Articles Posted in the " ข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมัน " Category

  • ราคาน้ำมันขึ้น ลงใครกำหนด

        มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ออกมาอยู่เนืองๆ ในกรณีที่ผู้บริโภคบางกลุ่ม มองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และ ปตท. เป็นต้นเหตุของราคา เพราะปตท. เป็นผู้กำหนดราคาขายน้ำมันในประเทศ ตรงนี้จะขอนำส่วนหนึ่งของคำแถลงที่ทาง ผู้บริหารของ ปตท. ได้ตั้งโต๊ะแถลง หลังจากมีประเด็นร้อนว่อนในโลกโซเชียลในด้านลบกับ บริษัท ปตท. ทั้งในเรื่องการกำหนดราคาน้ำมันที่เอาเปรียบประชาชน จนได้กำไรสูงเป็นแสนล้านบาท พร้อมชักชวนบอยคอตเติมน้ำมันที่ปั๊มของ ปตท.     “นายเทวินทร์ กล่าวว่า ปี 2560 ราคาน้ำมันทั้งปีเฉลี่ยเป็นขาขึ้น โดย ปตท. มีการปรับขึ้น 21 ครั้ง ปรับลง 21 ครั้ง แต่ราคาหน้าปั๊มขายต่ำกว่าต่างชาติ 20 วัน ไม่เคยขายแพงกว่ารายอื่นเลย แม้แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 6 เม.ย. – 28 พ.ค. 2561 ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 6 ครั้ง ปรับลง 1 ครั้ง โดยไม่เคยมีช่วงเวลาที่ขายแพงกว่าเจ้าอื่น แต่มีช่วง 9 […]


  • ไทยส่งออกน้ำมันมากกว่าข้าว? แต่ความจริงแล้ว นำเข้า น้ำมัน พลังงานฯ….

    กับคำกล่าวที่ว่า “คนไทยทราบหรือไม่ เราส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่ามากกว่าข้าว” เห็นพาดหัวแล้วน่าจะตกใจ!!ว่า “ เราส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าข้าวอีก” แต่ ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทย เป็นประเทศที่ต้องนำเข้า น้ำมัน พลังงานสุทธิ… เราไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยพลังงาน เราต้องนำเข้าทั้ง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ไฟฟ้า เรามีทางเลือกไม่มากนัก พลังงานสีเขียว อาจเป็นพลังงานทางเลือกที่ต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนาเป็นพลังงานหลักได้     ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ดุลการค้า โดยมูลค่าการส่งออกสินค้ามากกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า อยู่ประมาณ 3.2 แสนล้านบาท แต่เราขาดดุลพลังงาน ต้องจ่ายเงินออกไปสุทธิกว่า 7.5 แสนล้านบาท ยังดีที่อยู่ในช่วงราคาน้ำมันดิบตกต่ำ (ปีที่ผ่านมาขาดดุล 1.18 ล้านล้านบาท) หมายความว่า เงินทองที่หามาได้ต้องใช้จ่ายไปเพื่อนำพลังงานกลับเข้ามาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่ง (ใช้พลังงานรวมกันประมาณร้อยละ 70) ที่มา: รู้ให้จริง..ไม่บิดเบือน     ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานปีละกว่า 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 15 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แม้พลังงานส่วนหนึ่งที่เราสามารถผลิตได้เอง(ปิโตรเลียม) จะช่วยลดการนำเข้า น้ำมันไปแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท แต่เรายังต้องสูญเสียเงินออกไปเพื่อนำพลังงานกลับเข้ามาขับเคลื่อนประเทศ […]


  • พลังงานทดแทน ไบโอดีเซลปรับสัดส่วนใหม่ กับราคาที่ถูกลง

        คนที่ติดตามข่าวด้านพลังงาน คงจะได้ทราบข่าวกันแล้วกับกรณีการปรับลดราคา “ดีเซล” เนื่องจากการปรับสูตรไบโอดีเซล จาก B5 (ไบโอดีเซล 5%) เป็น B3 (ไบโอดีเซล3%) ในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนนหน้านั้นก็มีการปรับสูตรจาก B7 เป็น B5 แล้วครั้งหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน …     “กรมธุรกิจพลังงานปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลจากบี5 เป็นบี 3     นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้เปิดเผยว่ากรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกประกาศปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลจากน้ำมันบี5 เป็นน้ำมันบี3 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป โดยก่อนหน้านี้กรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกประกาศปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลจากน้ำมันบี 7 เป็นน้ำมันบี 5 บังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์ราคาผลปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มดิบยังไม่คลี่คลาย โดยยังทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูง กระทรวงพลังงานจึงได้สั่งการให้กรมธุรกิจพลังงานปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลลงจากบี 5 เป็นบี 3 เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพราคาและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค โดยประกาศฉบับดังกล่าวได้มีการปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลขั้นต่ำ จากปัจจุบันไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 5.0 […]


  • เหตุผลของการปรับราคาน้ำมันที่ถี่ในช่วงนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา

        ช่วงนี้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยปรับขึ้นๆ ลงๆ ถี่ๆ ติดกัน อาจทำให้คนใช้รถที่ต้องเติมน้ำมันรู้สึกว่า เหตุใดจึงต้องมีการปรับราคาน้ำมันถี่อะไรขนาดนั้น     จากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หาได้จากทาง สนพ. และ ปตท. จากภาพจะเห็นได้ว่า “ราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกของไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดสิงคโปร์(MOPs)” อีกหนึ่งปัจจัยหลักของการปรับราคาน้ำมัน     อีกปัจจัยสำคัญคือ ค่าการตลาดของผู้ขายน้ำมัน จะมีปรับราคาน้ำมันเช่นกัน โดยผู้ค้าน้ำมันทุกเจ้าในตลาด ย้ำว่าทุกเจ้าในตลาด ต้องมีต้นทุนที่ปรับตัวตามต้นทุนที่ซื้อมาขายต่อ โดยถามว่า หากไม่ปรับตัวตามจะส่งผลอย่างไรบ้าง อย่าลืมว่า ค่าการตลาดนั้น เป็นรายได้ของผู้ค้าก็จริง แต่ทั้งนี้ในนั้นประกอบไปด้วย รายจ่ายต่างๆ เช่น ค่าพนักงานเติมน้ำมัน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบำรุงระบบสาธารณูปโภค หากของไทยไม่ปรับตัว ผู้ขายจะอยู่ได้อย่างไร     ในต่างประเทศ ค่าการตลาด (Marketing Margin, Distribution margin, distribution costs, marketing costs, and profits.. etc แล้วแต่จะเรียก) เป็นรายได้ของทางปั๊มที่เป็นค่าจิปาถะต่างๆ เพื่อให้ปั๊มสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้     และที่สำคัญ ต่างประเทศเกือบแทบทุกปั๊ม เป็นแบบ Self Service […]


  • การปรับขึ้นราคาน้ำมัน เพราะ ปตท. จริงหรือ?

        จากสถานการณ์การปรับขึ้นราคาน้ำมันในประเทศที่มีการปรับขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ (ส.ค.59) ทำให้ ปตท. ตกเป็นเป้าโจมตีของคนในโซเชียลบางกลุ่ม (อีกครั้ง) โดยมองว่า ปตท. มีส่วนสำคัญในการตั้งและปรับขึ้นราคาน้ำมันในประเทศ และการปรับราคาพลังงานทำให้ ปตท. มีกำไรสูงขึ้น เป็นการขูดรีดประชาชน โครงสร้างราคาน้ำมันแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีต่างๆ กองทุนน้ำมัน ค่าการตลาด โครงสร้างการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ได้แก่     ราคาหน้าโรงกลั่น เป็นราคาที่อ้างอิงจากตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ใกล้ที่สุด (ต้องคิดค่าขนส่งตามระยะจากตลาดกลางนั้นมาที่ประเทศ หากอ้างอิงตลาดที่อยู่ไกล ย่อมเสียค่าขนส่งมาก) ซึ่งในที่นี้คือตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ เมื่อสิงคโปร์มีการปรับราคา ประเทศไทยก็จะมีการอ้างอิงและปรับตามไม่เกิน 3 วันทำการ ดังนั้นราคาหน้าโรงกลั่นจึงเป็นราคาอ้างอิงที่ไม่สามารถกำหนดเองได้     ภาษีต่างๆ ในส่วนของภาษีนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดและดูแล จะเห็นว่าประเทศไทยเสียภาษีน้ำมันค่อนข้างสูง เนื่องจากประเทศไทยจัดประเภทของน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ดังนั้นภาษีจึงเป็นนโยบายของรัฐ และปตท. ไม่มีสิทธิ์กำหนด     กองทุนน้ำมัน เป็นหน้าที่ของ กบง. ในการกำหนดควบคุมการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน โดยจะเห็นว่าปัจจุบัน ราคาน้ำมันบางชนิด ยังมีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันอยู่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ เช่นน้ำมันตระกูลเอทานอล E20 และ E85 นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันยังมีหน้าที่คอยเป็นกันชนยามที่ราคาน้ำมันเกิดการผันผวน […]


  • ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าราคาน้ำมันประเทศลาว!!?

        ดราม่าตามประสาคนขี้บิดเบือนในแวดวงเรื่องพลังงาน ที่สะกิดต่อมขี้อิจฉาของคนไทยให้สั่นระริก ด้วยราคาน้ำมันแสนถูกจากเพื่อนบ้าน ถึงขนาดคนไทยหัวร้อนที่ไม่เช็คข้อมูลก่อนออกมาโววาย ฟาดงวงฟาดงาว่าทำไมประเทศไทยจึงมีราคาน้ำมันแพง จะโกงชาติกันเกินไปแล้ว ขนาดประเทศที่เรามโนว่าล้าหลังกว่าเรารอบๆ ข้างเขายังได้รัฐบาลใจดีช่วยให้ราคาถูกได้เลย     ทั้งราคาพม่า ราคามาเลเซีย ถูกหยิบมาเล่าแล้วเล่าอีก ประหนึ่งกลัวคนไทยไม่จะหูตาสว่าง พอโดนเสี้ยมบ่อยๆ เข้า ก็เป่าลมปดใส่หูว่า ไม่ใช่แค่นี้นะ แต่ไทยมีราคาน้ำมันแพงที่สุดในอาเซียนเลยนะจ้ะ พลันโพสต์ภาพที่อ้างอิงจากแหล่งข่าวว่า นี่เดี๊ยนไปถ่ายมาจากสถานที่จริงเลยนะตัวเธอดังภาพ…     …พร้อมอวดอ้างสรรพคุณว่านี่คือราคาน้ำมันประเทศลาว บ้างก็ว่านี่คือราคาน้ำมันเขมร ซึ่งไม่ทันจะได้ไปดูสถานที่จริง คนไทยลูกดราม่าก็พุ่งเป้าโจมตีทั้งรัฐบาล โจมตีทั้ง ปตท. ว่าน้ำมันใต้ดินมันของฉัน ทำไมฉันต้องใช้แพงด้วย แล้วทำไมพวกนี้มีสิทธิ์อะไร ถึงได้ใช้ถูกกว่าฉัน โดยไม่ได้เหลือบดูโลโก้ตัวเท่าบ้าน ป้ายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากหัวจ่าย แหม… อยากจะเอาน้ำแข็งไปแปะหัวร้อนๆ แล้วบอกว่าแหกตาดูซะนั่นมันแสดงว่าเสียภาษีให้ไทย แปลว่าป้ายไทย เพราะฉะนั้นแปลว่าราคาน้ำมันอันนี้มันอยู่ในประเทศไทยครับ ไม่ใช่ราคาน้ำมันประเทศลาว หรือประเทศเขมรแต่อย่างใด และที่ราคาแตกต่างจากราคาจริง เพราะมุมกล้องที่ทำให้เห็นเลขเป็นแค่เลข 1 ไงครับ แต่กว่าที่จะได้แก้ตัว ก็พอเพียงให้เรื่องราวเหล่านี้ กลายเป็นคำร่ำลือ ให้คนที่ไม่มีความรู้เชื่อไปตามๆ กัน ว่าประเทศไทยที่แสนเจริญนั้น ต้องใช้ราคาน้ำมันแสนแพง แพงกว่าชาวบ้านเขาอีก   เปรียบเทียบราคาน้ำมันไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน     ตัดกลับมาที่สถานการณ์จริง เราใช้น้ำมันแพงกว่าพม่า กว่ามาเลเซียจริง […]


