Articles Posted by the Author:

  • ตอบทุกข้อกล่าวหา..หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาขายปลีก LPG

    จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG     หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้     1.  ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท     2.  ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม     3.  ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]


  • โครงสร้างราคาน้ำมันเป็นหนึ่งในยุทธการปล้นของปตท ทำไมถึงคิดอย่างนั้น

    จากโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมของประเทศไทยเป็นประเด็นถกเถียงกันแทบจะตีกันตายในเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน ว่าโครงสร้างราคาน้ำมันจริงๆแล้วมันประกอบด้วยอะไรบ้าง ในโครงสร้างราคาน้ำมันจริงๆแล้วเป็นยุทธการปล้นของปตทหรือเป็นความจริงที่คนไทยไม่ยอมรับ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทยกำหนดโดยกลไกการแข่งขันด้านการตลาดทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศ และนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง รัฐบาลไทยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการและกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อดูแลระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทำให้ราคาขายปลีกของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดไม่เท่ากันและอาจไม่สอดคล้องกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินกองทุนน้ำมันและภาษีประเภทต่างๆ การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ : ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศ ซึ่งอ้างอิงจากราคาหน้าโรงกลั่นในตลาดสากล ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นหรือคลังน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งได้มาจากราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศบวกเงินกองทุนและภาษีประเภทต่างๆ และ ราคาขายปลีก ซึ่งเท่ากับราคาขายส่งบวกค่าการตลาดและภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวโดยรวม โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทยประกอบด้วย : ราคาหน้าโรงกลั่น เงินกองทุนต่างๆ ภาษีประเภทต่างๆ ค่าการตลาด   สรุปคือ โครงสร้างราคาน้ำมันนั้น ถ้าดูจากรูปประกอบ จะเห็นได้ชัดว่า ภาษีทั้งหลายแหล่ที่บวกเพิ่มเข้าไปนั้น ขั้นต่ำสุดจะอยู่ที่ 23% ซึ่งถ้าอยากให้น้ำมันถูกลง ก็ควรจะลดการเก็บภาษีตรงนี้ ส่วนค่าการตลาดนั้น ถือว่าเป็นผลกำไรของธุรกิจน้ำมัน เพื่อใช้เป็นสายป่านให้ธุรกิจน้ำมันในประเทศไทยแข็งแรงมั่นคงขึ้น ถ้าหากมัวแต่คิดว่าเป็นยุทธการปล้นของปตทที่ขึ้นราคาน้ำมันตลอด ทำไมไม่ลองคิดกลับกันบ้างล่ะ ว่าถ้าให้ต่างชาติมาเปิดสถานบริการน้ำมันเต็มทั่วประเทศ เราจะใช้น้ำมันแพงกว่านี้อีกไม่รู้ตั้งกี่เท่า Share This:


