Articles Posted by the Author:

  • NGV คืออะไร? มารู้จัก NGV กันเถอะ

    NGV คืออะไร? มารู้จัก NGV กันเถอะ

    NGV หรือ Natural Gas Vehicles คือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เกิดขึ้นจากการนำก๊าซธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน) มาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (เป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงมากเท่ากับ 240 เท่าของความดันบรรยากาศ) แล้วนำไปเก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่น เหล็กกล้า เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิลหรือดีเซลในรถยนต์ประเภทต่างๆ ซึ่งสากลเรียกว่า Compressed Natural Gas (CNG) หรือ ก๊าซธรรมชาติอัด ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2403 โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Etienne Lenoir แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงส่งผลให้มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ทดแทนน้ำมันในรถยนต์มากขึ้น นานาประเทศก็มุ่งไปสู่การลดปัญหา โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการใช้ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยประเทศที่มีการใช้ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะขยายการใช้มากขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น […]


  • ปตท ปล้นทรัพยากรไทย อธิบายเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG

    ปตท ปล้นทรัพยากรไทย อธิบายเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG

    เรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG ตามลิ้งค์นี้ http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html น่าจะเป็นคำตอบให้กับผู้ที่สนใจได้ว่าทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ แต่ก็ราคาถูกเช่นกันเมื่อเทียบกับอีกบางประเทศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริบทของคนที่นำเสนอว่าต้องการจะนำเสนอไปทิศทางไหน อยากให้ดูว่าแพงก็ไปเทียบกับประเทศที่ใช้ถูกกว่าบ้านเรา อยากให้ดูว่าถูกก็ไปเทียบกับประเทศที่ใช้แพงกว่าบ้านเรา อีกเทคนิคหนึ่งในการนำเสนอไปในทิศทางว่าทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงก็คือ การที่พูดว่า ปตท ทรราชน้ำมันและนำน้ำมันตัวที่แพงที่สุดในบ้านเรา คือ น้ำมันเบนซิน95  (แต่ใช้น้อยที่สุดประมาณวันละ 2 ล้านลิตร) เพราะรัฐไม่อยากสนับสนุนการใช้น้ำมันตัวนี้จึงเก็บภาษีและเงินเข้ากองทุนน้ำมันมากๆ มาเป็นตัวตั้งแล้วเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆว่าปตท ปล้นทรัพยากรไทย (โดยจงใจละเลยเหตุและผลที่จำเป็นในการกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศเพื่อส่งเสริมให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการนำเข้าโดยใช้พลังงานทดแทนอย่างเอธานอลที่ผลิตได้เองในประเทศ) ทั้งๆที่ถ้าว่ากันแบบเอาปริมาณเข้าว่าน้ำมันที่บ้านเราใช้เยอะที่สุดคือ น้ำมันดีเซล (วันละประมาณ 60 ล้านลิตร) ล้วนถูกกว่าหลายๆประเทศ ที่ผู้นำเสนอว่าปตท ปล้นทรัพยากรไทย และน้ำมันบ้านเราแพงนำมาเปรียบเทียบเสียด้วยซ้ำ Citation 1. ตรวจสอบราคาน้ำมันของแต่ละประเทศได้ที่ / Petrol prices around the world, September 2013 http://www.mytravelcost.com/petrol-prices/ 2. ตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล / สรุปการผลิต นำเข้า จำหน่าย และส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงhttp://www.doeb.go.th/info/data/datadistribution/sum_56/july_56u.xls เกริ่นมาซะยาวละ เข้าเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG ตามลิ้งค์นี้ http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html เข้าไปแล้วคุณลองโหลดมาดูสักวัน คุณจะเห็นตาราง Excel แสดงโครงสร้างเอาไว้ ผมทำแผนภาพขึ้นมาเพื่อประกอบการอธิบายตามนี้ อธิบาย 1. […]


  • พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

    พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

    “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด? ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่ 5 : น้ำมันแพงเพราะภาษีและกองทุนฯ

    พลังงานไทย ตอนที่ 5 : น้ำมันแพงเพราะภาษีและกองทุนฯ

    ข้อโจมตีอีกประการหนึ่งของ “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” คือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศไทยมีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ตัวอย่างที่คนพวกนี้เผยแพร่ไปทั่วคือ ราคาขายปลีกในประเทศไทยยังแพงกว่าในสหรัฐอเมริกาทั้งที่คนไทยโดยเฉลี่ยมีรายได้ต่ำกว่าคนอเมริกันอย่างมาก คนพวกนี้จงใจเลือกหยิบข้อมูลชำแหละ ปตท เฉพาะจุดโดยไม่กล่าวถึงภาพรวมทั้งหมด เป็นความจริงที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯมีราคาต่ำกว่าไทย โดยปัจจุบันราคาขายปลีกในสหรัฐฯเท่ากับลิตรละ 32.60 บาท ขณะที่ราคาขายปลีกของไทยอยู่ที่ลิตรละ 45.25 บาท แต่จากสถิติราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกในเดือนเมษายน 2556 จะพบว่า ประเทศไทยมีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับกลาง ๆ อันดับที่ 95-100 และยังมีอีกหลายประเทศที่พลเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนไทย แต่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงกว่า เช่น ศรีลังกา (46.8 บาท) เนปาล (47.8 บาท) กัมพูชา (49.2 บาท) ราวันดา (69.6 บาท) เป็นต้น ประเทศที่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงที่สุดในโลกคือ ตุรกี ที่ลิตรละ 90 บาท! ความจริงคือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินไม่ได้สัมพันธ์กับระดับรายได้ของประชากรในแต่ละประเทศ ประเทศยากจนไม่จำเป็นต้องมีราคาน้ำมันถูกกว่าประเทศร่ำรวย เพราะแม้ว่าราคาตัวเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่รัฐบาลในแต่ละประเทศก็มีนโยบายภาษีน้ำมันที่ไม่เหมือนกัน ประเทศที่จัดเก็บภาษีน้ำมันสูงก็จะมีราคาขายปลีกสูง ประเทศยากจนที่มีราคาน้ำมันแพงมาก เช่น ในอาฟริกา […]


  • NGV นั้นดียังไง…ทำไมต้องเป็น NGV

    NGV นั้นดียังไง…ทำไมต้องเป็น NGV

    1.ประหยัด การใช้ NGV จะช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง เนื่องจาก NGV เป็นเชื้อเพลิงที่มีอยู่ภายในประเทศ   และมีราคาจำหน่ายถูกที่สุด  โดยปัจจุบัน NGV จำหน่ายอยู่ที่ 10.50 บาท/กิโลกรัม ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการปรับขึ้นราคาจำหน่ายของ NGV  จะสามารถปรับตัวขึ้นได้แบบค่อยๆ ทยอยปรับขึ้น ในลักษณะแบบขั้นบันได ทั้งนี้จะต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน อย่างไรก็ตามราคา NGV จะขายสูงสุดได้ไม่เกิน 50 % ของราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ แล้ว NGV จะมีราคาจำหน่ายถูกกว่าดังต่อไปนี้    (เปรียบเทียบจากราคาจำหน่ายเชื้อเพลิง ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556) –  เปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน 95        ราคา NGV จะถูกกว่า 73% –  เปรียบเทียบกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95  ราคา NGV จะถูกกว่า […]


  • พลังงานไทย ตอนที่ 4 : ชำแหละ ปตท ห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป?

    พลังงานไทย ตอนที่ 4 : ชำแหละ ปตท ห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป?

    “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” สร้างนิทานเรื่อง “ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน” และเรื่อง “สัญญาสัมปทานขายชาติ” ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการที่ปตท ปล้นทรัพยากรไทยเอาไปขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่3 ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

    พลังงานไทย ตอนที่3 ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

    “กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย” นอกจากจะแต่งนิทานเรื่องประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานแล้ว ยังตั้งข้อกล่าวหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่ครอบงำ ปตท ไปอยู่เบื้องหลังบริษัทสำรวจและผลิตต่างชาติให้สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในเงื่อนไขที่บริษัทต่างชาติจึงทำให้ได้ผลตอบแทนมหาศาล ปตท กำไรแสนล้าน แต่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐไทยเป็นจำนวนน้อยนิด “กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย” อ้างถึงค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ว่ามีอัตราเพียงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่ายกับภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งคนพวกนี้อ้างว่า “ต่ำที่สุดในอาเซียน” และต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีทั้งค่าภาคหลวง ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกำไรก่อนหักภาษีแล้วยังมีภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีก รวมเป็นประโยชน์ให้รัฐสูงถึงร้อยละ 80-90 ข้อเสนอของคนพวกนี้มีตั้งแต่ให้แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนผลประโยชน์ให้รัฐได้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 80-90 ไปจนถึงยกเลิกสัมปทานบริษัทต่างชาติทั้งหมด แล้วให้บริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สำรวจขุดเจาะและผลิตแต่เพียงรายเดียว ความจริงคือ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พรบ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่ 2 : ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?

    พลังงานไทย ตอนที่ 2 : ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?

    เร็วๆนี้ได้อ่านบทความดีๆจาก http://pichitlk.blogspot.com/2013/03/blog-post_29.html#more ที่กล่าวถึงเรื่องพลังงานไทยในมุมมองที่ต่างออกไป จึงขอหยิบยกมากล่าวสักตอน ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีจุดประสงค์ที่แท้จริงทางการเมืองคือ อาศัยความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันแพง มาปลุกระดมความไม่พอใจ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรัฐบาล โดยอ้างว่า เบื้องหลังการชำแหละ ปตท.ก็คือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่เข้ามาควบคุม ปตท.ด้วยการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544 คนพวกนี้จึงเรียกร้องให้ “ทวงคืน ปตท.” ซึ่งก็คือ ถอน ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกหุ้น ปตท. และหวนคืนสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปดังเดิม นิยายพลังงานไทยที่คนพวกนี้ผูกเรื่องขึ้นมาโดยคร่าวๆ คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล แต่คนไทยกลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงเพราะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาฮุบทรัพยากร เริ่มตั้งแต่สมคบกับบริษัทขุดเจาะต่างชาติที่ได้สัมปทานแบ่งส่วนผลประโยชน์ให้รัฐไทยน้อยมาก แอบส่งออกน้ำมันดิบไทยไปขายในตลาดโลก แล้วนำเข้าน้ำมันดิบราคาแพงจากตะวันออกกลางเข้ามากลั่น บวกต้นทุนเทียมและตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อกินกำไรส่วนต่าง จัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีราคาขายปลีกแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก! คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการปกปิดบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และหันไปอ้างแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่ดูขลังน่าเชื่อถือแทน เช่น การสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรืออีไอเอ เป็นต้น อ้างไปถึงว่า เป็นข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือซีไอเอก็มี ทั้งที่ถ้าลงมือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่า ข้อมูลพลังงานไทยจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ เช่น […]


  • พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไปว่าพลังงานไทย พลังงานใครทำไมบ้านเราราคาน้ำมันถึงแพง ทำไมต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคนแม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภาเริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวมและเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้นปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท.ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท.ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550 เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมืองสว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย”ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหารปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงานโดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย […]


  • ความจริงมั่วยกแผง ปตท ทรราชน้ำมัน สะท้อนเจตนานักทวงคืน

    ความจริงมั่วยกแผง ปตท ทรราชน้ำมัน สะท้อนเจตนานักทวงคืน

    เครือข่ายนักทวงคืนรับลูกความมั่วกันยกแผง สะท้อนทั้งความรู้และเจตนาของคนจำพวกนี้ได้ดีมากทีเดียว EIA ทำรายงานวิเคราะห์ทรัพยากร Shale Gas/Oil ของประเทศต่างๆออกมา หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยมี “significant prospective shale gas and shale oil potential” นักทวงคืนไม่รู้ได้อ่านจบหรือเปล่าก็รีบไปปล่อยไก่ “ประเทศไทยเรามีทรัพยากรอร่ามอาบเอิบแล้วเจ้าข้าเอ๊ย ปตทมันปล้นชาติอีกแล้ว” เพจในเครือข่ายรวมถึงเพจหม่อมคนเก่งของเราก็รับลูกเอาไปขยายต่อว่าปตท ปล้นชาติกันเป็นเรื่องเป็นราว แอดมินอ่านแล้วก็ทั้งขำทั้งสมเพชทั้งสงสัย (อร่ามอาบเอิบ55555) สรุปว่าคนพวกนี้มีความรู้มากแค่ไหน หรือรู้แต่มีเจตนาบิดเบือนปลุกปั่นหลอกลวงสาวกของตัวเอง? ประการแรก ทรัพยากรปิโตรเลียมที่ EIA นำเสนอคือ Shale Gas/Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียมที่ถูกกักอยู่ในชั้นหินดินดาน จะแตกต่างไปจากก๊าซ-น้ำมันที่ผลิตกันอยู่ทุกวันนี้ซึ่งเรียกว่า Conventional Resource ประการที่สอง ถ้าได้อ่านในรายงานจริงๆจะพบว่า ข้อสรุปในรายงานเป็นการนำเสนอข้อมูลปริมาณปิโตรเลียมประเภทนี้ที่คาดว่าจะพบ (Prospective) โดยพิจารณาคาดการณ์จากข้อมูลทางธรณีวิทยาต่างๆ เช่น ความลึก ความหนา ลักษณะชั้นหิน ค่าความร้อน อายุของ และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากนั้นจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปเทียบเคียง (analogy) กับแหล่งทรัพยากรที่พบในพื้นที่อื่นและมีการผลิตแล้ว จากนั้นจึงสรุปเป็นตัวเลขออกมาว่าในแหล่งหนึ่งๆ “น่าจะ” พบ Shale […]