Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • ใครว่าปตทขูดรีดคนไทย แล้วใครควรรับภาระตลาดโลก?

    ใครว่าปตทขูดรีดคนไทย แล้วใครควรรับภาระตลาดโลก?

    ข่าวต่างๆนานาที่ออกสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่พาดพิงถึงเรื่องปตทขูดรีดคนไทยนั้น มีกระแสข่าวที่ค่อนข้างรุนแรงและเป็นแง่ลบของ ปตท เสียส่วนมาก ทั้งในเรื่องปตท โก่งราคาน้ำมัน บางคนกล่าวไว้ว่า ปตท คือ ปล้นตลอดทางด้วยซ้ำ และผู้คนส่วนมากเลือกที่จะเสพข่าวในแง่ลบมากกว่า การนำบทความของ ปตท มาบอกกล่าวในวันนี้ ไม่ได้อยากจะสวนกระแสหรืออะไร แค่อยากให้ลองเปิดใจ ทำใจเป็นกลางและลองอ่านดู ว่าจริงๆแล้ว ปตทขูดรีดคนไทยจริงๆหรือเปล่า จริงอยู่ที่ก๊าซฯ ธรรมชาติที่ใช้ในโรงแยกก๊าซฯ นั้นได้มาจากอ่าวไทย แต่ก็ต้องยอมรับกันด้วยว่าคงจะไม่มีใครตัดสินใจสร้างโรงแยกก๊าซฯ หากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะถูกควบคุมราคาขาย ให้ต่ำกว่าต้นทุน เพราะจากศึกษาของกระทรวงพลังงานที่ได้ให้บริษัท Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำมาศึกษาต้นทุนของ LPG พบว่าประมาณการต้นทุนราคา LPG ปี 2553 อยู่ที่ 450 เหรียญ/ตัน ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำหน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญฯ/ตัน มาเป็นเวลานาน ทำให้ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ LPG ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ไม่ว่าผลิตจากโรงกลั่นหรือจากโรงแยกก๊าซฯ โดยผู้ผลิตต้องเป็นผู้แบกรับภาระดังกล่าว ต่างกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นกิจการที่มีการแข่งขันอย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเจรจาต่อรอง และกำหนดราคาซื้อขายวัตถุดิบ LPG ระหว่างกันได้โดยไม่มีการควบคุม อุดหนุนหรือแทรกแซงราคาจากภาครัฐ […]


  • LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่..แล้วทำไมต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

    LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่..แล้วทำไมต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

    ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลน LPG!!!! สาเหตุจากปริมาณการใช้ LPG ของภาคครัวเรือน ภาคขนส่งภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการควบคุมราคา LPG ไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกและต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเป็นระยะเวลานานมากว่า 30 ปี เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันจำนวนนับหลายแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็ยังตั้งประเด็นสงสัยในเรื่องของLPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อประโยชน์ได้มากกว่าการนำก๊าซธรรมชาติที่มีคุณค่าไปเผาเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ราคาจำหน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมีเป็นไปตาม กลไกตลาด ไม่เคยได้รับการอุดหนุนหรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต หลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อนั้นได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. ตั้งแต่ 2544 รวมทั้งประกาศดังกล่าวได้แนบไว้ในหนังสือชี้ชวนขายหุ้นสามัญ ปตท เพื่อให้นักลงทุนทราบ ดังนั้นไม่มีการรวบรัดจัดทำคู่มือการคำนวณดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง โดยคู่มือเป็นเพียงการระบุให้ลดผลตอบแทนการลงทุนจาก 16% เป็น 12.5% ตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ค่าผ่านท่อใหม่ปรับลดลงเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งคู่มือมีการเผยแพร่ใน Website เช่นกัน ไม่มีการปิดบังแต่ประการใด ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) นับเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขมานานของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ในปี 2534 รัฐบาลสมัยคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ประกาศยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันทุกชนิดให้ลอยตัวตามตลาดโลก […]


  • ภาษีคนไทย – กำไรเอกชน ปตท เป็นโจรปล้นชาติ จริงหรือ?

    ภาษีคนไทย – กำไรเอกชน ปตท เป็นโจรปล้นชาติ จริงหรือ?

    วิพากย์วิจารณ์กันต่างๆนานา ว่าจริงๆแล้วปตท นั้นมาเก็บค่าท่อนำก๊าซกับประชาชนก็เพื่อหวังกำไร การลงทุนทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องหวังกำไร ปตท ก็เช่นกันเพราะปตท ก็คือธรุกิจค้าน้ำมัน อีกทั้งทำไมปตท ต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีด้วยล่ะ ทั้งๆที่ตอนแรกก็ถูกดีอยู่แล้ว? แล้วในเมื่อประเทศไทยก็ผลิตก๊าซ LPG เองได้ แล้วจะนำเข้ามาอีกทำไม? • ปตท. ไม่ได้นำทรัพย์สินของรัฐไปหาประโยชน์จากการจ่ายค่าเช่าท่อให้รัฐถูกๆ แล้วคิดค่าท่อกับประชาชนแพงๆ รายได้จากค่าผ่านท่อที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายคืนค่าเช่า 1,335 ล้านบาท และ ปตท. ไม่ได้นำค่าเช่าดังกล่าวมาคำนวณเป็นค่าผ่านท่อ แต่เป็นภาระที่ ปตท. รับไว้แต่เพียงผู้เดียว • รายได้ค่าผ่านท่อที่เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาทเป็นรายได้จากการลงทุนขยายท่อส่งก๊าซฯ ระบบใหม่ และลงทุนเพิ่มในการบำรุงรักษาท่อปัจจุบันให้มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 15 ปี รายได้ในส่วนนี้ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นจากการลงทุนระบบท่อใหม่และการบำรุงรักษาเพิ่มอีก และที่สำคัญรายได้ส่วนนี้คิดเป็นเพียง 1% ของเงินลงทุนที่ ปตท. ลงไปเท่านั้น ปตท ขูดรีดคนไทย แล้วทำไมเราคนไทยแท้ๆ ไม่เห็นเคยรู้เรื่องนี้เลยล่ะ • ปตท จะขูดรีดคนไทยได้ยังไง ในเมื่อหลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. […]


  • รู้จริง รู้ทั่ว รู้ทัน ปตท ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง

    รู้จริง รู้ทั่ว รู้ทัน ปตท ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง

    1.  ปตท ส่งออกน้ำมันเบนซิน ดีเซล ลิตรละ 24-25 บาทไปเขมรพม่าลาว “ทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ40” ข้อเท็จจริง : –                    เพราะเปรียบเทียบคนละฐานราคา ราคาส่งออกเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศจะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งหนึ่งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ ขณะที่ราคาจำหน่ายในประเทศที่นำเปรียบเทียบนั้นเป็นราคาขายปลีกซึ่งรวมภาษีและกองทุนต่างๆแล้ว (ปัจจุบันภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บของไทย อยู่ที่ประมาณ 14.80 บาทต่อลิตร สำหรับเบนซิน 91 และ 12  บาทต่อลิตร  สำหรับแก๊สโซฮอล์ 95 และ 2.95 บาทต่อลิตรสำหรับน้ำมันดีเซล ณ ราคาวันที่ 19 เม.ย. 2555) –                    เมื่อรวมภาษีและกองทุนที่แต่ละประเทศเรียกเก็บแล้ว ราคาน้ำมันที่กัมพูชาและลาวใช้ไม่ได้ถูกกว่าไทยโดยราคาเบนซินของกัมพูชาและลาวอยู่ที่ 43 บาท ขณะที่พม่าอยู่ที่ 33 บาทต่อลิตรเพราะเก็บภาษีต่ำกว่า ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งและผลิตที่สำคัญไทยยังมีราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน โดยราคาดีเซลของไทยอยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ขณะที่กัมพูชา ลาว และพม่า อยู่ที่ 39.9 และ 38.7 บาท และ […]


  • ทวงคืน ปตททำไม? มาช่วยกันแก้ก่อนจะสายดีกว่าไหม?

    ทวงคืน ปตททำไม? มาช่วยกันแก้ก่อนจะสายดีกว่าไหม?

    ราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าจริงเหรอ? ลักลอบขายก๊าซตามชายแดนเกี่ยวยังไงกับเรา? และถ้าราคาพลังงานของเรายังเหมือนเดิม จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน? ปตท ปล้นชาติหรือคนไทยกำลังโดนเพื่อนบ้านปล้นก­ำไร? แล้วจะทวงคืน ปตท ทำไม? หาคำตอบได้ในรู้ทันก๊าซ ตอนที่ 4 : แก้ก่อนจะสาย Share This:


  • ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ปตท โก่งราคาน้ำมัน

    ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ปตท โก่งราคาน้ำมัน

    ประเทศไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลก ปตท โก่งราคาน้ำมัน ปตท กลโกลแปดขั้น และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เราถกเถียงกันว่าทำไมต้องอ้างอิงราคา น้ำมันตลาดฯสิงคโปร์ด้วย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่าตลาดกลางคืออะไรครับ ทำไมต้องมีตลาดซื้อขายสินค้ากลางหรือต้องอ้างอิงราคาซื้อขายจากตลาดกลาง สินค้า อุปโภคบริโภค หรือ Commodities นั้น จะมีการแข่งขันสูง และความต้องการสูง เพราะเป็นสินค้าที่คนเราจำเป็นต้องกินต้องใช้กัน หรือเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันเป็นประจำ เช่น น้ำมัน สินค้าการเกษตร ข้าว อาหาร ผลไม้ ทองคำ แร่ หรือแม้แต่ หุ้น ก็ต้องมีตลาดกลางในการรองรับการซื้อขาย ราคาที่มาจากตลาดกลางนี้ จะเป็นราคาอ้างอิง หรือบรรทัดฐานในการซื้อขายสินค้าชนิดเดียวกันในภูมิภาคเดียวกันโดยปริยาย  ตัวอย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ผมสมมติว่าทุกกรณีไม่มีค่าเดินทางและค่าขนส่งครับ ตัวอย่างที่ 1: หุ้น ผม ถือใบหุ้นบริษัท A อยู่แล้วมีนาย ก. ต้องการซื้อใบหุ้นนี้ต่อจากผม ผมต้องคิดราคาหุ้นตัวนี้เท่าไร? ผมแน่ใจว่าทุกคนมีคำตอบอยู่แล้ว ราคาที่ที่ทั้งผมและนาย ก. จะตกลงซื้อขายกันได้ ก็ต้องเป็นราคาที่อ้างอิงมาจาก “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ที่เป็นตลาดการซื้อขายกลางที่มีนักลงทุนเข้ามาซื้อขายเป็นจำนวนมากเป็นการ สะท้อนถึงราคาหุ้นที่แท้จริงตามปัจจัยการลงทุน ณ ปัจจุบันนั่นเอง […]


  • ชำแหละน้ำมันแพง ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ20กว่าๆแล้วทำไมคนไทยต้องจ่าย40 บาท

    ชำแหละน้ำมันแพง ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ20กว่าๆแล้วทำไมคนไทยต้องจ่าย40 บาท

    ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ 24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท คำถาม ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ไทยส่งออกเบนซิน-ดีเซลขายกัมพูชาและลาวลิตรละ  24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท ความจริง ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน  ราคาส่งออกเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษี กองทุน และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศมีนโยบายด้านภาษีและกองทุนต่างกัน การคำนวณราคาขายปลีกจึงต่างกัน ขณะที่ราคาที่จำหน่ายในประเทศที่นำมาเปรียบ เทียบนั้นเป็นราคาขายปลีกซึ่งรวมภาษีและกองทุนต่าง ๆ แล้ว  ( ปัจจุบันภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บของไทยอยู่ที่ประมาณ 14.80 บาทต่อลิตรสำหรับเบนซิน  91  และ 12  บาทต่อลิตรสำหรับแก๊สโซฮอล์  95 และ 2.95 บาทต่อลิตรสำหรับน้ำมันดัเซล  ณ  ราคาวันที่  19 เม.ย. 2555 ) ฉะนั้น เมื่อรวมภาษีและกองทุนที่แต่ละประเทศเรียกเก็บแล้ว  ราคาน้ำมันที่กัมพูชาและลาวไม่ได้ถูกกว่าไทย  โดยราคาเบนซินของกัมพูชาและลาวอยู่ที่  43 บาท  ขณะที่พม่าอยู่ที่  33  บาทต่อลิตรเพราะเก็บภาษีต่ำกว่า   ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งและผลิต ประเทศไทยยังมีราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน    […]


  • โกงพลังงานไทย ใครกันแน่ที่โกง?

    โกงพลังงานไทย ใครกันแน่ที่โกง?

    ประชาชนเสียประโยชน์ แต่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์เต็มๆน่ะสิ่ใช่หรือ หลายๆคนคงเคยเห็นเปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย มีข้อความเท็จต่างๆนานา ลองมาดูข้อมูลจริงเรื่องท่อก๊าซฯของปตท.ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ปตท จะเป็นชื่อย่อของ ปตท คือปล้นตลอดทางจริงหรือไม่ แล้วอะไรๆที่ว่าแพงมันแพงจริงมั้ย สาเหตุเพราะอะไร การโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษา 1. ที่ดินจากการได้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เนื้อที่ 32 ไร่ 74.1 ตารางวา รวม 106 แปลงในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มูลค่า 1 ล้านบาท*  2. สิทธิการใช้ที่ดินของเอกชน ที่ ปตท. ได้มาโดยอำนาจมหาชนเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ประกอบด้วย ทรัพย์สินระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ตัวท่อส่งก๊าซฯ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ) มูลค่า 1,137 ล้านบาท* 3. ระบบท่อส่งก๊าซฯ เฉพาะส่วนที่อยู่ในที่ดินของเอกชน- โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย – โครงการท่อชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี – โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย – โครงการท่อมาบตาพุด-บางปะกง มูลค่า 15,037 ล้านบาท* *มูลค่าทางบัญชี […]


  • แล้วทำไมรัฐบาลของไทยถึงปล่อยให้น้ำมันแพงแบบนี้ล่ะ?

    แล้วทำไมรัฐบาลของไทยถึงปล่อยให้น้ำมันแพงแบบนี้ล่ะ?

    รัฐบาลไทยทำแบบนี้ เพราะมองการณ์ไกลน่ะสิ การกำหนดนโยบายพลังงานต้องมองเป้าหมายระยะยาว ไม่ใช่กำหนดนโยบายเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เมื่อตอนที่ประเทศไทยมีโรงกลั่นไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ รัฐบาลได้ไปชักชวนให้ต่างชาติมาลงทุนในธุรกิจกลั่นน้ำมันในบ้านเรา โดยกำหนดว่าราคาของโรงกลั่นใช้หลักการเสมอภาคกับการนำเข้า ซึ่งก็มีเหตุผลเพราะน้ำมันจากโรงกลั่นต้องแข่งขันกับต้นทุนนำเข้า หากโรงกลั่นกำหนดราคาสูงกว่าการนำเข้าผู้ค้าน้ำมันก็จะนำเข้าแทนการสั่งซื้อจากโรงกลั่นในประเทศ เมื่อถึงตอนนี้บ้านเรามีโรงกลั่นน้ำมันถึง 7 โรง และกำลังการกลั่นก็เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ รัฐบาลจะไปขอเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นให้ราคาขายต่ำกว่าราคานำเข้า ก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อการทำธุรกิจในอนาคต นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนทำธุรกิจอื่นๆ ในบ้านเราก็จะขาดความเชื่อมั่นต่อนโยบายรัฐ แล้วใครจะกล้ามาลงทุนในบ้านเราอีก และจะส่งผลกระทบให้ประเทศไทยไม่มีความมั่นคงทางพลังงานในอนาคตอีกด้วย   Share This:


  • ข้อเท็จจริงพลังงานไทย ปตท. โกงพลังงานไทยจริงหรือไม่??

    ข้อเท็จจริงพลังงานไทย ปตท. โกงพลังงานไทยจริงหรือไม่??

    ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจเสรีและราคาพลังงานก็เป็นไปตามกลไกเสรี โดยจะเห็นได้จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในบ้านเรา อ้างอิงจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดโลก (สิงคโปร์) ซึ่งโดยมากราคาน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยปกติแล้วเวลาที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้น ปตท. ก็ไม่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นทันที แต่จะพยายามตรึงราคาไว้ให้นานที่สุดจนค่าการตลาดต่ำกว่าระดับปกติ เผื่อตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาบ้าง แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ หรือตลาดโลกยังมีแนวโน้มขึ้นต่อจึงจะปรับขึ้นราคาขายปลีก ดังนั้น ในทางกลับกันขาลงจึงอาจรู้สึกว่ามีการปรับลดลงช้ากว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกอยู่บ้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงค่าการตลาดให้กลับมาสู่ระดับปกติิ จึงทำให้หลายๆ ท่านเกิดข้อสงสัยว่า ปตท. โกงพลังงานไทยหรือเปล่า การแข่งขันของ ปตท. นั้นอยู่บนการแข่งขันเสรี เช่น •  ธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไม่ได้เป็นธุรกิจผูกขาดเพราะเอกชนรายอื่นสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจได้ แต่สาเหตุที่มีผู้ประกอบการโรงแยกก๊าซฯ น้อยราย เนื่องมาจากต้องใช้เงินลงทุนสูง (เช่น โรงแยกก๊าซฯ ที่มีกำลังการแยกก๊าซฯ 800 ล้าน ลูกบาศก์ฟุต/วัน จะต้องใช้เงินลงทุนสร้างกว่า 30,000 ล้านบาท) และในปัจจุบันรัฐยังควบคุมราคา LPG ในประเทศต่ำกว่าตลาดโลก •  ธุรกิจ NGV  ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสถานีเอกชนประมาณ 88 สถานี จาก 470 สถานี และกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากการที่ ปตท. และภาครัฐสนับสนุนให้เอกชนมาลงทุนในสถานี NGV […]