  • ปฏิรูป – สำรวจ/ผลิต ปิโตรเลียม

    ปฏิรูป – สำรวจ/ผลิต ปิโตรเลียม

    ภายใต้สภาวะการเมืองร้อนระอุ หลายฝ่ายพูดถึงการปฏิรูป เรื่องหนึ่งคือ สัมปทานปิโตรเลียม แต่ก่อนจะตัดสินว่าควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร สมควรพิจารณาข้อเท็จจริงพลังงานไทยให้รอบด้านเพราะพลังงานเป็นเรื่องสลับซับซ้อนและมีผลกระทบกว้างขวาง     ข้อเท็จจริงพลังงานไทยในประเด็นข้องใจเกี่ยวกับรายได้ปิโตรเลียมของชาติมีอยู่หลายข้อ ได้เคยเขียนถึงตัวเลข 12.5% ว่านับแค่ค่าภาคหลวง ตามจริงต้องรวมภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) ซึ่งทำให้สัดส่วนกำไรของรัฐสูงขึ้น อยู่ที่ 58%ตามข้อมูลจริงถึงปี 2555 เป็นค่าเฉลี่ยจากระบบ Thailand I 54% และ Thailand III 72%  ทั้งนี้ไม่รวมเงินพิเศษอีกหลายอย่างที่เข้ารัฐ และไม่รวมรายได้จากโครงการร่วมไทย-มาเลเซีย มีการพูดว่าระบบสัมปทาน(Concession system) ต้องเปลี่ยนเป็นระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC : Production Sharing Contract) เพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงๆ ทว่าความจริงแต่ละระบบเป็นเรื่องของกลไกที่แตกต่างกัน สัดส่วนกำไรของรัฐเป็นผลลัพธ์ที่ขึ้นอยู่กับค่าตัวเลขสัมประสิทธิ์ที่ผูกอยู่กับกลไกของแต่ละระบบ มีการศึกษาของนายแดเนียล จอนสตัน (Daniel Johnston) ที่สรุปอยู่ในแผนภูมิซึ่งพิมพ์ในคอลัมน์นี้ไม่ได้ เป็นการแสดง “สัดส่วนกำไร” ของรัฐ (แนวตั้ง) เปรียบเทียบกับ Prospectivity (แนวนอน) หรือศักยภาพปิโตรเลียม ซึ่งจะสูงหากมีโอกาสสำรวจพบได้ง่ายในปริมาณมากและผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำ กำไรผู้ลงทุนมากรัฐก็สามารถเก็บภาษีและผลตอบแทนต่างๆได้มาก แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆ เป็นแนวเส้นจากมุมซ้ายล่างขึ้นสู่มุมบนขวา รวมทั้งระบบจัดเก็บรายได้ของแต่ละประเทศด้วย […]


  • NGV แตกต่างกับ LPG อย่างไร

    NGV แตกต่างกับ LPG อย่างไร

    หลายคนเข้าใจผิดว่า NGV กับ LPG  คือ เชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน และไม่ทราบถึงข้อแตกต่าง ซึ่งความจริงแล้ว NGV ต่างจาก LPG อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก NGV มีสถานะเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ โอกาสในการติดไฟยากมาก และหากมีการรั่วไหล NGV จะฟุ้งกระจายขึ้นบนอากาศอย่างรวดเร็ว ไม่สะสมอยู่บนพื้น จึงมีความปลอดภัยสูงมาก สำหรับ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม ที่ใช้กันในครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงรถแท็กซี่นั้น มีสถานะเป็นของเหลวที่หนักกว่าอากาศ หากรั่วไหลจะมีการสะสมและติดไฟได้ง่าย ในส่วนของค่าออกเทนนั้น NGV มีค่าออกเทนสูงกว่า LPG คือ มีค่าออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ LPG มีค่าออกเทนอยู่ที่ 105 RON อุปกรณ์ NGV และค่าใช้จ่าย –  รถเครื่องยนต์เบนซิน ติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยใช้ระบบเชื้อเพลิงทวิ […]


  • กลโกงปตท ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันของตลาดกลางสิงคโปร์

    กลโกงปตท ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันของตลาดกลางสิงคโปร์

    เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทยวันนี้ เราจะพูดถึงราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ ว่าทำไมเราถึงต้องอ้างอิงจากสิงคโปร์ด้วย ซึ่งถ้าหากมีโรงกลั่นที่นำน้ำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้ น้ำมันสำเร็จรูปนี้ควรตั้งราคาขายไว้ที่เท่าไร??? พอเป็นน้ำมัน หลายๆคนอาจจะคิดว่า ก็ต้องคิดราคาถูกๆสิ ไปอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดกลางสิงคโปร์ทำไม ต้องคิดราคาที่เป็นธรรม ฯลฯ สำหรับน้ำมันก็เหมือนกับสินค้าอุปโภคชนิดอื่น ที่มีความต้องการใช้สูง มีการซื้อขายตลอดเวลาเป็นจำนวนมากทั่วโลกจึงสินค้าสากล ซึ่งสะท้อนถึง อุปสงค์และอุปทาน ที่รวมต้นทุนน้ำมันดิบที่แท้จริงของภูมิภาคนั้นด้วย ดังนั้น ราคาที่เหมาะสมหรือราคาที่เป็นธรรมต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องตั้งราคาที่อ้างอิงมาจากตลาดกลางที่ซื้อขายน้ำมันในแต่ละภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันจากราคาตลาดกลางสิงคโปร์ แต่ถ้าไม่ตั้งตามราคาอ้างอิงจากตลาดกลางสิงคโปร์ จะมีผลดังนี้  ถ้าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “แพงกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> ผู้ประกอบการขายปลีกน้ำมัน ก็จะนำเข้าน้ำมันจากตลาดกลางสิงคโปร์ที่มีราคาถูกกว่าแทนการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ และก็จะมีผู้ค้าน้ำมันนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาขายแข่งเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันภายในประเทศและการจ้างงาน ถ้าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “ถูกกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดตลาดเสรี ผู้ประกอบการโรงกลั่นก็จะสามารถนำน้ำมันส่งออกไปขายต่างประเทศที่ได้ราคาดีกว่าทันที ทำให้ในประเทศขาดแคลนน้ำมัน ผู้บริโภคในประเทศก็จะไม่ได้ใช้น้ำมัน ยิ่งทำให้ราคาขายปลีกในประเทศเพิ่มสูงขึ้นหนักเพราะ อุปทาน (Supply) น้อยกว่า อุปสงค์ (Demand) หรืออาจจะทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันก็จะประสบภาวะขาดทุน ถึงขั้นเจ๊งได้ (เพราะปริมาณการขายน้อย กำไรน้อยลง) และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างวงกว้าง เพราะขาดแคลนพลังงาน ถ้าบังคับให้โรงกลั่นขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “ถูกกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะขาดแรงจูงใจในการลงทุนเพราะลงทุนสร้างโรงกลั่นหรือค่าซ่อมบำรุงค่าดำเนินการโรงกลั่นในประเทศไทยมีต้นทุนสูงกว่า สาเหตุดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนขนส่งการนำเข้าน้ำมันดิบสูงกว่า เพราะประเทศไทยอยู่ห่างจากแหล่งน้ำมันดิบตะวันออกกลางไกลกว่าประเทศสิงคโปร์ รวมถึงประเทศสิงคโปร์เป็นเมืองท่า มีระบบการขนส่งและท่าเรือขนาดใหญ่และครบวงจร ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยของประเทศสิงคโปร์มีต้นทุนต่ำกว่าของประเทศไทย […]


  • NGV มีการกำหนดโครงสร้างราคากันอย่างไร???

    NGV มีการกำหนดโครงสร้างราคากันอย่างไร???

    การกำหนดโครงสร้างราคา NGV ในปัจจุบันจะมีหลักเกณฑ์การคำนวณราคาขายปลีก NGV ตามมติ กพช. 23 ก.พ. 54 สรุปได้ดังนี้ เมื่อได้ต้นทุนราคาก๊าซฯแล้วจะต้องนำมาคำนวณถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ดังรูป และการทบทวนโครงสร้างราคา NGV นั้น รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น 3 คณะ เพื่อทบทวนการปรับราคา NGV ดังนี้ 1.  คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ 2.  คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะ 3.  คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถบรรทุกขนส่ง นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคา NGV ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ และผู้ประกอบการขนส่งจากทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ กลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะ และกลุ่มรถบรรทุกขนส่ง ซึ่งคณะทำงานได้มีมติให้มีการจัดจ้างสถาบันการศึกษาที่เป็นกลางคือสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ เพื่อศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคา NGV ทั้งนี้ กบง. เมื่อวันที่ 8 […]


  • NGV ดีหรือด้อยอย่างไร…น่าดึงดูดแค่ไหนสำหรับผู้ใช้รถ?

    NGV ดีหรือด้อยอย่างไร…น่าดึงดูดแค่ไหนสำหรับผู้ใช้รถ?

