Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไปว่าพลังงานไทย พลังงานใครทำไมบ้านเราราคาน้ำมันถึงแพง ทำไมต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคนแม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภาเริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวมและเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้นปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท.ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท.ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550 เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมืองสว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย”ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหารปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงานโดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย […]


  • ความจริงมั่วยกแผง ปตท ทรราชน้ำมัน สะท้อนเจตนานักทวงคืน

    ความจริงมั่วยกแผง ปตท ทรราชน้ำมัน สะท้อนเจตนานักทวงคืน

    เครือข่ายนักทวงคืนรับลูกความมั่วกันยกแผง สะท้อนทั้งความรู้และเจตนาของคนจำพวกนี้ได้ดีมากทีเดียว EIA ทำรายงานวิเคราะห์ทรัพยากร Shale Gas/Oil ของประเทศต่างๆออกมา หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยมี “significant prospective shale gas and shale oil potential” นักทวงคืนไม่รู้ได้อ่านจบหรือเปล่าก็รีบไปปล่อยไก่ “ประเทศไทยเรามีทรัพยากรอร่ามอาบเอิบแล้วเจ้าข้าเอ๊ย ปตทมันปล้นชาติอีกแล้ว” เพจในเครือข่ายรวมถึงเพจหม่อมคนเก่งของเราก็รับลูกเอาไปขยายต่อว่าปตท ปล้นชาติกันเป็นเรื่องเป็นราว แอดมินอ่านแล้วก็ทั้งขำทั้งสมเพชทั้งสงสัย (อร่ามอาบเอิบ55555) สรุปว่าคนพวกนี้มีความรู้มากแค่ไหน หรือรู้แต่มีเจตนาบิดเบือนปลุกปั่นหลอกลวงสาวกของตัวเอง? ประการแรก ทรัพยากรปิโตรเลียมที่ EIA นำเสนอคือ Shale Gas/Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียมที่ถูกกักอยู่ในชั้นหินดินดาน จะแตกต่างไปจากก๊าซ-น้ำมันที่ผลิตกันอยู่ทุกวันนี้ซึ่งเรียกว่า Conventional Resource ประการที่สอง ถ้าได้อ่านในรายงานจริงๆจะพบว่า ข้อสรุปในรายงานเป็นการนำเสนอข้อมูลปริมาณปิโตรเลียมประเภทนี้ที่คาดว่าจะพบ (Prospective) โดยพิจารณาคาดการณ์จากข้อมูลทางธรณีวิทยาต่างๆ เช่น ความลึก ความหนา ลักษณะชั้นหิน ค่าความร้อน อายุของ และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากนั้นจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปเทียบเคียง (analogy) กับแหล่งทรัพยากรที่พบในพื้นที่อื่นและมีการผลิตแล้ว จากนั้นจึงสรุปเป็นตัวเลขออกมาว่าในแหล่งหนึ่งๆ “น่าจะ” พบ Shale […]


  • ปตท ทรราชน้ำมัน ทำความเข้าใจกันถูกต้องแล้วหรอ?

    ปตท ทรราชน้ำมัน ทำความเข้าใจกันถูกต้องแล้วหรอ?

    พอดีไปอ่านเจอบทความนึงน่าสนใจมากเพราะเขาได้พูดถึงเรื่องของการผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของ ปตท จากที่หลายๆ คนต่างตั้งข้อสังสัยเปี่ยวกับ ปตท หลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกำหนดราคา ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสิงคโปร์ทั้งๆ ที่บ้านเราก็มีโรงกลั่น แล้วทำไมราคาน้ำมันบ้านเราถึงแพง แล้วอยากจะถามว่าเราทราบข้อมูลกันดีแค่ไหนว่า ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราก็เพียงแค่อ่านข้อมูลจากสื่อต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ทราบถึงข้อมูลที่เท็จจริงกันสักเท่าไหร่ เพียงแต่เห็นเขาด่า ปตท กันเราก็เอามั้งแต่เราไม่เคยรู้ถึงข้อมูลที่มาอ้างอิงได้เลย บ้างก็ว่าปตท ปล้นประชาชน ปตท ทรราชน้ำมัน ปตท โก่งราคาน้ำมัน ไม่ใช่ว่าเราจะให้คุณมารัก ปตท แต่อย่างใด แต่เราแค่อยากให้คุณใช้เหตุและผลมาคุยกันอ้างอิงกันเพื่อทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าจะนำทุกอย่างมาเหมารวมกันไปซะหมดคิดเองเออเองตามกระแส งั้นเรามาดูเนื้อหาและข้อมูลที่เขาได้เขียนให้เราได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น จากหัวข้อที่ว่า ไม่เติม ปตท ไม่ว่ากันครับ แต่มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนดีไหม? จากที่ได้อ่านเนื้อหาจึงได้นำข้อมูลบางส่วนมาแบ่งปันกันเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม ก่อนอื่นเราจะต้องแยกความแตกต่างให้ได้ก่อนระหว่าง ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วนครับ ลองดูในโครงสร้างราคาน้ำมันนะครับ http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html จากตารางผมไฮไลต์สีเขียวไว้นั้นเขาเรียกว่า “ราคาหน้าโรงกลั่น” ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจโรงกลั่นครับ จากตารางผมไฮไลต์สีฟ้าไว้นั้นเขาเรียกว่า “ค่าการตลาด” ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมันครับ ต่อมาว่ากันที่ธุรกิจโรงกลั่นอย่างที่บอกรายได้ของเขามาจากการขายราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ถามว่าขายให้ใครก็ขายให้ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ว่าง่ายๆก็คือขายให้ปั๊มต่างๆนั่นล่ะ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบของธุรกิจโรงกลั่นนี้ก็คือน้ำมันดิบที่นำมากลั่นนั่นเอง ธุรกิจโรงกลั่นในบ้านเรานั่นมีอยู่ด้วยกัน 6 […]


  • มหากาพย์ปล้นคนไทย ใครกันแน่ที่ปล้นเรา

    มหากาพย์ปล้นคนไทย ใครกันแน่ที่ปล้นเรา

    มหากาพย์ปล้นคนไทย อย่าให้ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ มาปล้นเกี่ยวกับความรู้ อย่าให้ปตท ทรราชน้ำมันมาปล้นความเชื่อและ ความจริงไปจากเรา ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก ผมขอเขียนตามที่เพจบ้างเพจได้กล่าวอ้างมาเลยละกัน แต่จะให้ดี ขอเกริ่นถึงหน้าที่ของโรงแยกก๊าซก่อนจะดีกว่า วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติแต่ละหน่วย โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 1 เพื่อผลิตวัตถุตั้งต้นให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2, 3 และ 4 เพื่อขยายตัวตามความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวก๊าซหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้น โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีความต้องการก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบตั้งต้น พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงในด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ http://vcharkarn.com/varticle/42530 ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรงแยกก๊าซสร้างมาเพื่ออะไร และมันก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจขนาดไหน เรามาเข้าเรื่องของเพจนี้ที่ได้กล่าวอ้างมาละกัน เนื่องจากทุกอย่างมันเชื่อมกันหมดเลยต้องขอแยกเป็นเรื่องนะครับ แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงที่มาของราคาก๊าซ LPG […]


  • เปิดโปง ปตท การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?

    เปิดโปง ปตท การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?

    ข้อกล่าวหาหนึ่งเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจพลังงานของปตท.ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตลอดเวลาก็คือรัฐบาลได้ให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ(ห้าในหกแห่ง)ทำให้ปตท.มีอำนาจในการควบคุมการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ก่อให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้น้ำมันที่ขายในประเทศมีราคาแพงและทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเปิดโปง ปตทและหยิบยกอีกหลายๆ ประเด็นมาพูดถึงเพราะเนื่องจากมีการผูกขาดตัดตอนเรื่องการผูกขาดธุรกิจพลังงานของประเทศโดยปตท.นั้นเป็นเรื่องที่ติดพันกันมานานตั้งแต่ปตท.ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัวและเข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาลดังนั้นจึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งก็เป็นเช่นนี้ในทุกประเทศที่มีการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ด้านพลังงานให้แก่รัฐ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแปรรูปปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชนทุกฝ่ายรวมทั้งปตท.ก็เห็นด้วยว่าควรจะลดการผูกขาดลงโดยเฉพาะในธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะให้มีเปิดเสรีมากขึ้นโดยอาจให้เริ่มในกิจการท่อส่งก๊าซและการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อนแต่ในส่วนของธุรกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดยปตท.มากถึง  83% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด (โดยคิดง่ายๆว่าปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น = 83%) นั้น ผมคิดว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ง่ายเกินไปและไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่นเหล่านี้ ทำให้ปัจจุบันปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นต่างๆดังนี้ ไทยออยล์  49.1% PTTGC 48.9% IRPC 38.5% SPRC 36.0% BCP 27.2% จะเห็นว่าโดยนิตินัยแล้ว ไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย โดยในกรณีของ SPRC นั้นชัดเจนว่า Chevron ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 64% เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นโดยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารก็ทำโดยคณะกรรมการบริษัท 9 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ Chevron […]


  • อ่าวพร้าวปรอทเกิน 29 เท่า ไม่ต้องห่วงคุณปลอดประสพกะชูวิทย์มากนัก ห่วงท่องเที่ยวดีกว่า

    อ่าวพร้าวปรอทเกิน 29 เท่า ไม่ต้องห่วงคุณปลอดประสพกะชูวิทย์มากนัก ห่วงท่องเที่ยวดีกว่า

    จากข่าว “เจอน้ำทะเลอ่าวพร้าว สารปรอทเกิน 29 เท่า” http://m.dailynews.co.th/politics/225846 เข้าใจหลักการพาดหัวข่าวนะ ตามหลัก “ข่าวร้ายขายฟรี ข่าวดีเสียตังค์” สำหรับใครที่อ่านเฉพาะพาดหัวข่าว ก็อาจจะคิดว่าสถานการณ์อ่าวพร้าวมันคงจะเลวร้ายเสียเต็มที ลองอ่านตามที่ขีดเส้นใต้และไฮไลต์ไว้ สีเขียวคือข่าวดี สีแดงคือข่าวร้าย เส้นใต้คือข้อเท็จจริงที่อยากเน้นให้เข้าใจ ถ้าจะขออนุญาตพาดหัวข่าวเสียใหม่โดยไม่เน้นความหวือหวาเข้าว่าและรู้ทัน ปตท น่าจะได้ดังนี้ “น้ำทะเลรอบเกาะเสม็ดเกือบทั้งหมดปลอดภัยจากสารโลหะหนักต่างๆ ยกเว้นที่อ่าวพร้าวพบมีสารปรอทเกินค่ามาตรฐาน 29 เท่า” ตามเนื้อหาข่าวในภาพที่ 2 สรุปสาระสำคัญได้ว่า 1. นอกจากตรวจพารามิเตอร์ดังกล่าวในภาพแล้วก็ยังมีการตรวจ PAHs ก็พบว่าไม่เกินมาตรฐาน ตรวจ TPH อันนี้ผลน่าจะออกวันนี้ (15 ส.ค.) 2. แต่ผลที่ออกมานี้ไม่ใช่ผล ณ เวลาปัจจุบัน มันเป็นการเก็บตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 3-4 ส.ค. ถ้าเอาตัวเลขปัจจุบันก็น่าจะลดลงไปมากอยู่ (แต่ก็ไม่รู้เท่าไร) ก็แนะนำว่าถ้าเลี่ยงได้ก็อย่าไปเล่นน้ำทะเลที่อ่าวพร้าวและอ่าวทับทิมจนกว่าจะทราบผลของการเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 8 สคที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าน่าจะทราบในวันที่ 15 สค นี้ 3. อ่าวทับทิมที่มีค่าปรอทเกินมาตรฐานนั้นไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบ แต่เกิดจากการทิ้งน้ำเสีย 4. การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านบาทแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงจะตามเก็บจาก PTTGC ให้ครบ ประเด็นที่อยากจะสื่อก็คือดูเหมือนจะมีคนเป็นห่วงนักการเมืองสองคนคือคุณปลอดประสพกับคุณชูวิทย์เหลือเกิน […]


  • น้ำมันที่โรงกลั่น(ไทย)…..จะตั้งราคาอย่างไร จึงจะเป็นธรรม

    น้ำมันที่โรงกลั่น(ไทย)…..จะตั้งราคาอย่างไร จึงจะเป็นธรรม

    หนึ่งในคำถามที่มีต่อโครงสร้างราคาน้ำมันในบ้านเรา นอกจากประเด็นการอิงราคาตลาดสิงคโปร์แล้ว ที่น่าสนใจก็ คือ การตั้งราคาของโรงกลั่น ประเด็นจะเริ่มต้นที่ว่า หากโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทยอิงราคาตลาดที่สิงคโปร์ (Simex) แล้วทำไมการกำหนดราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของประเทศไทยต้องบวกค่าขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทยด้วย (คุณโสภณ สุภาพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกูรูด้านพลังงานของไทย บอกว่า ราคา ณ โรงกลั่นของไทยต้องต่ำกว่าราคาสิงคโปร์ (อันเนื่องมาจากการขนส่ง) 1-2 บาท /ลิตร และเป็นหัวหอกสำคัญในการตั้งประเด็นสาธารณะประเด็นนี้) ในเมื่อข้อเท็จจริงเราไม่ได้ขนย้าย-น้ำมันมาจากโรงกลั่นที่ประเทศสิงคโปร์ ประเด็นมีต่อไปอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันในไทยซึ่งมีอยู่ 7 โรงนั้น ปัจจุบันใครเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ได้สิทธิในการบริหารโรงกลั่นของไทย จากข้อมูลที่มีอยู่ ก็คือส่วนใหญ่จะเป็นของ “กลุ่มปตท.” ประกอบด้วย ไทยออยล์ /ไออาร์พีซี /สตาร์ / ระยอง / บางจาก รวมทั้งสิ้นคิดเป็น 83 % ของกำลังผลิต (กลั่น) ยกเว้นอีก 2 โรง เป็นของคนอื่น คือ เอสโซ่และอาร์พีซี ประเด็นทั้งสองรวมกันแล้วพุ่งเข้าใส่ ปตท.ว่า เป็นผู้ตั้งราคา ปตท ปล้นพลังงานไทย เป็นผู้ที่มีส่วนในการบิดเบือนราคา เป็นการสร้างภาวะซ้ำเติมให้กับประชาชนผู้บริโภคตาดำๆ […]


  • จุดแข็งของประเทศในอาเซียน เวียดนามมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย

    จุดแข็งของประเทศในอาเซียน เวียดนามมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย

    ได้อ่านกระทู้ดีๆจากพันทิป http://pantip.com/topic/30765661  เรื่องจุดแข็งต่างๆของประเทศในอาเซียนนั้นมีอะไรกันบ้าง แล้วประเทศไทยมีจุดแข็งอะไรในอาเซียน จะเป็นการส่งออกน้ำมันของประเทศไทยได้เป็นจุดแข็งของประเทศไทยหรือเปล่า จากจุดแข็งของประเทศในอาเซียน ก็ไม่เห็นว่าเขาจะบอกว่าไทยเป็นซาอุดิอาระเบียแห่งตะวันออกไกล หรือปตท ส่งออกน้ำมันมากที่สุดเลยนี่ เครดิตภาพ เพจมหานครอาเซียน http://on.fb.me/1dZjoBi   จากภาพนั้น ประเทศไทยมีจุดแข็งคือเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร อีกทั้งยังมีแรงงานเป็นจำนวนมาก และยังเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในจุดแข็งนั้นไม่ได้พูดถึงเรื่องการส่งออกน้ำมันเลยด้วยซ้ำ และไม่ได้พูดถึงเรื่องน้ำมันเลย กลับกลายเป็นบรูไน เวียดนาม และมาเลเซียที่มีจุดแข็งทางด้านการส่งออกน้ำมัน จริงๆประเทศไทยน่าจะเพิ่มจุดแข็งเรื่อง สร้างข่าวลือ สร้างภาพ ทะเลาะเบาะแว้งกันเอง หลงเชื่อคนง่าย งมงาย ลงไปเป็นจุดแข็งที่คนอื่นไม่สามารถมาทำลายได้ด้วย คงจะดูเหมาะกันดี ดังนั้น ในเมื่อประเทศไทยไม่ได้มีจุดแข็งในเรื่องน้ำมัน ก็เปิดใจยอมรับเถอะพวกที่ ทวงคืน ปตท หรือคิดว่าปตท ฉวยโอกาสในเรื่องการส่งออกน้ำมันนั้น อาจจะเป็นเพียงแค่ข่าวลือก็ได้ ติดตามอ่านบทความดีได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/     Share This:


  • พบเบาะแส(ปตท. โกง) ท่ออ่อนส่งน้ำมันดิบ “ไม่ได้มาตรฐาน”

    พบเบาะแส(ปตท. โกง) ท่ออ่อนส่งน้ำมันดิบ “ไม่ได้มาตรฐาน”

