Articles Posted in the " สถานการณ์พลังงาน " Category

  • มติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย

    มติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย

    มติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย มักมีการกล่าวอ้างว่า “ปิโตรเคมีแย่งประชาชนใช้ก๊าซ” ในสังคมโซเชียล หรือบ้างก็ว่า LPG ในภาคปิโตรเคมี เป็นเหตุผลให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซอยู่ในปัจจุบัน และหากตัดธุรกิจในส่วนนี้ไป ก๊าซที่ผลิตได้นั้นเพียงพอต่อความต้องการใช้ก๊าซ ในประเทศ ทำความเข้าใจกันสักนิด ย้อนไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ปี 2525 – 2529 ได้กล่าวถึงแผนการพัฒนาชายฝั่งตะวันออกให้กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ โดยได้วางบทบาทพื้นที่มาบตาพุดเป็น “แหล่งอุตสาหกรรมหลัก” เช่น อุตสาหกรรมแยกก๊าซ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมโซดาแอชเป็นต้น นั้นหมายความว่า “ปิโตรเคมี” เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมถึงเป็นเหตุผลในการสร้างโรงแยกก๊าซอีกด้วย อ้างอิงไปถึง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ 3/2551 (ครั้งที่ 122) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ในข้อที่ 7 ว่าด้วย มาตรการด้านการค้า ในข้อที่ 7.1.1 “โดยหลักการจัดสรรการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศ จะถูกจัดสรรไปให้กับภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก และจัดสรรให้ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากปริมาณการผลิตก๊าซ […]


  • ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก? อ้างอิงตลาดสิงคโปร์

    ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก? อ้างอิงตลาดสิงคโปร์

    เคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก ? ในเมื่อประเทศไทยก็ส่งออกน้ำมันเป็นอันดับต้นๆของโลก ข้อมูล : อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินคำถามจากกลุ่มคนบางกลุ่มว่า “น้ำดิบโลกลด ทำไมราคาน้ำมัน (หน้าปั๊ม) ในไทยถึงไม่ลด” หรือ “ขุดน้ำมันในไทยทำไมจึงขายราคาตลาดโลก” ทั้งที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง ทำไมราคาในไทยจึงไม่ลดตาม อันนี้อยากจะทำความเข้าใจว่าก่อนที่จะตั้งคำถามใดๆ สิ่งสำคัญคือ “ความรู้พื้นฐาน” เพราะหากคุณตั้งคำถามโดยไม่มีความรู้พื้นฐานในด้านนั้นๆ คุณจะเข้าใจคำตอบได้อย่างไร เช่น ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลด (ซึ่งก็มักเทียบกับอเมริกา) ทำไมน้ำมันสุกไทยจึงไม่ลด ประเด็นนี้ตั้งแต่ต้นก็ไม่สามารถเทียบกันได้ตั้งแต่ต้น เพราะน้ำมันดิบเอาไปใช้เลยไม่ได้ ต้องเสียค่ากระบวนการกลั่นเสียก่อน และอีกเหตุผลหนึ่งคือประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันสุกสิงคโปร์ ไม่ใช่น้ำมันดิบตลาดโลก ถึงตรงนี้บางคนอาจจะตั้งคำถามต่อว่าแล้วทำไมต้องอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ เราจึงขออนุญาตหยิบยกข้อมูลจากเพจน้องปอสาม และข้อมูลจาก www.eppo.go.th ของกระทรวงพลังงานมาให้อ่านกัน “สำหรับศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ก็คือ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยที่ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งคำว่า “ราคาสิงคโปร์” นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ จึงเลือกที่จะอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดกลางฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคาก็สอดคล้องอย่างเป็นสากลกับตลาดซื้อขายน้ำมันอื่นๆ […]


  • NGV พลังงานทางเลือกที่สะอาดกว่า ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์

    ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ NGV เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีองค์ประกอบ คือ ก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบาสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ ได้ดีกว่าน้ำมันหรือก๊าซหุงต้ม (ก๊าซ LPG) เพราะเผาไหม้ได้สะอาดหมดจด ปลอดภัย ไม่มีการสะสมลุกไหม้บนพื้นราบและไร้มลภาวะ ก๊าซ NGV หรืออีกชื่อว่า ก๊าซธรรมชาติอัดความดัน (Compressed Natural Gas – CNG) ถูกอัดอยู่ภายใต้ความดันและเก็บในถังความดันทรงกระบอกที่ 3000-3600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว คุณสมบัติของก๊าซ NGV ทั่วไปมีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศปกติ มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ จึงมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ เมื่อรั่วไหลจะลอยขึ้นสู่ชั้นสูง กระจายไปในอากาศได้อย่างรวดเร็ว คุณลักษณะทางเคมีและกายภาพ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น (แต่แต่งกลิ่นเพื่อให้ทราบกรณีเกิดการรั่วไหล) ติดไฟได้ที่อัตราส่วนของการผสมกับอากาศเพียง 5-15% ของอากาศ มีจุดติดไฟสูงถึง 630 องศาเซลเซียส ดังนั้นยากที่จะลุกไหม้เองได้ การเก็บรักษาและการนำไปใช้ ปกติก๊าซนี้จะเก็บในถังความดันหรือเก็บอยู่ในท่อส่งและอยู่ภายใต้ความดันสูงเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่นในโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม การผลิตปุ๋ยเคมี การขนส่ง เป็นต้น การใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงยานยนต์จะเก็บเป็นก๊าซแห้ง (กำจัดน้ำออก) และใช้เผาผลาญเป็นพลังงานสำหรับยานยนต์ได้ทันที ดังนั้นถังเก็บก๊าซภายใต้ความดันสูงสำหรับยานพาหนะ […]