    การใช้ NGV นับว่ามีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงต่อระยะทางที่ประหยัดกว่าการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำนวนสถานีบริการ NGV ในปัจจุบันที่ยังมีน้อย จัดเป็นอุปสรรคสำคัญส่งผลให้การหันมาใช้ NGV ไม่น่าดึงดูดใจเท่าที่ควร อีกทั้งนวัตกรรมทางยานยนต์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้มีคำถามว่าผู้ใช้รถควรจะเปลี่ยนมาใช้ NGV ดีหรือไม่ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ควรปรับตัวอย่างไร การใช้ NGV ทั่วโลกนับว่าได้รับความนิยมมากขึ้น โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจัดเป็นผู้นำในตลาดนี้ซึ่งมีปริมาณรถที่ใช้ NGV สูงเกินกว่า 50% ของจำนวนรถที่ใช้ NGV ทั้งหมดทั่วโลก อีกทั้งการขยายตัวของปริมาณรถที่ใช้ NGV1  ในช่วงปี 2002-2011 ของภูมิภาคนี้ก็ขยายตัวสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่เกือบ 40% ต่อปี ในขณะที่ทั่วโลกมีการขยายตัวเฉลี่ยที่ประมาณ 20% ต่อปี สำหรับประเทศไทยของเราก็ติด Top 10 เช่นกัน คือมีจำนวนรถที่ใช้ NGV คิดเป็น 2% ของทั้งโลกและมีการใช้ NGV ในปี 2011 เพิ่มขึ้นถึง 27% จากปีก่อนหน้า คิดเป็น 8% ของพลังงานที่ใช้ในภาคขนส่งทั้งหมดของไทย (รูปที่ […]


  • ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม

    ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม

    ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบสัมปทาน (Concession System) และระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) ชำแหละ ปตทใช้อะไรตัดสินเลือกระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาการว่าเราจะเลือกใช้ระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต จะต้องพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. ศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ 2. ปริมาณความต้องการใช้ปิโตรเลียม 3. ราคาปิโตรเลียม หรือแม้กระทั่งวิธีที่จะใช้เก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในกรณีที่มีการสำรวจพบปิโตรเลียมเป็นแหล่งขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตได้ในต้นทุนต่ำ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) จำเป็นต้องมีการเจรจาระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการ เพราะรัฐจะร่วมลงทุนด้วยส่วนหนึ่ง และจะต้องรับความเสี่ยงในการลงทุนสำรวจและพัฒนาด้วยเช่นกัน ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย เป็นต้น ระบบสัมปทาน (Concession System) ผู้รับสัมปทานจะต้องรับความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเลือกระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ต่างก็ให้ผลประโยชน์และช่วยประชาชนทั้งสองทาง ดังนั้นเราควรเข้าใจถึงการเก็บภาษีต่างๆ เพื่อช่วยค้ำจุนประเทศให้เดินหน้าต่อไปนั่นเอง ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/ Share This:


