันภายใต้ความร้อนหลายล้านปี และแรงกดดันมหาศาลจนแปรสภาพเป็นปิโตรเลียม ทั้งที่อยู่ในสถานะของแข็งคือถ่านหิน ของเหลวคือน้ำมันดิบ และสถานะก๊าซซึ่งก็คือก๊าซธรรมชาติหรือ NG นั่นเอง

ส่วน NGV (Natural Gas for Vehicles) หรือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ มีชื่อเรียกสากลว่าก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas – CNG) เกิดจากการนำก๊าซธรรมชาติมาอัดจนมีความดันสูง แล้วนำไปเก็บไว้ในถังบรรจุ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันเบนซินหรือดีเซลในรถยนต์
ประโยชน์ของ NGV คือราคาถูก มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากก๊าซมีน้ำหนักเบาเมื่อรั่วจะกระจายสู่อากาศ ไม่มีการสะสมที่พื้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์

NGV ขึ้นราคา

ทราบหรือไม่ว่าปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผลจากการศึกษาต้นทุนเอ็นจีวีล่าสุด คาดว่าอาจอยู่ราวกิโลกรัมละ 14-15 บาท จากเดิมที่กระทรวงพลังงานคำนวณจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 16 บาท ลดลงมา 1-2 บาท แต่ผู้ประกอบการหรือ ปตท. ยังคงขาดทุนกับต้นทุนราคา NGV อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิม ตามไทม์ไลน์การปรับราคาโดยเฉพาะเมื่อต้นปี 2557 ที่ราคา NGV อยู่ที่ 10.50 บาท จากต้นทุน 16 บาท ทำให้ ปตท. ขาดทุนเป็นตัวเลข 20,000 ล้านบาท โดยหลังจากในช่วงเดือนต.ค. 2557 กบง. ได้มีมติปรับเพิ่มราคา NGV จำนวน 1 บาทต่อกิโลกรัม NGV ขึ้นราคามาอยู่ที่ระดับ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม และในเดือนธ.ค.ได้มีการปรับNGV ขึ้นราคาอีก 1 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขยับมาอยู่ที่ 12.50 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น รวมทั้ง 2 ครั้ง จะช่วยให้ ปตท. มีกำไรสุทธิในปี 2558 เพิ่มขึ้นอีก 4,000-5,000 ล้านบาท และช่วยให้ ปตท. ลดภาระขาดทุนธุรกิจ NGV ลงเหลือประมาณ 15,000 ล้านบาท
และล่าสุดคือการปรับขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2558 อีก 50 สตางค์ นั่นหมายความว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการปรับขึ้นราคา NGV เพียง 7 ครั้ง และปรับขึ้นสูงสุดเพียง 1 บาท ซึ่งการปรับขึ้นแต่ละครั้งจะต้องผ่านมติ กบง. ไม่ใช่ว่าอยากปรับขึ้นเมื่อไหร่ก็สามารถทำได้

ด้าน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ที่ผ่านมา มีการให้ข้อมูลทางสื่อออนไลน์และสร้างความเข้าใจบิดเบือน ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย รวมถึงในอดีตที่นโยบายบิดเบือนราคาพลังงาน ทั้งลดภาษีดีเซล อุดหนุนแอลพีจีและเอ็นจีวี ทำให้ประเทศไทยต้องอุดหนุนมีมูลค่ารวม 180,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลทยอยปรับโครงสร้างราคาสะท้อนต้นทุน โดยในส่วนของเอ็นจีวีนั้น มีการอุดหนุนวงเงินสูงถึง 20,000 ล้านบาทต่อปี และการตรึงราคาต่ำในอดีตทำให้ประเทศต้องนำเข้าแอลเอ็นจี มาผลิตไฟฟ้า นับเป็นต้นทุนค่าไฟถึงประมาณ 10สตางค์ต่อหน่วย

ทั้งนี้ ทางกระทรวงพลังงานอาศัยช่วงที่ราคาพลังงานโลกลดลง ในการปรับเปลี่ยนราคารวมถึงโครงสร้างพลังงาน เพื่อให้การปรับราคาส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด

Share This: