Articles Posted by the Author:

  • ยุค Disruption กับชาญศิลป์ ตรีนุชกร

    ยุค Disruption กับชาญศิลป์ ตรีนุชกร

    หลังจากได้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 1 ปี กับการเป็นหัวเรือใหญ่ นำพา ปตท. ให้เป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจ สานต่อธุรกิจ เน้นโปร่งใส สู่ความยั่งยืน และดำเนินงานโดยยึดหลักหลักธรรมาภิบาล ในยุค Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและการนำเทคโนโลยีเข้ามาในธุรกิจ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมในองค์กรและบุคลากรทุกภาคส่วน ภายใต้การนำทัพของ ชาญศิลป์ จะเป็นไปในทิศทางใด และจะผ่านอุปสรรคและความท้าทายนี้อย่างไร ด้วยประสบการณ์การทำงานใน ปตท.กว่า 38 ปี ซึ่งปีนี้ ปตท.ครบรอบ 41 ปี คุณชาญศิลป์กล่าวว่า มีวิกฤตมากระทบกับองค์กรมากมาย ตั้งแต่ Tesla, Shale Oil, Shale Gas, Solar และ Renewable ต่างๆ แต่ ปตท. ดำเนินธุรกิจของโรงกลั่นน้ำมันและสถานีบริการน้ำมัน ก็เจอผลกระทบจากภายนอก ซึ่งต้องเพิ่มพูนความรู้ และพัฒนาศักยภาพเพื่อให้พนักงานได้ค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน อีกเรื่องหนึ่งคือ จะต้องมีสิ่งอื่นมาทดแทนน้ำมันได้ แรกเริ่ม […]


  • ความสำคัญของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย กับการย้อนความการแปรรูป ปตท.

    ความสำคัญของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย กับการย้อนความการแปรรูป ปตท.

    ทราบกันหรือไม่ว่ารัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนและมีความเกี่ยวโยงกับความมั่นคงของประเทศนั้น หลายองค์กรมีปัญหาสำคัญคือ ขนาดสินทรัพย์และเงินทุนที่ใช้นั้นสูงขึ้นทุกปี มีการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมหาศาล โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในด้านผลตอบแทนนั้น เมื่อเทียบกับการลงทุนและการใช้ทรัพยากรแล้ว กลับได้ผลตอบแทนน้อย อีกทั้งรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำกำไร ยังเป็นธุรกิจที่ผูกขาดหรือเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดที่การแข่งขันไม่สูง เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. ในทางกลับกันธุรกิจในกลุ่มที่มีการแข่งขันสูงเช่น กสท. หรือ ทีโอที กลับขาดทุน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากโครงสร้างการกำกับดูแลที่อยู่ภายใต้กระทรวงและระเบียบราชการที่ขาดความคล่องตัว แข่งขันกับเอกชนไม่ค่อยได้ ทั้งการดำเนินการยังมีความไม่โปร่งใส และกลายเป็นช่องทางคอรัปชั่น “เป็นที่ประจักษ์ทั่วโลก (กว่า 120 ประเทศ) ว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องสำคัญที่มีประโยชน์มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ IMF และ World Bank สนับสนุนส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการตลอดมา แต่ที่ไม่ค่อยเป็นผลก็เพราะรัฐวิสาหกิจนั้นนักการเมือง-ชอบ ผู้บริหาร-ง่าย พนักงาน-สบาย คู่ค้า-สะดวก ทีนี้พอ IMF มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขได้ก็เลยระบุเรื่องนี้ไว้ด้วย (ทุกครั้งที่ IMF เข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศกำลังพัฒนาก็มักมีเงื่อนไขนี้อยู่ด้วยเสมอ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ก็โดนเงื่อนไขนี้ทุกประเทศเหมือนกัน)” … ที่มา https://thaipublica.org โดย คุณบรรยง พงษ์พานิช การตัดสินใจแปรรูป ปตท.จริงๆ […]


  • ปตท. กับการ แปรรูป

    ปตท. กับการ แปรรูป

         การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่ผลิตและสำรวจ แปรรูป ไปจนถึงค้าปลีกน้ำมันและแก๊ส เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่เศรษฐกิจและเพื่อเป็นความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ      จนกระทั่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 จำเป็นต้องพึ่งพาเงินกู้ในโครงการช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ จะต้องมีการดำเนินการ “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ”สู้วิกฤตต้มยำกุ้งแปรรูป ปตท. เพื่อระดมทุนจากตลาดหุ้น      บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ปตท. พร้อมกับกลุ่มคนไม่น้อยที่ต่อต้านการแปรรูป เพราะมองว่าเป็นการขายชาติ เอาสมบัติชาติมาขาย พร้อมปลุกระดมคนเพื่อต่อต้านตลอดมาจนถึงปัจจุบัน      หลังจากแปรรูป ปตท. สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารงาน ส่งผลให้ทำรายได้ให้รัฐเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนที่ ปตท. จะแปรรูปเสียอีก      จากบริษัทพลังงานแห่งชาติ สู่บริษัทพลังงานข้ามชาติ ขยายการลงทุนสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ปตท. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ซึ่งจากที่กล่าวมา การแปรรูป ปตท. ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่อย่างใด โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกชุดมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย จึงมั่นใจได้ว่า การแปรรูป ปตท. […]


  • ราคาน้ำมันแพง พาชีวิตคนไทย แย่จริงหรือ?

        ทำไมราคาน้ำมันไทย คงเป็นคำถามในใจใครบางคน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ถูกชักจูงจากการจุดกระแสของคนบางกลุ่มในโลกโซเชียล เรื่องราคาน้พำมันหรือไม่ อันนี้พูดมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็เหมือนคนบางกลุ่มไม่เคยเข้าใจ เพราะเอาแต่จะนำราคาไปเทียบกับประเทศที่ถูกกว่าอยู่ร่ำไป เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เถียงกันเป็นร้อยปีก็คงไม่จบ เพราะฉะนั้นข้อเขียนในตอนนี้จะขอเขียนถึงราคาน้ำมันโดยอนุมานว่ามันแพงตามความคิดของคนบางคนก็แล้วกัน น้ำมันแพงแล้วมันแย่จริงหรือ บ้างก็ว่าทำให้ของแพง ทำให้เศรษฐกิจแย่ หรือบ้างก็อาจจะบอกว่าราคาน้ำมันนี่แหล่ะเป็นตัวการที่ทำให้คนจนลง … คำถามคือ ทั้งหมดมันเป็นอย่างที่เขาว่ากัน หรือมันแค่มีการพยายามสร้างกระแสจากคนบางกลุ่ม เพื่อหวังผลประโยชน์กันแน่     ในปี 2019 ปีที่ยังมีบางคนพยายามจัดตั้งกลุ่มโจมตีเรื่องราคาน้ำมัน พร้อมนำไปผูกกับเรื่องความเป็นอยู่ที่ลำบากของประชาชน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหลักฐานเป็นรูปธรรม คราวนี้ลองมาอ่านอีกข้อมูลหนึ่ง จาก https://energythaiinfo.blogspot.com/ ดูว่า ราคาน้ำมันแพงมันทำให้ชีวิตคนไทยอย่างเรา แย่ลงจริงไหม “ ประเทศที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเอเชีย จากการจัดอันดับของ U.S.News สหรัฐอเมริกา ถ้าเทียบในโซนเอเซีย ประเทศที่ได้อันดับ 1-3 ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน ส่วนของไทย ได้อันดับ 6 และ มาเลเซีย ได้อันดับ 7 ลำดับ       อาจมีคนสงสัยว่า อ่าวแล้วก่อนหน้าเรื่อง GDP ต่อหัวของไทย น้อยกว่า มาเลเซีย […]


  • ปตท.เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ปตท.เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ผมเห็นจากข่าวทีวีและในเฟสบุ๊คว่ามีกลุ่มคนเดินทางประท้วงเรื่องราคาน้ำมันแพงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลโดยใช้แคมเปญว่า “ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย” แล้วนำป้ายราคาน้ำมันของ 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งดูแล้วผมก็คิดว่า จริงด้วยเลย! ทำไมต่างกันเท่าตัวเลย ทั้งๆ มาเลเซียกับไทยก็เป็นคู่แข่งทั้งกีฬาฟุตบอลและตะกร้อ อีกทั้งเศรษฐกิจก็แข่งกันในระดับภูมิภาคอาเซียนมาตลอด เป็นแบบนี้ได้อย่างไร ผมเลยลองศึกษาว่า ทำไมราคาน้ำมันถึงต่างกันขนาดนี้ โดยได้ประเด็นหลักๆ อยู่ 2 ประเด็น คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2. คุณภาพน้ำมัน แน่นอนว่าอย่างหลังคุณภาพน้ำมัน บ้านเราใช้น้ำมันมาตรฐานยุโรป 4 หรือ EURO 4 ส่วนประเทศมาเลเซียใช้ EURO 2 – EURO 4 ซึ่งต่ำกว่าบ้านเรา แน่นอนครับของเกรดต่ำกว่าราคาก็ต้องถูกกว่าเป็นเรื่องปกติ แต่นั่นมันก็ไม่น่าถึงจะเป็นราคาที่ห่างกันเท่าตัวใช่ไหมครับ ผมเลยก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อแรก นั้นคือโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยโครงสร้างราคาน้ำมันจะ 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน หรือ ราคาหน้าโรงกลั่น มีสัดส่วนต่อราคามากกว่า 65% และต้นทุนตัวนี้ ก็สะท้อนราคานำเข้าน้ำมันดิบจากตลาดโลก ที่ปรับไปตามกลไกอุปสงค์-อุปทาน (Demand-Supply) […]


  • เมื่อรัฐมนตรีพลังงานให้สัมภาษณ์ว่า ไทยนำเข้านั้น “เกือบจะ” 100%

    เมื่อรัฐมนตรีพลังงานให้สัมภาษณ์ว่า ไทยนำเข้านั้น “เกือบจะ” 100%

    2-3 วันที่ผ่านมา ( 30 ตุลาคม 62) ภายหลังกลุ่มที่เรียกตนเองว่าผีเสื้อกระพือปีก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม คปพ. กลุ่มที่เราคุ้นเคยกันดีจากที่พยายามเรียกร้องเรื่องต่างด้านๆ พลังงาน ที่มีเป้าหมายในการพยายามเรียกร้องให้มีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ พร้อมกับเสนอให้กลุ่มตัวเองที่อ้างว่าเป็นตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปนั่งมีตำแหน่งในบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ได้ออกมาพยายามเรียกร้องให้รัฐทำให้ราคาสำเร็จรูปประเทศไทยเทียบเท่ากับมาเลเซีย โดยประเด็นถึงเหตุผลที่มาที่ไปของประเด็นเรื่องราคาน้ำมันไทย-มาเลซียคงมีการกล่าวถึงไปบ้างแล้ว เพราะฉะนั้นในบทความนี้จะขอแชร์ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นมาตามจากประเด็นเรื่องราคาน้ำมันไทย-มาเลซียให้ได้ทราบกัน ภายหลังจากที่มีประเด็นการเดินขบวนของเรียกร้องราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลซียของกลุ่มผีเสื้อกระพือปีก พร้อมการโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าไม่เป็นธรรมและสูงเกินไป การเดินขบวนครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่รัฐบาลมากกว่าที่จะเจาะจงโจมตีบริษัทน้ำมันใดบริษัทน้ำมันหนึ่ง กลายเป็นที่มาของประเด็นเรื่องนโยบายภาครัฐอย่าง “ภาษี” ที่ทำให้ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าประเทศอื่นภายในกลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงานของประเทศ และเกิดเป็นกระแสการโพสต์ สร้างรูปภาพ ตัดต่อโดยเน้นโจมตีการทำงานของภาครัฐที่เก็บภาษีสูงทำให้น้ำมันไทยมีราคาสูง เหตุผลเรื่อง “ภาษี” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาพลังงานโดยตรง ที่มีการพยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องมาอย่างยาวนาน แต่เป็นกลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงานเองที่พยายามสร้างวาทะกรรม ว่า ปตท. นั่นแหล่ะที่เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันในประเทศ เพราะโดยธรรมชาติ การสร้างผู้ร้ายให้เกิดการเกลียดชังมันง่ายกว่าสร้างเรื่องร้ายที่ไม่รู้จะสามารถโทษใครได้ กับเรื่องโจมตีภาษีในครั้งนี้ เราเห็นอะไร? 1. เห็นว่า … ไม่ได้มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งในประเทศเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หากแต่ราคาน้ำมันมีโครงสร้างและภาครัฐเป็นผู้วางนโยบาบและกำหนดกรอบของราคา อย่างที่เราได้เห็นจากสถานกาณ์ การพยายามให้ยกเลิกภาษีน้ำมันในครั้งนี้ หรือการโจมตีเรื่องกองทุนน้ำมันเหตุการณ์ที่ผ่านมาๆ 2. เห็นว่า … กลุ่มที่โจมตีเรื่องราคาพลังงาน ไม่ได้สนใจข้อเท็จจริงใดๆ สนเพียงการพยามยามสร้าง “ผู้ร้าย” โดยใช้สถานการณ์นั้นๆ เป็นตัวผลัก และไม่สนใจผลกระทบด้านพลังงานที่เกิดขึ้นจากการพยายามเรียกร้องของกลุ่มตนจะเป็นอย่างไร […]


  • ถามตอบไป ใครล่ะ ที่ถือหุ้นใหญ่ ปตท.

    ถ้ามีคนตั้งคำถาม ว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัทที่จำเป็นต้องสร้างกำไรใช่หรือไม่ เราคงได้แต่ยอมรับในความเป็นจริง เพราะมันปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีการระดมเงินทุนจากมหาชน ซึ่งความขาดหวังในผลตอบแทนยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่หากจะถามว่าการที่เป็นบริษัทมหาชน ความคาดหวังในผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูง จำเป็นหรือไม่ที่บริษัทที่จะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อสร้างกำไรอย่างมหาศาล อันนี้ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่า “ไม่” ตัวเลขกำไรสุทธิ 6.61% (ปี 2017) , 5.05% (ปี2018) และ 4.84% ในปีปัจจุบัน ตอบคำถามในตัวของมันได้ดียู่แล้วว่ากำไรของบริษัทนั้นมากมายมหาศาล แบบที่ใครๆ หลายคนชอบตั้งคำถามกับ ปตท. ว่า ปตท. กำลังทำเพื่อ … ด้วยตัวเลขกำไรนี้แปลว่า ทุกการลงทุน 100 บาท ปตท. จะได้รีเทิร์นเป็นกำไรกลับมาประมาณ 5 บาท กว่าๆ มันดูเป็นตัวเลขมหาศาลจริงหรือ? เราอาจต้องเปิดใจและยอมรับความจริง ว่า ปตท. คือบริษัทที่มีสวมหน้ากากสองใบ อยู่ในองค์กรเดียวกัน ในหน้าหนึ่ง ปตท. คือบริษัทที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ และมีส่วนในการควบคุมดูแล ผ่านการที่รัฐส่งคนของรัฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในผู้บริหาร ปตท. ในหน้าส่วนนี้ ปตท. […]


  • คำครหาหุ้นปตท.เป็นของ ทักษิณ

    คำครหาหุ้นปตท.เป็นของ ทักษิณ

    ช่วงนี้ผมเห็นราคาหุ้นของกลุ่มปตท.มีหลายตัวลงมาเยอะ ผมเลยทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลเพื่อที่จะได้ลงทุนยาวๆบ้าง แต่พอหาข้อมูลในกูเกิลตามคำแนะนำของท่านนายกฯที่ว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่หาข้อมูลจะเสิร์ชในกูเกิลก็จะรู้เรื่องทั้งหมด พอผมเสิร์ชแล้วลองอ่านไล่ไปเรื่อยๆ เจอประเด็นที่เป็นจุดกำเนิดของเรื่องดราม่าของหุ้นปตท. ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2540 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในบ้านเรา แล้วมีการกู้ยืม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือเราที่เรียกว่า IMF (International Monetary Fund) แล้วในการกู้ยืมเขาก็กำหนดให้เอากิจการในมือรัฐบาลขายออกมาทอดตลาดแล้วให้ต่างชาติมาถือครองได้(เอาเปรียบชัดๆ) แล้วเงื่อนไขหนึ่งก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ IMF อ้างว่าเพื่อเป็นทุนนิยมและเพื่อการเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น แม้เจตนาดีอาจจะมีวัตถุประสงค์ลึกๆ แต่ก็เพื่อความเป็นสากลและเพื่อความอยู่รอดตอนนั้น จึงค่อยๆ ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทีละหน่วยงาน ปตท.เองก็ถูกแปรรูปซึ่งเริ่มกระบวนการตั้งแต่ปี 2542 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในขั้นต้น ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปลายปี 2544 โดยกระทรวงการคลังจะถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 เพื่อคงสภาพความเป็นเจ้าของ โดยก็ต้องออกกฎหมายเฉพาะขึ้นมาอีก(กรณีพิเศษมากมายเลยถูกโจมตีแต่ใส้ในเนื้อหาของแต่ละเรื่องนั้นก็เพื่อส่วนร่วมประเทศชาติและคนในชาติทั้งนั้นนะครับ)  ซึ่งรัฐบาลที่เป็นคนเริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจคือรัฐบาลสมัยคุณชวน หลีกภัยที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สมัย คุณทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลายๆ คนมองว่ายุคนั้นเป็นยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นและก็ด้วยตามแผนที่มีก็ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกซึ่งก็ถูกคัดค้านต้านทานอย่างหนักจากคิวต่อไปอย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แต่เนื่องจากหลายๆ ฝ่ายมองว่าการไฟฟ้าคือความมั่นคงของชาติเพราะทุกครัวเรือนไทยต้องใช้ อีกทั้งยุคสมัยนั้นคุณทักษิณก็ได้ทำการขายหุ้นสื่อสารที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลในกลุ่มธุรกิจของตัวเองให้แก่เทมาเซ็ก ซึ่งเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์จึงถูกโจมตีทางการเมืองและเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ทำให้มีการปฏิวัติตามมา อ่านถึงตรงนี้คงสงสัยใช้ไหมครับว่า แล้วคุณทักษิณไปเกี่ยวอะไรกับปตท.ล่ะ ก็เพราะตอนประท้วงนั้นแหละครับฝ่ายที่ต้องการสร้างมวลชนก็หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมา สร้างวาทกรรมหลากหลาย ทั้งขายชาติ, […]


  • ปตท. กำหนดราคาน้ำมัน ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือ?

    ปตท. กำหนดราคาน้ำมัน ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือ?

    ปัจจุบัน “น้ำมัน” เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์และมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก ซึ่งมีระบบการค้าแบบเสรี ราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยมีแนวโน้มปรับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุความต้องการใช้น้ำมันขยายตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจากยุคก่อนๆ ทำให้เป็นที่วิจารณ์ไปทั่วสังคมไทย โดยมองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และปตท. เป็นต้นเหตุเพราะกำหนดราคาน้ำมันเอาเปรียบประชาชน ซึ่งเป็นที่มาของการรณรงค์ไม่เติมปั๊มน้ำมัน ปตท. ในโลกออนไลน์เมื่อ 1 ปีก่อน ปตท. ก็ได้ออกมายืนยันว่ากำหนดราคาขายเป็นไปตามหลักการค้าเสรี โดยการปรับราคาขายปลีกน้ำมันของ ปตท. ในแต่ละครั้ง ปรับตามต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และราคาน้ำมันไทยอ้างอิงตลาดสิงคโปร์มาโดยตลอด ซึ่งปั๊มน้ำมันหลายแห่งก็ปรับตาม ซึ่งเป็นหลักฐานได้ว่า ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ แต่ละปั๊ม แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี โดยมีสิ่งหนึ่งที่ ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้กำหนด นั่นก็คือภาษีและกองทุนน้ำมัน ส่วนค่าการตลาดสามารถปรับขึ้นลงได้เล็กน้อย เพราะเป็นรายได้ที่จะนำไปใช้ลงทุนขยายสาขา การบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งเวลาที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าการตลาดจะปรับลดลงเพื่อไม่ให้กระทบกับผู้บริโภค ทั้งนี้ ปตท. ยืนยันว่าได้ยึดถือประโยชน์ของประเทศและคนไทยทุกคนเป็นหลักพร้อมดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทำเพื่อคนไทย และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยตลอดไป Share This:


  • หุ้น PTTOR ที่รอเข้าตลาด กับการหาราคาที่เหมาะสม

    หุ้น PTTOR ที่รอเข้าตลาด กับการหาราคาที่เหมาะสม

    จากการผิดหวังที่เฝ้ารอคอยข่าวที่ออกมาหลาย ๆ ครั้งของหุ้นดีมีอนาคตอีกหนึ่งตัวในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกเลื่อนมาตั้งแต่ ปี 2561 จนมาปี 2562 ก็ถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่ 2 จนบัดนี้เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ข่าวคราวก็ได้เงียบหายไป ซึ่งหุ้นตัวนั้นก็เป็นหุ้นลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีชื่อว่า บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จนหลายๆคนคงเกิดความสงสัยเหมือนผมว่าทำไม? เป็นเพราะอะไรถึงทำต้องถูกเลื่อนเรื่อยๆ ด้วยข้อมูลที่ผม พอจะหาได้และความรู้ที่มีในตลาดทุนพอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า 1.เป็นเรื่องของการจัดการแบ่ง แยกทรัพย์สินที่ถูกโอนจากบริษัทแม่ไปสู่บริษัทลูกที่เสร็จไม่ทันเวลา และมีความไม่ชัดเจนภายในองค์กรเองอันนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งจัดการเสร็จเรียบร้อยในช่วงปลายปีนั้นเอง เนื่องด้วยหุ้นของปตท.เองถูกรัฐบาลถือผ่านกระทรวงการคลัง 51% จึงทำให้มีเรื่องของการเมืองเข้ามามีส่วน ทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นจึงต้องเลื่อนจนกว่าการเมืองจะนิ่งและเป็นประชาธิปไตยเสียก่อน 3. น่าจะเป็นในเรื่องของจังหวะและเวลาที่ยังไม่ลงตัวเพราะหากไม่ได้มีความจำเป็นรีบร้อนในการเข้าซื้อขายแบบเร่งด่วนดั่งสมัย ปตท.ที่ถูกบีบให้แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ในสภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยและยังถูกบีบด้วยเจ้าหนี้ของรัฐบาล(กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟที่มาปล่อยกู้ให้ประเทศแก้วิกกฤตในตอนนั้น) ตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ทำให้ราคาอาจจะไม่ดีนัก มาถึงตรงนี้แล้วก็คงเริ่มสงสัยแล้วกันแล้วใช่ไหมครับในเรื่องของการกำหนดราคาที่ปตท.จะเอาบริษัทฯลูกเข้าตลาด ซึ่งผมก็บอกเลยว่าเป็นอะไรที่บอกได้ยากมากครับ เพราะตามหลักแล้วการหาราคาที่เหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆแล้วการทำการ สำรวจความต้องการของตลาด สภาวะของตลาดในช่วงนั้นประกอบกันด้วย หากตลาดดีกำลังเป็นขาขึ้นราคาก็ถูกกำหนดโดยการบวกค่าความคาดหวัง (Expected Return)เข้าไป แต่หากสภาวะตลาดซบเซาก็จะหักส่วนลด (Discount […]