    พอดีไปอ่านเจอบทความนึงน่าสนใจ เลยอยากจะนำมาแชร์ต่อกันเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องท่อน้ำมันดิบรั่ว เพราะกระแสข่าวน้ำมันดิบรั่วในตอนนี้กำลังมาแรกอย่างมาก เราก็เสพข่าวเท่านั้นแต่เราก็ไม่ทราบข้อเท็จจริงใดๆ เนื่องจากเหตุการณ์ท่อน้ำมันดิบรั่ว ได้ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพของอ้าวพร้าวเป็นอย่างมากจึงทำให้ต้องมีการใช้เวลาในการฟื้นฟู จึงทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่ามันรั่วได้ยังไง ปตท ทำไมไม่ใช้ท่อแข็ง ปตท ขี้โกงรึเปล่า ทำไม ปตท ไม่ออกมารับผิดชอบอะไรบ้าง แต่บทความนี้อาจจะช่วยให้หลายคนเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับท่อน้ำมันดิบรั่ว และอยากให้อ่านข้อมูลจากหลายทางเพื่อให้รับข้อมูลที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่า ไม่ใช่เสพข่าวอย่างเดียวแล้วนำมาคิดเองเออเองไปซะหมด ยังไงลองอ่านแล้วพิจารณากันดูนะ คือผมไม่มีปัญหาอะไรสักเท่าไรหรอกถ้าใครอยากจะด่า ปตท เรื่องท่อน้ำมันดิบรั่วเนี่ย แต่ผมจะมีปัญหากับพวกหน้ามั่วเอาข้อมูลเท็จมาผสมโรงด่านี่ล่ะ เรื่องมันมีอยู่ว่า อ่าน Infographic โดยเพจขามั่วรายนี้ที่มีนายศรัลย์ ธนากรภักดี http://khonmaptaphut.blogspot.com/2010/07/blog-post_18.html เป็นแอดมินแล้วผมฮากลิ้งเลยครับ เรื่องความมั่วซั่วของเพจนี้ผมว่าถ้าใครที่มีสมองสักหน่อยก็คงจะพอรู้ได้ แต่ใครที่ยังหลงเชื่อก็วานท่านที่มีเพื่อน มีญาติ มีคนรู้จัก มีเพื่อนร่วมงาน ยังไลค์ ยังแชร์ข้อมูลของเพจนี้อยู่ สะกิดเตือนเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นห่วงหน่อยก็ดีครับ ลองดูรูปนี้ครับ http://on.fb.me/1emwUiz อีกลิ้งค์หนึ่ง http://on.fb.me/1cCebS2 ผมจะบอกให้ว่ามันมั่วอะไร แล้วผมฮาตรง ท่ออ่อนส่งน้ำมันดิบ “ไม่ได้มาตรฐาน” ความดันน้อยมากเพียง 2 ปอนด์ / นิ้ว ฮา 1. ฮาแบบจับผิดเล็กน้อยก่อน คือ หน่วยแรงดัน […]


  • เปิดโปง ปตทพร้อมทั้งเกาะติดสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วที่เกาะเสม็ด

    เปิดโปง ปตทพร้อมทั้งเกาะติดสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วที่เกาะเสม็ด

    ภาพจากดาวเทียมระบบเรดาร์ COSMO-SkyMed-3 เมื่อเวลา 06.09 น. ของวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ทางด้านเหนือของเกาะเสม็ด แสดงให้เห็นอาณาบริเวณของคราบน้ำมันที่เป็นฟิล์มที่มีขนาดและปริมาณลดลงจากเมื่อวานนี้ จากประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เหลือ 5 ตารางกิโลเมตร และมีการหดตัวลงจนกระจายตัวไปไม่ถึงเกาะค้างคาว เกาะขาม และเกาะกุฎี  นอกจากนี้เริ่มเห็นผิวน้ำสีอ่อนแทรกตัวอยู่ในอาณาบริเวณของฟิล์มนี้  แสดงถึงความหนาแน่นของฟิล์มน้ำมันที่ลดลง ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่ามวลน้ำมันที่เป็นต้นกำเนิดของฟิล์มน้ำมันในบริเวณนี้ น่าจะมีปริมาณลดลงมาก แต่ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้างในบริเวณตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเสม็ด สำหรับบริเวณชายฝั่งอ่าวเพด้านตะวันตกและแหลมหญ้า ซึ่งมีลักษณะที่คาดว่าอาจจะเป็นฟิล์มน้ำมันนั้น ยังไม่ได้รับรายงานจากการสำรวจภาคสนามว่าเกิดจากอะไร แต่จะได้เร่งดำเนินการสำรวจต่อไป   ข้อมูลจาก http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/component/content/article/1668 เมื่อมองจากภาพข้างบน นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่คราบน้ำมันลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลดีกับหลายๆอย่าง แต่ที่จะเห็นผลที่สุดคือระบบนิเวศทางทะเลที่ดูจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น เราจะฟื้นฟูความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาร่วมรู้ทัน ปตท และมาร่วมฟื้นฟูความเสียหายกันดีกว่า เป็นความคิดเห็นดีๆของอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด ทั้งผลกระทบโดยตรงกับระบบนิเวศทางทะเล อาจารย์ท่านนี้ได้กล่าวไว้ว่า ช่วงนี้มีหลายท่านถามถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านระบบนิเวศทางทะเล ผมจึงขอถือโอกาสสรุปเรื่องนี้มาให้ฟัง โดยใช้แผนที่กรมอุทกศาสตร์ ทหารเรือ อันเป็นแผนที่ทางทะเลมาตรฐานของประเทศไทย และใส่สัญลักษณ์ระบบนิเวศที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ c แนวปะการัง s […]