NGV และ LPG อย่างไหนอันตรายกว่ากัน

ประเด็น NGV อันตรายกว่า LPG จนเกิดความสับสนว่าแท้จริงแล้วข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ ปตท ทรราชน้ำมัน จริงหรือเปล่า

จากการอธิบายของ นายวิสูตร ชินรัตนลาภ วิศวกรชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านก๊าซปิโตรเลียมเหลว กรมธุรกิจพลังงาน ถึงเรื่องนี้ว่า

NGV : Natural Gas Vehicle หรือ CNG : Compressed Natural Gas คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกบีบอัด มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นข้างบน ส่วน LPG : Liquefied petroleum gas คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือที่เรียกกันว่า ก๊าซหุงต้ม ที่ใส่ถังใช้กันตามบ้านทั่วไป มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศ จึงกองรวมกับพื้น โดยทั้งสองตัวคือก๊าซธรรมชาติเหมือนกัน และ ทั้งสองตัวนี้ถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนทั้งคู่เพื่อเป็นทางเลือกเพื่อความประหยัด ซึ่งในเมื่อไม่ใช่เชื้อเพลิงหลักที่ออกแบบมาโดยตรงแล้ว การบำรุงรักษาอุปกรณ์ต้องเข้มงวด

LPG เวลาบรรจุถัง จะควบแน่นอยู่ในรูปของเหลว มีข้อดีคือสามารถบรรจุได้เยอะ ถังที่ใช้ก็ไม่ต้องเป็นถังที่ทนแรงดันสูงมาก ส่วน NGV นั้นเบากว่าอากาศและระเหยง่าย การบรรจุถังเก็บอยู่ในรูปของก๊าซไม่ยุบตัวจึงต้องใช้แรงดันมากกว่า แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นว่าอันตรายกว่าหรือจะให้ปตท เป็นทรราชน้ำมัน เพราะในเมื่อแรงดันสูงภาชนะที่ใช้ก็ต้องปรับตัวให้รับแรงดันระดับนี้

สำหรับมาตรฐานความปลอดภัยของถังที่บรรจุก๊าซทั้งสองชนิดนั้น สำหรับ NGV ต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บ หนาราว 8 มม. ส่วน LPG ต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บ หนาราว 2.5 มม.

เรื่องความปลอดภัยนั้นการใช้งานต้องเอาใจใส่ เช็คเรื่องการรั่วไหลไม่ให้เกิดอันตราย เพราะก๊าซโดยธรรมชาติมีความสามารถรั่วง่าย และเล็ดลอดได้ง่าย แต่ถ้าอุปกรณ์แน่นหนาสมบูรณ์ก็ปลอดภัย การตรวจสอบสำคัญเพราะรถต้องมีกำหนดดูแล

“ที่สำคัญคือ จมูกเราต้องทำงาน อย่าง LPG จะหนัก เวลารั่วก็จะไหลลงดิน ฉะนั้นเราจึงเติมกลิ่นเข้าไปเพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการรั่ว เมื่อมีสัญญาณนี้ต้องหาช่างมาตรวจสอบ อีกอย่างคือ หู สำคัญมาก หู เราต้องทำงานตลอด ได้ยินเสียงปี้ด ปี๊ด ต้องพิจารณา ถ้าจะให้ต่อยอดขึ้นไปอีก คือ ใช้ตาดู โดยใช้น้ำสบู่ ไปลูบไล้ตามท่อหรือข้อต่อ ดูว่ารั่วหรือไม่ ต้องตรวจสอบว่ามีรอยรั่วที่ท่อส่งหรือไม่ หากพบต้องปิดวาล์วที่ถังไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน เพราะอย่าลืมว่าถ้าก๊าซรั่วเฉยๆ ยังแก้ไขได้ คือถ้าเรารู้ก่อนก็ปิดวาล์วเสีย ส่วน NGV เวลารั่วก็จะลอยขึ้นข้างบน จะไม่สะสม ดังนั้นโอกาสที่จะเอาไฟไปจ่อก๊าซที่ลอยไปข้างบนก็ถือว่ายากกว่า”

แล้วอย่างไหนอันตรายกว่ากัน

ถ้าติดไฟก็อันตรายหมด ก็ต้องเข้าใจว่าองค์ประกอบการติดไฟ ต้องมี 3 อย่าง คือ เชื้อเพลง ประกายไฟ และอากาศ หาก 3 อย่างนี้ผสมกันพอดีก็จะเกิดเพลิงไหม้ และถ้าไหม้ในที่อับอากาศก็จะเกิดเสียงดังขึ้น ชาวบ้านเรียกว่า ระเบิด ดังนั้นเมื่อก๊าซรั่วได้ สิ่งที่ต้องทำคือหมั่นดูแลก่อนจะเกิดอุบัติเหตุ ต้องบำรุงรักษาตรวจสอบ หรือไม่ใช้ผิดประเภท เช่น นำอุปกรณ์ LPG ไปใช้กับ NGV อย่างนี้อันตราย

อย่างไรก็ตามเมื่อตัดสินใจใช้พลังงานทดแทนนี้ ไม่ว่า LPG หรือ NGV หลักคือต้องป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล ไม่ให้ประกายไฟเกิด อุปกรณ์ต้องมาตรฐาน  ต้องตรวจสอบอย่างมั่นใจว่าถังแข็งแรงใช้เก็บเชื้อเพลิงได้ตามที่ออกแบบ จุดเชื่อมต่อต้องสนิทไม่รั่ว เพื่อความปลอดภัยของทุกท่านที่ใช้งาน NGV และ LPG

ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/

Share This: