Articles Posted in the " ข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมัน " Category

  • ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ขึ้นราคา LPG/ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตอนที่ 2     ประชาชนได้อะไรจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน?.. เป็นคำถามที่ประชาชนให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากประชาชนจะรู้สึกว่าการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เหมือนการขึ้นราคา LPG ซึ่งทำให้ประชาชนต้อง “จ่ายมาก” ขึ้น โดยลืมให้ความสำคัญว่าการปรับในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไร และประโยชน์นี้จะส่งผลถึงประชาชนอย่างไรบ้าง จึงจะขอนำเสนอประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ออกเป็นข้อย่อยให้พิจารณากัน ดังนี้  1. LPG มีเพียงพอใช้ในทุกภาคส่วน เนื่องจาก     – เดิมผู้ขาย LPG มีความต้องการขายให้ภาคปิโตรเคมีมากกว่า เนื่องจากราคาที่สูงกว่า เพราะในภาคส่วนอื่นๆ มีการกำหนดราคาที่ถูกกว่า จนภาคส่วนอื่นๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าซึ่งมีราคาสูงกว่า การปรับโครงสร้างราคาจึงเป็นการสร้างความเท่าเทียมในด้านราคา     – ผู้ขายไม่มีแรงจูงใจในการขาย LPG เนื่องจากราคาขายในประเทศค่อนข้างต่ำไม่คุ้มค่าในการผลิต การปรับโครงสร้างราคาใหม่จึงสร้างอุปทานให้เกิดความต้องการขยายการผลิตเพื่อขายในประเทศมากขึ้น     – ก่อนการปรับโครงสร้างราคา เมื่อเข้าสู่ AEC ผู้ขายจะมีความต้องการขายออกนอกประเทศมากกว่า เนื่องจากราคาขายในประเทศถูกกว่าส่งออกค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้า LPG อยู่ 15% หากมีการส่งออกมาก ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น การปรับโครงสร้างราคา LPG ให้ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน AEC จึงเป็นการลดอุปทานในการส่งออก 2. LPG […]


  • ราคาน้ำมันตลาดโลกลด เปิดมุมมองใหม่

    ราคาน้ำมันตลาดโลกลด เปิดมุมมองใหม่

    เหตุผลที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลดแต่ทำไมราคาน้ำมันไทยไม่ลด น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม จัดอยู่ในสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ “Commodity” หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ราคาน้ำมันตลาดโลกนั้นได้กำหนดให้น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม ด้วยความเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงมีการอ้างอิงราคาตลาดกลาง (ตลาดค้าที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนั้น) โดยมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่สำคัญในโลก 3 แห่ง ได้แก่ น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) และน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) ปัจจัยกำหนดราคา Oil Futures ราคา Oil Futures ปรับเปลี่ยนขึ้นลงทุกวัน ตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันดิบและปริมาณน้ำมันดิบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ ความต้องการใช้น้ำมันดิบ (Demand) อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก – การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้้ามันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอย กิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย – สภาพภูมิอากาศ ความต้องการน้ำมันดิบอาจเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ จะมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดูหนาว […]


  • ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง..ทำไมมาเลเซียราคาน้ำมันถูกกว่าบ้านเรา?

    พอดีไปอ่านเจอบทความดีๆ ในกระทู้ของพันทิป “ทำไมมาเลเซียราคาน้ำมันถูกกว่าบ้านเรา?” เลยนำเอามาแบ่งปันให้เพื่อนได้อ่านและทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับราคาน้ำมันเพื่อนบ้านและราคาน้ำมันบ้านเรา ที่มีข้อโต้แย้งกันมาโดยตลอดและไม่สามรถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจน แต่ถึงอย่างไรการที่เราจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เราก็ต้องมีข้อมูลที่แน่นพอเพื่อที่จะนำมาศึกษาข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่ฟังข้อมูลจากคนอื่นแล้วคิดเองเออเองโดยที่ไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย หวังว่าข้อมูลจากกระทู้นี้จะให้สาระที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่สนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ทำไม…??? ปิโตรนาสมีกำไรมากกว่า ปตท.กว่า 4 เท่า แต่คนมาเลเซียจ่ายค่าน้ำมัน ถูกกว่าคนไทยเกินครึ่ง ตามภาพนี้มันง่ายที่จะเชื้อชวนให้เชื่อนะครับว่ามันมีการทุจริตหรือเอารัด เอาเปรียบคนไทยอย่างมโหฬารในเรื่องของพลังงานในบ้านเรา เพราะหากไม่คิดอะไรลึกซึ้ง เอาแค่ว่าประเทศมาเลเซียรั้วติดกันกับเราทำไมราคาน้ำมันถึงได้ต่างกันราวฟ้ากับเหวขนาดนี้ ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงแถมบริษัทน้ำมันบ้านเขา -เปโตรนาส- ขายน้ำมันราคาถูกกว่าบริษัทน้ำมันบ้านเรา -ปตท- น่าแปลกใจว่าทำไมบริษัทน้ำมันบ้านเขาได้กำไรมากกว่าบริษัทน้ำมันบ้านเราร่วม 4 เท่าเลย ข้อแย้งที่ผมจะนำมาใช้ทั้งหมดในกระทู้นี้คงไม่อาจหักล้างความเชื่อของคนที่คิด (หรืออยากจะเชื่อ) สิ่งที่เจ้าของภาพอยากจะโน้มน้าวได้ทั้งหมด แต่ผมขอเอาข้อแย้งบางข้อ (ไม่ใช่เพื่อให้คุณเชื่อ หรือมาเพื่อถกเถียงกับผมเพื่อเอาชนะคะคานกัน เพราะคุณเถียงชนะผมไปก็ไม่ได้อะไร) เพียงเพื่อสะกิดหรือรั้งคุณให้คิดเอ็งให้เป็น ไม่ใช่เห็นอะไรก็เชื่อไปเสียทั้งหมด คุณลองดูข้อแย้งของผมเป็นแนวทางหรือไอเดีย หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของคุณไปขบคิดเอาเองครับว่าจะหาบทสรุปให้กับตัวเองในเรื่องนี้อย่างไร? ข้อแย้งของผม 1) ในภาพเอาราคาน้ำมันเบนซิน 95 ของไทย ซึ่งมีโครงสร้างราคา http://www.eppo.go.th/petro/price/pt-price-st-2013-12-04.xls ที่ถูกจัดเก็บภาษีและเงินกองทุนน้ำมันโดยรัฐบาล ไม่ใช่โดย ปตท ดังนั้นเงินส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับ ปตท สูงถึง 21.0215 บาท/ลิตร ซึ่งรายได้ที่เป็นของ ปตท […]


  • ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ราคาน้ำมันหน้าปั๊ม มีที่มาอย่างไร?

    ธุรกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยเป็นระบบการค้าเสรี ราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความผันผวนสูง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยทำไมคนไทยถึงใช้น้ำมันแพง สาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่ขยายตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะจาก จีน และอินเดีย ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ความกังวลในเรื่องปัญหาการเมืองและความวุ่นวายในประเทศผู้ผลิตน้ำมันกลุม่ โอเปก และส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันลว่ งหน้า ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกินราคาปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปัจจุบันควรจะอยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญ สหรัฐ/บาร์เรล (ราคา ณ เดือนพฤษภาคม 2551) ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปที่เราซื้อจากสถานีบริการ มีโครงสร้างของราคาประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) ค่าต้นทุนในการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่น หรือนำเข้าจากต่างประเทศ 2) เงินภาษีและกองทุนที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 3) ค่าการตลาด ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น ค่าจ้าง แรงงาน ค่าขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นผ่านคลังน้ำมันไปยังสถานีบริการนํ้ามัน ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ ค่าส่งเสริมการตลาด และค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ ค่าการตลาดที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจควรจะอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันดีเซลมีค่าการตลาดติดลบ […]


  • น้ำมันแพง หันมาใช้ถัง NGV ปลอดภัยหรือเปล่า

    ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ปัจจุบันมีการผลิตถังก๊าซ NGV อยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม  ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน  ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง  ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass) ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุด ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้ สำหรับถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม  หลายท่านอาจมีคำถามคาใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง […]