Articles Posted by the Author:

  • แฉ ปตท แปรรูปแล้วประชาชนได้อะไร?

    แฉ ปตท แปรรูปแล้วประชาชนได้อะไร?

    รัฐต้องการให้ ปตท. เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ หลังจากการแปรรูป ปตท. ทำให้ ปตท. สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ โดยขยายการลงทุนในโครงข่ายพลังงานต่างๆ และพัฒนาพลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ และปกป้องการแสวงหาประโยชน์ของบริษัทพลังงานต่างชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการแปรรูป ปตท. ก็คือ “ประชาชน” ทั้งในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจและในฐานะผู้บริโภคพลังงาน ในทางกลับกัน หากไม่มีการแปรรูป ปตท. รัฐจะต้องมารับภาระในการลงทุนด้านพลังงาน อันจะส่งผลกระทบต่อการจัดหางบประมาณสำหรับการดำเนินการพัฒนาในด้านอื่นๆ ของประเทศ เช่น ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นต้น จากความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และการมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของ ปตท. จึงมีส่วนสำคัญในการเพิ่มฐานะทางการเงินของรัฐในรูปเงินปันผล และภาษีเงินได้ที่ กลุ่ม ปตท. ส่งคืนภาครัฐ โดยรัฐสามารถนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ ปตท. มีศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติต่างๆ ในกลไกตลาดเสรี รักษาและสร้างสมดุลในด้านราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยุติธรรม การกระจายหุ้นไอพีโอ ปตท. โปร่งใส ราคาเหมาะสมจริงหรือ? การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของ ปตท. ไม่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มใด เนื่องจากได้มีการกระจายหุ้นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และตามแนวปฏิบัติที่เป็นสากล […]


  • อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]


  • คนไทยถูกปตท ปล้นเงียบหรือว่าความจริงถูกบิดเบือน?

    คนไทยถูกปตท ปล้นเงียบหรือว่าความจริงถูกบิดเบือน?

    หลายๆคนสงสัยว่า ไทยผลิตก๊าซได้อันดับที่ 23 ของโลกอ้างอิงจาก Energy Information Administration ของอเมริกา แต่อ้างว่านำเข้าก๊าซในราคาสูง แม้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกตามข้อมูลของ EIA http://www.eia.gov/countries  แต่ทราบหรือไม่ว่าเราสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เพียง 1.1% ของการผลิตก๊าซฯทั่วโลกเท่านั้น ในขณะที่อเมริกา รัสเซีย  ผลิตได้ถึง 19.3% และ 18.4% เพียงแค่ 2 ประเทศ รวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก แล้วจะเรียกว่าเราผลิตก๊าซฯ ได้เยอะได้อย่างไร ไม่เชื่อลองเข้าไปดูใน www.bp.com/statisticalreview   นอกจากนั้นจาก website EIA เช่นกันที่บอกว่า ในขณะที่เราผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกแต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซฯสูงเป็นอันดับ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 21 ของโลกเลยที่เดียว ปตท จะปล้นเงียบ ได้อย่างไร ในเมื่อจากข้อมูลของ สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ […]


  • หยุด ปตทปล้นประเทศไทย หยุดเพื่ออะไรในเมื่อทุกคนล้วนเป็นเจ้าของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

    หยุด ปตทปล้นประเทศไทย หยุดเพื่ออะไรในเมื่อทุกคนล้วนเป็นเจ้าของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

    คุณทราบหรือไม่ว่าประชาชนคนไทยทุกคนล้วนเป็นเจ้าของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารจัดการผ่านการให้สัมปทาน ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิบัติสากลและอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และแน่นอนว่าคนไทยทุกคนก็ย่อมมีสิทธิรับรู้และเข้าถึงข้อมูลด้านพลังงานอย่าง “ครบถ้วน” และ “ถูกต้อง” ซึ่งปัจจุบันภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปรับรู้และนำไปใช้ได้ผ่านช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี คนไทยควรจะรู้และเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้พลังงาน ทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงและได้ใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และเสมอภาค และคนไทยทุกคนก็มีหน้าที่ในการรู้จักและเลือกใช้พลังงานชนิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพตามสมควรและอนุรักษ์พลังงานเพื่ออนุชนรุ่นหลัง และพร้อมยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานชนิดต่างๆ ด้วย อย่าปล่อยให้พลังงานของเราหมดไปเพียงเพราะการใช้อย่างฟุ่มเฟือย ใช้อย่างเข้าใจผิดว่าเรามีพลังงานเหลือเฟือ ราคาถูก เนื่องจากพลังงานไทยไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นของพวกเราคนไทยทุกคนทั้งในวันนี้และวันหน้านั่นเอง ถึงอย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายกลุ่มต่างพากันโจมตี ปตท เพราะเนื่องจากเกิดจากความเข้าใจผิดในเรื่องของราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ บ้างก็ว่าปตท โก่งราคาน้ำมัน ปตท ขี้โกง ปตท ปล้นเงียบบ้างและอีกหลายๆ ประเด็น แต่เมื่อเราทราบสิทธิและหน้าที่ในการใช้พลังงานของตัวเราเองแล้ว เราจะหยุด ปตทปล้นประเทศไทยเพื่ออะไร หยุดทำไม เพราะในเมื่อทุกคนก็ต่างเป็นเจ้าของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในประเทศกันทั้งนั้น และที่สำคัญ ปตท ก็มิได้ปล้นประเทศไทยเลยสักนิด เพราะรัฐบาลเป็นผู้บริหารจัดการผ่านการให้สัมปทาน ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิบัติสากลและอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และแน่นอนว่าคนไทยทุกคนก็ย่อมมีสิทธิรับรู้และเข้าถึงข้อมูลด้านพลังงานอย่าง “ครบถ้วน” และ “ถูกต้อง” Share This:


  • ปตท. ชี้แจงข้อเท็จจริงความมั่นคงด้านพลังงาน(น้ำมัน, NGV, LPG)

    ปตท. ชี้แจงข้อเท็จจริงความมั่นคงด้านพลังงาน(น้ำมัน, NGV, LPG)

    1. ประเทศไทยมีกำลังการกลั่นน้ำมันเกินความต้องการจริงและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินเพื่อ สร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางวันละ 800,000 บาร์เรล มาเป็นวัตถุดิบในการกลั่น และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพียงประมาณวันละ 200,000 บาร์เรล ดังนั้นเรานำเข้าสุทธิประมาณวันละ 600,000 บาร์เรลเพื่อใช้ในประเทศ ผลที่ตามมาคือ – ราคาน้ำมันในประเทศจำเป็นต้องอิงราคาตลาดโลก เพราะต้นทุนเราซื้อน้ำมันดิบในราคาตลาดโลก – เราควรต้องประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อลดภาระการนำเข้าและสูญเสียเงินออกนอกประเทศ ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราใช้พลังงานต่อประชากรในเกณฑ์สูง – มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซฯ สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล จึงสามารถขายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ถูกกว่าไทย – สิงคโปร์นำเข้าน้ำมันดิบเช่นกัน และนำมากลั่นเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในประเทศจะมีราคาแพงกว่าไทยเพราะเก็บภาษีสูง เพื่อให้เกิดการประหยัด 2. ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยจะถูกปรับเพื่อให้สะท้อนราคาต้นทุนน้ำมันดิบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน โดยผู้ขายน้ำมันรับซื้อจากโรงกลั่นและปรับราคาเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ถูกกระทบจากราคาที่ผันผวนจนเกินไป – ธุรกิจการกลั่นและธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมีการแข่งขันเสรี มีผู้ประกอบการนอกเหนือจาก ปตท. คือ บริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ที่ใหญ่กว่า ปตท. หลายสิบเท่า – ทั้งสองธุรกิจมีวัฏจักรขึ้นลงตามสภาพตลาด และจะมีผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉลี่ยไม่สูง ทำให้บริษัทข้ามชาติขาดความสนใจที่จะลงทุน และเริ่มทยอยขายกิจการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น Shell ขายโรงกลั่นระยอง บริษัท BP, Q8 และ […]


  • ทวงคืน ปตททำไม? ทวงคืนจากใคร?

    ทวงคืน ปตททำไม? ทวงคืนจากใคร?

    จากหัวข้อที่ตั้ง คือมีข้อสงสัยในจุดยืนของคนที่อยากจะทวงคืน ปตท ว่า คุณจะทวงคืนมาจากใคร? ก็ในเมื่อตอนนี้กระทรวงการคลัง (รัฐบาล) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด? แล้วถ้าสมมติว่าทวงคืนได้สำเร็จเสร็จทุกกระบวนการ ปตทจะตกไปอยู่ที่ใคร? เป็นส่วนกลางให้ประชาชนบริหารกันเองเหรอ? ที่บอกว่าทวงคืน ปตท นี่คือทวงคืน ปตท จากรัฐหรือว่าทวงคืน ปตท จาก ปตท? ที่ถามว่า ทำไมถึงต้องทวงคืนจากรัฐล่ะ ก็ตารางรายชื่อผู้ถือหุ้นก็มีแสดงอยู่ให้เห็นอยู่โต้งๆ ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 51% แล้วถ้าจะบอกว่า ปตทนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันแพง เรามาดูตารางโครงสร้างราคาน้ำมัน จาก http://www.iwebgas.com/oil/oil.html กัน ว่าที่แพง แพงเพราะอะไรบ้าง   จากรูปตารางโครงสร้างน้ำมัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 56 จะเห็นได้ว่ามีการบวกเพิ่มเยอะแยะมาก และในกรอบสีแดงนั้น คือที่รัฐบาลบวกเพิ่มทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาษีเทศบาล VAT ราคาหน้าโรงกลั่นจริงๆ แค่ 17-25 บาท (เชื้อเพลิงที่ผลิตได้) หลายคนสงสัยอีกแหละ อ้าว! แล้วไอ้ราคาหน้าโรงกลั่นเนี่ยมาจากไหน ในเมื่อน้ำมันก็ขุดขึ้นมาจากในอ่าวไทย หรือในหลายๆแหล่งของประเทศไทย […]


  • ปตท. ตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ กับ การโดนตราหน้าว่าเป็นทุนสามานย์ของคนบางกลุ่ม??

    ปตท. ตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ กับ การโดนตราหน้าว่าเป็นทุนสามานย์ของคนบางกลุ่ม??

    ปตท. กับคำว่าเหลี่ยมทุน ทุนสามานย์ เป็นประโยคที่คุ้นตา คุ้นหูมากในยุคหลังจากการปล้นชาติ แปรรูป ปตท. ถึงอย่างนั้นแล้ว ยังไงอยากรบกวนอ่านกระทู้นี้ให้จบ และ ให้มองโดยอย่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล อยากให้คุณผู้อ่าน “เปิดใจ” ไม่ใช่ “ปักใจ” เชื่อแต่ข้อมูลในทางลบ จากอดีต…การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2521 เพื่อเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยเป็นการรวมกันขององค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำมันทั่วโลก และเมื่อเกิดวิกฤตอีกครั้งในปี 2533 อิรักบุกยึดคูเวต เกิดการกักตุนน้ำมันทำให้ขาดแคลน รัฐบาลตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาก ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานและแหล่งในการจัดการ ทำให้ต้องมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกิจการน้ำมันมากขึ้น จนทำให้เกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่หลายราย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องทำหน้าที่เป็น “ผู้คานอำนาจ” พร้อมกับมีความจำเป็นต้องพลิกบทบาทของตนเองไปกับการแข่งขันในเชิงธุรกิจไปด้วย ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นของการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ต้องสร้างบรรยากาศในการแข่งขัน และเป็นจุดเริ่มต้นที่เสริมสร้างศักยภาพให้กับ ปตท. มาตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มักจะเป็นการผูกขาด ปตท.ต้องอยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของบริษัทน้ำมันต่างชาติที่ยึดครองประเทศอยู่ ทั้งที่ตนเองมีขนาดเล็กจิ๋วมีทรัพย์สินเพียง 400 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับบทบาทเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แล้วกระบวนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็ถูกจุดชนวนขึ้น ณ ตรงนั้น การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ต้องขวนขวายหาเงินไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ในภาวะเงินหน้าตักมีข้อจำกัด ซึ่งเป็นการเดิมพันที่สำคัญต่ออนาคตความมั่นคงทางพลังงานของชาติที่มีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่อยู่ในสภาพได้เปรียบพร้อมยึดธุรกิจนี้ของประเทศเรา จากวิกฤตครั้งนั้น การลอยตัวค่าเงินบาททำให้หนี้สินต่อทุนของบริษัทพุ่งเป็น 5 ต่อ 1 ทำให้ยากที่จะกู้เงินเพิ่มและภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปตท.ต้องเลือกวิธีการที่ยืนบนลำแข้งของตนเองด้วยการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กู้สถานการณ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว หรือขอเงินงบประมาณสนับสนุน  กู้เงินให้รัฐค้ำประกัน […]


