Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • ข้อเท็จจริงพลังงานไทย : สารพันคำอธิบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

    ข้อเท็จจริงพลังงานไทย : สารพันคำอธิบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

    คนไทยทุกคนควรขวนขวายหาข้อมูลแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความสามารถความฉลาดและซื้อสัตย์ของข้าราชการไทยตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเรื่อยมาทั้งที่มีต้นทุนสูง 40-50% ของราคาที่ขายได้เพราะแหล่งมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายเราพบก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก มีสัดส่วนถึง 70 กว่า %ของปิโตรเลียมที่ค้นพบทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐฯ ก็ได้เผยแพร่ให้รับทราบกันทั่วไปอยู่แล้วเราจึงได้ใช้ก๊าซในประเทศในราคาถูกมาตลอด 30 กว่าปีเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งก๊าซถูกกว่าน้ำมันเตา ถูกกว่าน้ำมันดีเซลมาก และถูกกว่าก๊าซนำเข้าถึงครึ่งต่อครึ่งน้ำมันดิบส่วนมากถูกค้นพบในยุคหลังๆส่วนใหญ่ขายให้โรงกลั่นในประเทศเพราะผู้ขายได้ประโยชน์จากการที่สามารถเอาค่าภาคหลวงมาหักภาษีได้ มีส่งออกอันเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เกิดการใช้ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ภายในประเทศมาตั้งแต่เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 แต่ในปีแรกๆ ส่งออกมากกว่าใช้ในประเทศ เพราะ spec น้ำมันดิบที่ผลิตได้ไม่เหมาะกับโรงกลั่นในประเทศ (น้ำมันดิบถูกพบหลังจากสร้างโรงกลั่นไปแล้ว) ต่อมาเอกชนก็ปรับปรุงโรงกลั่นให้รองรับน้ำมันเหล่านี้ได้ จึงลดการส่งออกลงขณะนี้ประมาณ 44,000 บาร์เรลต่อวัน ก็คือ 30% ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ซึ่งถ้าเทียบกับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดของประเทศที่ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ก็เป็นแค่ 5% ที่ยังส่งออกอยู่เพราะ ผู้ซื้อภายในประเทศไม่ต้องการ ผู้รับสัมปทานมีสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าต่างประเทศ (ตกลงทำสัญญากันล่วงหน้าไว้แล้ว) ผู้รับสัมปทานยังต้องส่งออกเป็นครั้งคราวบ้าง เพื่อรักษาตลาดไว้ (ในกรณีที่ไม่สามารถขายภายในประเทศได้) ภาพนี้ได้มาจากสถาบันปิโตรเลียม แสดงให้เห็นแหล่งปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะ แสดงตัวเลขผลิตไปแล้วเท่าไร ส่งออกเท่าไร เหลืออีกเท่าไรเผยแพร่ต่อสาธารณะทั้งหมดมาตลอดเกือบยี่สิบปีแหล่งทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และภาพนี้ทำให้เราทราบถึงข้อเท็จจริงพลังงานไทยมากยิ่งขึ้นโดยในกฎหมายก็เขียนไว้ชัดว่าทรัพยากรเป็นของรัฐฯ บริษัทน้ำมันเป็นผู้รับสัมปทาน ได้สิทธิสำรวจและผลิตภายใต้การควบคุมของรัฐฯ ตามกฎหมายพ.ร.บปิโตรเลียม ไม่ใช่เจ้าของ ซึ่งกำหนดหน้าที่ สิทธิและการแบ่งผลประโยชน์ไว้อย่างชัดเจนแน่นอนไม่ได้เป็นไปตามอำเภอใจข้าราชการหรือนักการเมือง […]


  • ความจริงที่ทุกคนไม่รู้ ในเรื่อง “ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง”

    ความจริงที่ทุกคนไม่รู้ ในเรื่อง “ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง”

    กระทู้ดีๆอีกหนึ่งกระทู้จากพันทิป http://pantip.com/topic/30724936 ได้บอกเล่าในเรื่องทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง โดยมีการนำหลักฐานจากเว็บพลังงานต่างๆที่เชื่อถือได้มาอ้างอิง ซึ่งจากข้อมูลข่าวสารล่าสุดในเพจทวงคืนพลังงานไทย เมื่อวันที่ 15 กค. ที่ผ่านมานั้น  เขาบอกว่าน้ำมันดิบโลก WTI เมื่อปี 2008 (2551) มันราคาตั้ง 140 US$ ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเราตอนนั้นมันยังถูกกว่าตอนนี้ ทั้งๆที่ปัจจุบัน (วันที่อ้างอิงคือ 12 กค. 2556) ไอ้ราคาน้ำมันดิบ WTI มันมันแค่ 106.25 US$ เอง ในอินโฟกราฟิกจะเห็นว่าเขาเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในบ้านเราช่วงเดือน มค-กพ 2551 มาแสดง งั้นเราไปตรวจสอบราคาน้ำมันดิบ WTI ในช่วงนั้นกันดีกว่า (ตรงกับ JAN-FEB 2008) http://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=RWTC&f=D มัน 140 US$ ตรงไหน จะเห็นว่าราคาเฉลี่ยมันวิ่งอยู่ในช่วง 9X.XX US$ เท่านั้นเอง นี่มั่วข้อที่หนึ่ง แล้วที่ราคาน้ำมันดิบ WTI มันขึ้นไปถึง 140 US$ มันมีจริงไหม ตอบเลยว่ามีจริงในปี […]


  • ราคา NGV ทุกภูมิภาคทั่วโลก

    ราคา NGV ทุกภูมิภาคทั่วโลก

    ภูมิภาคที่ขาย NGV ราคาสูงที่สุด คือ ยุโรป        ทวีปอเมริกา แคนาดา ขายที่ 26 บาท สหรัฐ ขายที่ 16 บาท เม็กซิโก ขายที่ 8.20 บาท        อเมริกาใต้ บราซิล ขายที่ 31.60 บาท อาร์เจนติน่าขายที่ 8.50 บาท สาธารณรัฐโดมินิกัน ขายที่ 13.27 บาท ในแถบเอเชียแปซิฟิกละแวกบ้านเรานั้นตารางราคาเป็น ดังนี้ ประเทศ                       ราคา บาท ต่อ ก.ก. (B/Nm3) ญี่ปุ่น                                35.40 สิงคโปร์                             29.70 เกาหลีใต้                           26.80 อินเดีย                              24.50 ปากีสถาน                           23.06 […]


  • ปัญหาหลักของสถานี NGV นอกแนวท่อ

    ปัญหาหลักของสถานี NGV นอกแนวท่อ

    แนวท่อก๊าซบนบกในประเทศไทย แนวท่อก๊าซบนบกในประเทศไทย แบ่งเป็น สายตะวันออก (มาจากอ่าวไทย) ก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นฝั่งที่มาบตาพุด จ.ระยอง ผ่าน จ.ชลบุรี เพื่อส่งไปยังโรงไฟฟ้าบางปะกงและโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อีกสายหนึ่งขึ้นเหนือไปยังโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และส่งผ่านสระบุรีไปถึง อ.แก่งคอย ที่มีอุตสาหกรรมซีเมนต์ขนาดใหญ่ ส่วนสายตะวันตกส่งผ่านเข้ามาทางบ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ต่อไปถึงโรงไฟฟ้าราชบุรี และผ่านมาถึงโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ การสร้างสถานีบริการก๊าซ NGV ในแนวท่อก๊าซจึงไม่เป็นปัญหา เพราะมั่นใจได้ว่ามีก๊าซให้บริการตลอดเวลา และค่าดำเนินการขนส่งไม่สูงจนน่าตกใจ คือ ก.ก.ละ 2 บาทกว่า ปัจจุบัน ปตท. มีสถานีก๊าซในแนวท่อ 111 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน 60%ในขณะที่ต่างประเทศเป็นแนวท่อเกือบ 100% แต่ระบบขนส่งในบ้านเราเน้นการขนส่งบนถนนเป็นหลัก รถใช้ก๊าซจึงเดินทางไปทุกที่รวมทั้งในพื้นที่ไม่มีแนวท่อก๊าซด้วย และรัฐบาลก็มีนโยบายที่จะให้มีสถานีบริการในจังหวัดหลักๆ ในภาคเหนือและภาคอีสาน ปัจจุบันมีสถานีเกิดขึ้นกว่า 348 สถานี เรียกว่าเป็นสถานีนอกแนวท่อหรือสถานีลูก ซึ่งเป็นสถานีที่พึ่งพารถขนส่ง NGV จากสถานีจ่ายก๊าซหลัก ปัญหาก็ คือ สถานีลูกเหล่านี้มีข้อจำกัดในการบริการ เป็นผลมาจากข้อจำกัดของการขนส่งก๊าซนอกแนวท่อ เพราะ NGV อยู่ในรูปของก๊าซที่เก็บภายใต้แรงดันสูง […]


  • แฉ!! โครงสร้างราคาน้ำมันทำไมชอบบิดเบือนกันจัง??

    แฉ!! โครงสร้างราคาน้ำมันทำไมชอบบิดเบือนกันจัง??

    ราคาน้ำมันที่ฉาวโฉ่ในโลกไซเบอร์อาจทำให้หลายคนปักใจเชื่อว่าเป็นราคาน้ำมันจริงๆ แต่แท้จริงแล้ว ปากต่อปาก การพูดหรือเล่าความจริงนานๆไปก็เริ่มเซ็ง จึงมีผู้ไม่ประสงค์ดีบางจำพวกบิดเบือนราคาน้ำมันที่แท้จริง อย่างนี้ควรจะเชื่อใครล่ะ? สรุปว่าปตท โก่งราคาน้ำมันหรือเป็นแค่ข่าวโดนบิดเบือน? หยิบโครงสร้างราคาน้ำมันที่แท้จริงมากฝากจากกระทู้ http://pantip.com/topic/30361151 ดูจากรูปแฉโครงสร้างราคาน้ำมันของปตท นี่มันทั้งมั่ว ทั้งบิดเบือน จนเข้าขั้นโกหกคำโตไปแล้ว โดยจะขอแฉความมั่วดังนี้ 1. ราคาขายปลีกวันที่ 28 ธ.ค. อยู่ที่ 48.60 บาทครับ ไม่ใช่ 48.85 อ้างอิงจาก http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่าสามข้อที่จะบอกต่อไป 2. รูปนี้จงใจเอาเบนซิน 95 มาแสดง เพราะน้ำมันชนิดนี้มีค่าการตลาดมาก เพราะคนไม่ค่อยเติม และรัฐอยากให้ใช้แก๊สโซฮอลมากกว่า ค่าการตลาดอยู่ที่ 4.53 แต่น้ำมันแก๊สโซฮอลที่คนใช้มากกว่านั้นค่าการตลาดอยู่แค่ 1.17-1.73 เท่านั้น กล่าวได้ว่ารูปนี้จงใจเอาน้ำมันที่ค่าการตลาดแพงมาทำให้คนเข้าใจตัวเลขสูงเกินจริง 3. ในภาพเอาราคาน้ำมันดิบ 110 $ มาตีเป็นต้นทุนน้ำมันดิบ แล้วหักลบรายการอื่นๆเหลือเท่าไหร่พี่แกเอาไปโยนใส่ให้เป็นค่าการกลั่นหมดเลย (8.47-4.53=3.94) ซึ่งคิดแบบนี้ไม่ได้ เพราะน้ำมันดิบไม่ใช่ว่าจะกลั่นออกมาร้อยทั้งร้อยเป็นเบนซินหรือดีเซลหมด จึงไม่สามารถเอาต้นทุนน้ำมันดิบมาสะท้อนค่าการกลั่นแบบนี้ได้ จะทำให้ตัวเลขสูงเกินจริง ลองค้นตัวเลขค่าการกลั่น (GRM) ของ บ.ไทยออยล์ พบว่า GRM ของผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซิน Q4/55 […]


  • NGV มีข้อดีข้อเสียอย่างไร? แล้วทำไมต้องเติม CO2 ลงไปในก๊าซ NGV

    NGV มีข้อดีข้อเสียอย่างไร? แล้วทำไมต้องเติม CO2 ลงไปในก๊าซ NGV

    ข้อดีของก๊าซ NGV 1. เติมก๊าซ NGV แล้ววิ่งได้ 150 – 180 กิโลเมตรต่อครั้ง เราจะได้มีเวลาหยุดพักการขับรถเพื่อรอการเติมแก๊ส (เติมก๊าซ NGV นานๆๆมาก) ทำให้ไม่ง่วงนอนและไม่หลับใน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้มากมาย 2. เติมก๊าซ NGV แล้ววิ่งได้ 150 – 180 กิโลเมตรต่อครั้ง ถ้าไม่มีปั้มแก๊สให้เติม เราจะได้ใช้น้ำมันบ้าง (น้ำมันจะได้ไม่บูดคาถัง) 3. เติมก๊าซ NGV แล้ว กำลังเครื่องยนต์ตกประมาณ 10 % แต่ถ้าเติม LPG กำลังเครื่องยนต์ตกเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ซึ่งกำลังตกน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับรถสมัยใหม่ที่กำลังมากเกินไป กำลังเครื่องยนต์ตกประมาณ 10 % ใน NGV จึงทำให้การใช้รถไม่จัดจ้านเกินความจำเป็นซึ่งถือว่าได้เพิ่มความปลอดภัยให้ สูงขึ้น 4. ก๊าซ NGV เบากว่าอากาศ หากมีการรั่วก็จะสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถ หากมีการลุกไหม้เราก้มหัวลงก็ปลอดภัยแล้ว แต่ถ้า LPG […]


  • เมื่อไรคนไทยจะเลิกใช้ “ความรู้สึก” แล้วหันมา “ทำความเข้าใจ”

    เมื่อไรคนไทยจะเลิกใช้ “ความรู้สึก” แล้วหันมา “ทำความเข้าใจ”

    เนื่องจากราคาน้ำมันในช่วงนี้ผันผวนแปรปรวนเป็นอย่างมาก และบังเอิญได้ไปเจอกระทู้นี้ในพันทิป http://pantip.com/topic/30335993 ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาราคาน้ำมันในตอนนี้ จึงอยากจะนำมาอ้างอิงในที่นี้ เนื้อความจากกระทู้เรื่องราคาน้ำมันมีอยู่ว่า คือผมก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรหรอกนะที่คนนั้นคนนี้เขาจะใช้ความรู้สึกในเชิง “บ่น” แต่ผมหมั่นไส้ไอ้พวก “ด่า” ปตท กำไรแสนล้านมากกว่า ซึ่ง “ด่าเพราะไม่รู้” ยังพอรับได้ แต่ “ด่าทั้งที่มีคนอธิบายแล้วแต่โง่เองหรือไม่เปิดใจรับฟังนี่” มันน่าหยิกแก้มนัก อ้างอิงจากกระทู้ http://pantip.com/topic/30335188 ว่าเมื่อวานเกิดอะไรขึ้น ราคาเบนซินสิงคโปร์ ถึงได้ดิ่งเหวขนาดนี้?? คนไทยเลิกใช้ความรู้สึกแล้วมาดูข้อเท็จจริงมีข้อมูลประกอบกันสักที เอาข้อมูลมาให้แล้วแต่เข้าใจว่ายังย่อยให้ละเอียดไม่พอ คืออย่างนี้บ้านเรา ปรับราคาน้ำมันครั้งล่าสุดไกลหน่อยเมื่อ 22 มีนาคม 56 ปรับราคาครั้งใกล้ๆมาหน่อย 4 เมษายน 56 (ปรับขึ้น) ปรับราคาครั้งล่าสุด สุดๆไปเลย 5 เมษายน 56 (ปรับลง) ข้อมูลราคาน้ำมันย้อนหลัง: http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html คุณลองสังเกตราคาน้ำมันระหว่าง 22 มีนาคม – 3 เมษายนสิว่ามันขึ้นหรือลง ขึ้นใช่ไหม แล้วคุณเคยคิดกันบ้างไหมว่า ทำไมราคาบ้านเราไม่ปรับขึ้น? ก็เพราะผู้ค้าเขายอม absorb ส่วนต่างนั้นให้ และ/หรือเอาเงินกองทุนน้ำมันออกมาช่วย ยังไงเล่า จะเอากันอย่างนี้หรือครับ ปรับขึ้นปรับลงมันทุกวันเลยตามตลาดสิงคโปร์ไปเลย คุณไม่สงสารเด็กปั๊มมันมั่งเรอะ ไอ้ปั๊มที่เป็นป้ายไฟน่ะไม่เท่าไร แต่ไอ้ปั๊มที่ต้องปีนไปเปลี่ยนนี่สิ ได้ตกมาตายกันบ้างล่ะ จากเนื้อความข้างต้น ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ที่บางคนตราหน้า ปตท […]


  • ชาวทวงคืนพลังงาน/ปตท..คุณอยากเห็นประเทศไทยเกิดการนองเลือดใช่หรือไม่?

    ชาวทวงคืนพลังงาน/ปตท..คุณอยากเห็นประเทศไทยเกิดการนองเลือดใช่หรือไม่?

    เรื่องราวและที่มาอธิบายได้ตามภาพนี้ ตามรายละเอียดไม่ได้มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซีย อดีตประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC มีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นการหักดิบต่อความนิยมทางการเมืองของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง กลับมีแต่การปลุกระดมให้คนไทยลุกฮือ บอกคนไทยมันโง่บ้าง ไทยเฉยบ้าง ทำไมไม่เอาอย่างชาวอินโดนีเซียกันบ้าง ผมว่าชาวทวงคืนนี่ชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้วล่ะก่อนอื่นคงต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า (คงต้องแตะเรื่องสีเสื้อสักเล็กน้อยครับ) ต้นกำเนิดของการทวงคืน ปตทนี่มันเริ่มมาจากกลุ่มพันธมิตรนำโดยคนที่คุณก็รู้ว่าใคร (นึกถึงคนๆ นี้แล้ววลีนี้ก็ก้องอยู่ในหูผมครับ “ท้ากสิน…ออกไป๊” ทั้งๆ ที่เขาคนนั้นก็ออกไปตั้งนานละ แต่การเมืองกลุ่มก้อนนี้ก็ยังไปไม่พ้น “ท้ากสิน…ส้ากที” โอเคครับกลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า) และเรื่องการทวงคืนท้ากสิน เอ๊ย!!! ทวงคืน ปตท นี่ก็เงียบหายไปช่วงหนึ่งในสมัยรัฐบาลขิงแก่ต่อด้วยรัฐบาลประชาธิปัตย์มันกลับมาหนักข้อขึ้นมาอีกครั้งก็ตอนเมื่อน่าจะต้นปีที่แล้วนี่ล่ะเมื่อมีผู้เชียวชาญพลังงานท่านหนึ่งตกจากตึกแกรมมี่มาจุติเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน” ร่วมกับ “สอวอหญิงท่านหนึ่ง”  ที่ก็มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลปัจจุบันพอสมควร ขณะที่ทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลายทางอุดมการณ์ก็มีคนเสื้อแดงบางคนหันมาเล่นเรื่อง “ทวงคืน ปตท” กับเขาบ้างโดยไปๆ มาๆ คนซื้อแดงกลุ่มนี้ก็รวมตัวกับกลุ่มสอวอ&หม่อม แล้วสร้างวาทะกรรมว่า “เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของส่วนรวมไม่มีสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง”  ไปออกเวทีร่วมกันในพื้นที่เหลืองบ้าง แดงบ้าง ปะปนกันไป เพื่อให้ข้อมูลจริง (ที่เอาไปพูดไม่หมด) เพื่อหามวลชนและพวกพ้อง อีกทางหนึ่งคราวนี้เราไปไกลสักหน่อยที่มาบตาพุด มีวิศวกรท่านหนึ่งไม่พอใจเรื่อง ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม (ไม่รู้แกเป็นอะไรกับเสาเข็มมากมั๊ยอาจจะมีปมด้อยเรื่องเสาเข็มอะไรสักอย่าง) ออกมาสร้างเพจ “กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด” สร้างไปสร้างมาแกเริ่มสนุก เลยสร้าง “ทวงคืนพลังงานไทย“ ต่อด้วย “Thai Energy Get Back” และล่าสุด “แหล่งน้ำมันในเมืองไทย” ด้วยการทำ Infographic จับแพะชนแกะอันลือลั่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงาน เอาล่ะครับ 3 ย่อหน้าที่กล่าวมารวมถึงลูกเพจที่เชื่อข้อมูลของกลุ่มดังกล่าวสุดริ่มทิ่มประตูนั้น ผมขอเรียกรวมๆ ว่า “ชาวทวงคืน ปตท” แล้วกัน อย่างที่ผมบอกครับว่าชาวทวงคืนไม่มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าวเลยผมขออนุญาตลองวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดรัฐบาลอินโดฯจึงยอมหักดิบทุบหม้อข้าวฐานเสียงตัวเองอย่างนั้น จากข้อมูลที่หาได้ในอินเตอร์เน็ตนี่ล่ะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://pantip.com/topic/30625508 Share This:


  • ที่มาที่ไป ที่ใครๆก็ว่าน้ำมันแพง

    ที่มาที่ไป ที่ใครๆก็ว่าน้ำมันแพง

    หลายต่อหลายคนพากันสงสัยว่า เอ๊ะ! ราคาน้ำมันตอนนี้ทำไมมันขึ้นเรื่อยๆ มันคือกลโกง ปตท หรือเปล่า แล้วปตท เป็นเหตุที่ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือไม่ เรามาดูต้นเหตุที่แท้จริงกันเลยดีกว่า ประเทศแถบตะวันออกกลางส่งออกน้ำมันดิบซึ่งขนส่งน้ำมันมาไทยผ่านทางทะเล โดยสัดส่วนของน้ำมันดิบในไทยที่ผลิตได้นั้นมีเพียงแค่ 18% ซึ่งพบน้ำมันดิบได้ที่ที่ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ส่วนอีก 82% นั้นเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด โดยน้ำเข้าจากกลุ่มตะวันออกกลาง ร้อยละ 74 จากกลุ่มตะวันออกไกล ร้อยละ 7 และจากที่อื่นๆ ร้อยละ 16 ซึ่งพอขนส่งมาจนถึงไทยแล้วก็นำน้ำมันดิบเข้าสู่โรงกลั่นโดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นนั้นจะได้ เชื้อเพลิงโรงงานฯ เชื้อเพลิงยานยนต์ ก๊าซหุงต้ม เบนซิน แนฟกา น้ำมันก๊าด น้ำมันอากาศยาน ดีเซลหมุนเร็ว ดีเซลหมุนช้า น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ยางมะตอย โดยที่ได้ทั้งหมดนี้ เมื่อเข้าสัดส่วนความต้องการในการใช้น้ำมันแต่ละชนิดของไทยแล้ว พบว่า ดีเซลเป็นน้ำมันที่คนไทยต้องการมากที่สุดถึง 73% รองลงมาคือน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเพียง 27% เมื่อกลั่นเสร็จแล้ว ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการมหาบวก ด่านแรกที่น้ำมันออกมาจากโรงกลั่นแล้วจะต้องโดนบวกเลยก็คือ บวกค่าภาษี 18% โดยแบ่งเป็นยิบย่อยได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง […]


  • บทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม”

    บทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม”

    บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม” ระบุว่านับตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ราคาก๊าซLPG ภาคขนส่ง ได้ปรับเขึ้นไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งละ 0.75 บาท/กิโลกรัม รวม 2.25 บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.38 บาท/กิโลกรัม จาก 18.13 บาท/กิโลกรัม คาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซLPG ในภาคขนส่ง จะยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาที่ปรับเพิ่ม โดยพิจารณาได้จากจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซLPG รายใหม่ ยังคงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11,000 คันต่อเดือน ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2555 ไปแล้วเฉลี่ยราวร้อยละ 18.4 เป็นผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำมัน หันไปใช้พลังงานประเภทอื่นที่มีราคาต่ำกว่าและที่นิยมใช้มากก็คือก๊าซLPG เพราะราคาจำหน่ายยังอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำมันมาก ปริมาณการใช้ก๊าซLPG ที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นพร้อมๆ กับภาระในการอุดหนุนราคาพลังงานของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปริมาณการผลิตก๊าซLPG ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศจึงต้องนำเข้าบางส่วนจากต่างประเทศในราคาที่สูง แต่ต้องนำมาจำหน่ายในประเทศด้วยราคาที่ต่ำกว่าเพื่อช่วยเหลือภาคประชาชน (ภาครัฐอุดหนุนราคาสำหรับก๊าซLPG ซึ่งนำเข้าในอัตราประมาณ 28 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งถือว่าผิดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของภาครัฐ ที่มีนโยบายทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซLPG เพื่อลดการอุดหนุน รวมทั้งชะลอการใช้เพื่อลดการนำเข้า ฉะนั้นในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนประเภทอื่น […]