  • ใช้ทุนสามานย์ทวงคืนปตททุนสามานย์

    ใช้ทุนสามานย์ทวงคืนปตททุนสามานย์

    เรื่องมันมีอยู่ว่าที่เพจ “ทวงคืน พลังงานไทย” ซึ่งเป็นเพจ “ขำขัน” ที่นิยมเอาข้อมูลมั่วๆ เกี่ยวกับ ปตท และปิโตรเลียมของประเทศไทยมาทำ infographic เผยแพร่ไปทั่วเน็ท เพื่อเรียกรอยยิ้มจากชาวไทยทั่วประเทศยกตัวอย่าง เช่น เรื่องขำขันที่ว่า เมืองไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมันมากมายมหาศาลจนได้สมญานามว่าซาอุดิอาระเบียแห่งตะวันออกไกล มาวันนี้ แอดมินเพจทวงคืน พลังงานไทยก็ออกมาประกาศว่ามันถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่พี่น้องหมู่มวลมหาประชาชนทุกท่าน จะต้องช่วยกันสนับสนุนตูให้เดินหน้าทวงคืน พลังงานไทยกลับคืนมาสู่มวลมหาประชาชนชาวไทยต่อไปที่ผ่านมาหลายปี แอดมินได้สู้รบปรบมือกับ ปตท มาโดนตลอดจน ปตท ต้องเสียงบประมาณหลายพันล้านเพื่อปิดปากสื่อมวลชนไทยไม่ให้แฉเบื้องหลังของ ปตท แต่ถึงแอดมินจะสู้กับมันอย่างสุดแรงเพียงไรก็ตาม แต่คนเราย่อมมีวันเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหมดสิ้นเสบียงกรัง หมดสิ้นกำลังที่จะยืนหยัดสู้กับทุนสามานย์ต่อไป โดยใจความที่แอดมินเพจดังกล่าวเขียนไว้ในการเชื้อเชิญให้มาช่วยๆ บริจาคทุนสามานย์ให้แก มีดังนี้ เพจทวงคืน พลังงานไทย เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ลุยด่านหน้าตลุยกะทุนสามานย์ ปตท. และปัญหาการฉ้อฉลทรัพย์พลังงานของชาติ วันนี้ ปตท.ใช้เงินหลายพันล้านปิดปากสื่อมวลชน ข้อมูลต่างๆ ปชช.จึงไม่รู้ -//- สื่อออนไลน์ของ  ปชช.ก็ย่อมต้องช่วยกันแฉ ที่จะช่วยกันแชร์…เพื่อสร้างประเด็นสาธารณะ  และที่ช่วยกันสนับสนุนได้ก็ช่วยกันนะครับตามกำลังครับ จะได้มีจุดรวมร่วมกัน ที่จะสู้เรื่องราคาพลังงานที่เป็นธรรมชอบธรรม อีกทั้งจะได้จบเรื่องที่ นสพ. หรือ นักวิชาการบอกว่า “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย มีเบื้องหลังจากกลุ่มอำมาตย์ […]


  • ปตท กำไรแสนล้าน ชำแหละ ปตท กำไรแสนล้าน เรื่องจริงหรือเพียงเข้าใจผิด?

    ปตท กำไรแสนล้าน ชำแหละ ปตท กำไรแสนล้าน เรื่องจริงหรือเพียงเข้าใจผิด?

    กำไรแสนล้าน ของปตท. อาจจะง่ายต่อการชี้ชวนหรือมีอคติ ในหลงเชื่อว่า ได้มาจากการที่ปตท โกงคนไทย เอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ใช้น้ำมัน แต่เอาเข้าจริง เมื่อชำแหละ ปตท เปรียบเทียบกับสัดส่วนของยอดขายทั้งหมดก่อนจะพูดว่าปตท โกงคนไทย และนำไปจัดลำดับเข้ากับบริษัทพลังงานชั้นนำอื่นๆ ในโลก และธุรกิจอื่นๆของบริษัทในประเทศไทย กลับพบว่า กำไรของปตท. ที่กล่าวว่า ปตท กำไรแสนล้าน อยู่ในระดับที่ต่ำสุด คือ มีเพียงร้อยละ 3.7 นี่ถ้า ปตท.เป็นบริษัทเอกชนเต็มตัว ผู้บริหารคงถูกตำหนิว่า บริหารงานอย่างไรจึงมีผลกำไรน้อยกว่าคนอื่น แต่เมื่อปตท.ยังคงมีกระทรวงการคลังถือหุ้น ร้อยละ 51 จึงต้องถามว่า พอใจกับผลกำไรในระดับนี้หรือไม่ เพราะเพียงเท่านี้ ก็ยังถูกประชาชนโจมตี ว่าปตท โกงคนไทย  เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เพียงเพราะคำว่าปตท กำไรแสนล้าน… อย่าลืม ว่า ประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน หากเราไม่ยอมให้องค์กรพลังงานของประเทศ มีกำไรเพียงพอสำหรับการออกไปลงทุนแข่งขัน เพื่อแย่งชิง แหล่งพลังงานนอกประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนก็เตรียมรอซื้อพลังงานราคาแพงได้เลย เพราะแต่ละบริษัทต่างก็คำนึงถึงผลกำไรในสัดส่วนที่มากกว่าที่ปตท.เป็นอยู่ หรือว่าเราพอใจที่จะให้ปตท.กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ขาดทุนและยังต้องขอรับงบประมาณจากรัฐมาอุดหนุน อย่างที่เป็นอยู่หลายแห่ง  …ประเด็นสำคัญ ที่ควรจะต้องสนใจคือ […]