  • ปตท โจรหรือนักบุญอ้างขาดทุนแต่จ่ายโบนัสถล่มทลาย

    ปตท โจรหรือนักบุญอ้างขาดทุนแต่จ่ายโบนัสถล่มทลาย

    บริษัทน้ำมันระดับโลกจ่ายโบนัสกันอย่างไร?? ในการจ่ายค่าตอบแทนนั้นกฎหมายของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกัน กฎหมายในการจัดตั้งกรรมการบริษัทมหาชนก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งกรรมการบริษัทมหาชนของไทยกับประเทศนอร์เวย์มีความแตกต่างกัน รวมทั้งโครงสร้างเงินเดือน และสวัสดิการก็แตกต่างกันอย่างมาก ประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีเงินเดือนและเงินบำนาญสูงสุดแห่งหนึ่งในโลก เช่น CEO ของ StatoilHydro ได้รับผลตอบแทนรวมสุทธิ 50 ล้านบาท/ปี และเบี้ยบำนาญอีก  24 ล้านบาท/ปี (ปี 2551) นอกจากนี้คณะกรรมการของ StatoilHydro ส่วนใหญ่ก็มาจากผู้บริหารที่เกษียณอายุซึ่งมีเงินบำนาญมาก รวมทั้งต้องมีผู้แทนพนักงานตามกฎหมาย 3 คน เป็นกรรมการทำให้การกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนแตกต่างจากบริษัทพลังงานของประเทศอื่นๆ ดังนั้นการเปรียบเทียบจึงต้องคำนึงถึงโครงสร้างกฎหมาย สภาพแวดล้อม และควรเปรียบเทียบในทุกระดับ แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า บริษัทน้ำมันระดับโลกเขาก็จ่ายค่าตอบแทนแบบนี้กันทั้งนั้นไม่ใช่หรือ? การจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการของบริษัทมหาชนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ตามกฎหมาย บริษัทมหาชนส่วนใหญ่ ทั้งบริษัทเอกชนและบริษัทพลังงานแห่งชาติของประเทศต่างๆ ก็มีการให้ค่าตอบแทนกรรมการคล้ายคลึงกับ บมจ.ปตท. การให้ค่าตอบแทนกรรมการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กรรมการบริษัทรับผิดชอบผลักดันผลประกอบการให้ดีขึ้น จึงทำให้หลายๆ คน มองว่าปตท โจรหรือนักบุญ ทำไมถึงต้องจ่ายโบนัสให้กรรมการแบบถล่มทลาย ทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันยังแพงขึ้นทุกวันเป็นเพราะเหตุนี้รึเปล่าจึงทำให้ราคาน้ำแพง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าซึ่งหากบริษัทขาดทุนกรรมก็ไม่ได้รับโบนัส สำหรับ ปตท. ในส่วนโบนัสก็มีเพดาน 2 ล้านบาทต่อคนต่อปี […]


  • ใครว่าปตทขูดรีดคนไทย แล้วใครควรรับภาระตลาดโลก?

    ใครว่าปตทขูดรีดคนไทย แล้วใครควรรับภาระตลาดโลก?

    ข่าวต่างๆนานาที่ออกสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่พาดพิงถึงเรื่องปตทขูดรีดคนไทยนั้น มีกระแสข่าวที่ค่อนข้างรุนแรงและเป็นแง่ลบของ ปตท เสียส่วนมาก ทั้งในเรื่องปตท โก่งราคาน้ำมัน บางคนกล่าวไว้ว่า ปตท คือ ปล้นตลอดทางด้วยซ้ำ และผู้คนส่วนมากเลือกที่จะเสพข่าวในแง่ลบมากกว่า การนำบทความของ ปตท มาบอกกล่าวในวันนี้ ไม่ได้อยากจะสวนกระแสหรืออะไร แค่อยากให้ลองเปิดใจ ทำใจเป็นกลางและลองอ่านดู ว่าจริงๆแล้ว ปตทขูดรีดคนไทยจริงๆหรือเปล่า จริงอยู่ที่ก๊าซฯ ธรรมชาติที่ใช้ในโรงแยกก๊าซฯ นั้นได้มาจากอ่าวไทย แต่ก็ต้องยอมรับกันด้วยว่าคงจะไม่มีใครตัดสินใจสร้างโรงแยกก๊าซฯ หากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะถูกควบคุมราคาขาย ให้ต่ำกว่าต้นทุน เพราะจากศึกษาของกระทรวงพลังงานที่ได้ให้บริษัท Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำมาศึกษาต้นทุนของ LPG พบว่าประมาณการต้นทุนราคา LPG ปี 2553 อยู่ที่ 450 เหรียญ/ตัน ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำหน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญฯ/ตัน มาเป็นเวลานาน ทำให้ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ LPG ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ไม่ว่าผลิตจากโรงกลั่นหรือจากโรงแยกก๊าซฯ โดยผู้ผลิตต้องเป็นผู้แบกรับภาระดังกล่าว ต่างกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นกิจการที่มีการแข่งขันอย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเจรจาต่อรอง และกำหนดราคาซื้อขายวัตถุดิบ LPG ระหว่างกันได้โดยไม่มีการควบคุม อุดหนุนหรือแทรกแซงราคาจากภาครัฐ […]


  • LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่..แล้วทำไมต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

    LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่..แล้วทำไมต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

    ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลน LPG!!!! สาเหตุจากปริมาณการใช้ LPG ของภาคครัวเรือน ภาคขนส่งภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการควบคุมราคา LPG ไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกและต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเป็นระยะเวลานานมากว่า 30 ปี เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันจำนวนนับหลายแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็ยังตั้งประเด็นสงสัยในเรื่องของLPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อประโยชน์ได้มากกว่าการนำก๊าซธรรมชาติที่มีคุณค่าไปเผาเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ราคาจำหน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมีเป็นไปตาม กลไกตลาด ไม่เคยได้รับการอุดหนุนหรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต หลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อนั้นได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. ตั้งแต่ 2544 รวมทั้งประกาศดังกล่าวได้แนบไว้ในหนังสือชี้ชวนขายหุ้นสามัญ ปตท เพื่อให้นักลงทุนทราบ ดังนั้นไม่มีการรวบรัดจัดทำคู่มือการคำนวณดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง โดยคู่มือเป็นเพียงการระบุให้ลดผลตอบแทนการลงทุนจาก 16% เป็น 12.5% ตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ค่าผ่านท่อใหม่ปรับลดลงเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งคู่มือมีการเผยแพร่ใน Website เช่นกัน ไม่มีการปิดบังแต่ประการใด ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) นับเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขมานานของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ในปี 2534 รัฐบาลสมัยคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ประกาศยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันทุกชนิดให้ลอยตัวตามตลาดโลก […]