  • หยุดสัมปทาน เปิดทางบรรษัทพลังงานแห่งชาติ

        เป็นเรื่องวุ่นวายอยู่ในแวดวงพลังงานหลังจาก ที่มีกลุ่ม คปพ. ออกมาคัดค้าน พรบ. ปิโตรเลียม และ พรบ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญคงไม่พ้นการเปลี่ยนระบบจากสัมปทานมาเป็นระบบจ้างผลิต และเปิดทางให้กับบรรษัทพลังงานแห่งชาติเข้ามามีบทบาทใหญ่ ซึ่งไม่รู้ว่าการพยายามหยุดสัมปทานในครั้งนี้ จะเกิดผลเสียอย่างไรในอนาคตบ้าง     สาระสำคัญที่จะพูดถึงเรื่องการหยุดสัมปทานในครั้งนี้คงหนีไม่พ้น “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” ซึ่งเป็นความพยายามของกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นภาคประชาชน เพื่อเข้ามามีตำแหน่งและบทบาทในการตัดสินใจเรื่องปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศ และหากจะถามว่าบรรษัทพลังงานแห่งชาติมีผลดีผลเสียอย่างไร ขอหยิบยกตัวอย่างกระทู้หนึ่งใน pantip ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องราวของการหยุดสัมปทานบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ได้น่าสนใจ โดยมีสาระสำคัญดังนี้ หยุดสัมปทาน | บรรษัทพลังงานแห่งชาติ มันจำเป็นสำหรับประเทศเรามากไหมครับ?     “จะว่าไปแล้ววงการพลังงานนี่ก็มีเรื่องสนุกๆ ให้เราได้ติดตามกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนกันนะ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทวงคืนน้ำมัน ทวงคืน ปตท. ทวงคืนท่อก๊าซ ทวงกันจนเป็นมหากาพย์ยาวเรื่องยาว ลามมายันเรื่องระบบสำรวจและผลิต จนกระทั่งล่าสุดก็ได้มีการเสนอให้จัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้น     อ่าวๆ แล้วเจ้าบรรษัทพลังงานแห่งชาตินี้มันคืออะไร และมีไว้ทำไม     จากตามข้อเสนอของกลุ่มคนที่บอกว่ามาจากภาคประชาชนเค้าเสนอให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company)  โดยกำหนดคาแรกเตอร์  ให้มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้สิทธิ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างเบ็ดเสร็จและครบวงจร คณะกรรมาธิการได้เสนอให้มีการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม ในการดำเนินการบริหารจัดการปิโตรเลียมและการบังคับบริษัทเอกชนในฐานะคู่สัญญา       นอกจากนั้นยังกำหนดให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีสภาพนิติบุคคลและมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ […]


  • ภาษีน้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันไทย แพ๊ง แพง!!!

         ประเทศไทย คือประเทศที่เขาว่ากันว่าน้ำมันแพ๊งแพง แพงกว่าเขาไปทั่วหล้า แพงกว่าพม่ารามัญ แพงกว่าดินแดนแถบมะละกาที่ชื่อมาเลเซีย แต่ไม่ได้แพงกว่าประเทศติดกันอย่างลาว (ไม่นานมานี้เพิ่งได้ดูยูทูปคนลาวบ่นราคาน้ำมันบ้านตัวเองโดยเทียบกับน้ำมันไทย) ถามว่าราคาน้ำมันแพงกว่าชาวบ้าน เรียกได้ว่าปล้นคนไทย ปล้นประเทศไทยจริงไหม? …มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ในเมื่อประเทศไทยอ้างอิงราคาจากตลาด (ทั้งนี้ภาษีน้ำมัน ราคาน้ำมันจะมีแตกต่างกันบ้างเนื่องจากคุณภาพน้ำมันที่ไม่เท่ากัน)      โครงสร้างราคาน้ำมัน คือคำตอบว่าทำไมราคาน้ำมันที่อ้างอิงจากแหล่งราคาที่เดียวกัน ถึงมีราคาแตกต่างกัน  โดยโครงสร้างราคา ประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีน้ำมัน กองทุน และค่าการตลาด ซึ่งในส่วนของราคาหน้าโรงกลั่นคือราคาที่อ้างอิงมาจากตลาด ค่าการตลาดคือกำไรที่แบ่งกันระหว่างเจ้าของแบรนด์กับเจ้าของปั๊ม (ตัวเลขค่าการตลาดนี้สถาบันปิโตรเลียมได้คำนวณตัวเลขที่เหมาะสมประมาณ 1.7-2.0 บาท (ถือว่าน้อยมาก)) ดังนั้นหลักๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของราคาน่าจะอยู่ที่ ภาษีต่างๆ และกองทุนน้ำมัน โดยกองทุนน้ำมัน เป็นสิ่งที่เราพูดกันบ่อย เหตุผลหลักที่ต้องมีเหมือนการทำประกันราคา ยามราคาน้ำมันผันผวน (ส่วนนี้จะขอข้ามไปเนื่องจากมีการอธิบายแล้วในบทความก่อนๆ) จึงเหลืออีกหนึ่งเหตุผลที่จะพูดกันคือเรื่องของภาษีน้ำมัน      ประเทศไทย จัดให้น้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ประชาชนบางกลุ่มเกิดคำถามว่า ในเมื่อน้ำมันเป็นสินค้าจำเป็น ที่เกือบทุกคนต้องใช้ ทำไมจึงจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีการเก็บภาษีน้ำมันในราคาแพง เรื่องนี้ประชาชนต้องทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าสินค้าไหนมีการใช้เยอะหรือมีความจำเป็น แล้วจะต้องเป็นสินค้าที่มีภาษีต่ำ รัฐบาลจำเป็นต้องดูเหตุผลอื่นๆ ในการประกอบ เหตุผลที่รัฐบาลจำเป็นต้องเก็บภาษีน้ำมันแพง น้ำมันเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้า ยิ่งนำเข้ามากเท่าไหร่ การเสียดุลทางการค้ายิ่งมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเก็บภาษีน้ำมันราคาสูงเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและช่วยกันประหยัดทรัพยากร […]


  • น้ำมันไทยมีน้อย แต่ต้องส่งออกน้ำมัน!!!

        คำตอบคือ “จริง” …ประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้เพียง 15% จากปริมาณการใช้ในประเทศ แต่ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องมีการส่งออก น้ำมัน ทั้งรูปแบบน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งกรณีดังกล่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่ม ถึงขนาดมีบางคนคิดว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก หรือไม่ก็มีการคอรัปชั่นในวงการพลังงาน Share This:


  • ทำไมประเทศไทยต้องเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน

        “น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ภายในประเทศ นั้น มีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามอัตราที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานกำหนด ซึ่งปัจจุบันน้ำมันที่ต้องส่งเงินเข้า / ชดเชยจากกองทุนฯ คือ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา โดยอัตราส่งเงินเข้า/ชดเชยจากกองทุนฯ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเงินจำนวนนี้คือรายรับและรายจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง Share This: