Articles Posted in the " ลอยตัว lpg " Category

  • ปตท.เป็นของใครกันแน่

    ปตท.เป็นของใครกันแน่

    ข่าวที่ว่าประชาชนทุกวันนี้เดือดร้อนเรื่องน้ำมันกันถ้วนหน้านั้น เพราะใครกัน ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ข่าวน้ำมัน LPG ขึ้นราคาของ ปตท ก็เริ่มที่จะสูงขึ้นไปทุกวัน ประเด็นร้อนอย่างมากในทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าข่าวช่องไหนก็จะเลี่ยงที่จะไม่ฟังก็ไม่ได้เลย  และล่าสุดก็มีที่พูดกันว่าคนที่มีรถขับก็คงต้องทุกข์เดือดร้อน เพราะ ปตท เป็นเพราะมีคนโลภมาก+ขี้โกง+มีอำนาจ จะอยากได้ในสิ่งที่ต้องการมากๆ สามารถทำผิด เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก็รู้อยู่ว่าคนที่โลภมากขี้โกง เมื่อมีอำนาจ ก็จะคิดค้นกลโกงต่างๆ เพื่อสนองตัญหาความโลภมากขี้โกงของตัวเองและผลร้ายจากการโกง ก็จะตกลงมาอยู่ที่ “ประชาชน” การลอยตัว LPG คือเรื่องหนึ่งที่คนไทยถูกโกงอย่างหน้าด้านๆจากกลุ่มผู้มีอำนาจที่โลภมากขี้โกง เราผลิต LPG ได้เพียงพอใช้กับคนไทยเจ้าของทรัพยากร แต่ภาคปิโตรเคมีของกลุ่มปตท.มาแย่งใช้ จนทำให้ภาพรวมไม่พอใช้ ต้องนำเข้า แทนที่หน่วยงานของรัฐ จะภาคให้ปิโตรเคมีรับผิดชอบ กลับผลักภาระมาให้ประชาชน ด้วยการลอยตัวภาคครัวเรือน และภาคขนส่ง ส่วนภาคปิโตรเคมีตัวการสำคัญที่ทำให้ไม่พอใช้ กลับไม่ยอมลอยตัวของ LPGในส่วนของปตท.เอง ก็มีศักยภาพในการสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่ม แต่ก็ไม่ยอมสร้าง เพราะต้องการให้ LPG ไม่พอใช้ จะได้เอามาเป็นข้ออ้างในการลอยตัว และเหตุผลหนึ่งในการลอยตัวของก๊าซหุงต้มก็คือ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมัน ประมาณว่าเมื่อลอยตัวแล้ว จะเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมัน LPG ถูกลง แต่ลอยตัวมาจะเข้าสู่เดือนที่ 9 […]


  • ยกเลิกกองทุนน้ำมัน แก้ไขปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืนได้จริงหรือ??

    หลังจากที่มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านการยกเลิกกองทุนน้ำมันออกมามากมาย จนทำให้หลายคน เกิดความสงสัยกับเจ้ากองทุนน้ำมันว่ามันคืออะไร และถ้ายกเลิกไปแล้วมันจะทำให้อะไรๆ  ดีขึ้นจริงเหรอ วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อม กันนะครับ ก่อนอื่นผมขอเล่าประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกองทุนน้ำมันโดยย่อแล้วกันว่า กองทุนน้ำมันจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยประสบกับวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจาก OPEC ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง  ซึ่งรัฐบาลโดยพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีพยายามที่จะรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศให้มีเสถียรภาพไม่ต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศให้มีเสถียรภาพ ไม่ต้องปรับราคาขายปลีกตามราคาน้ำมันดิบทุกครั้งที่ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลง และต้องการรวมกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกัน จึงได้อาศัยอำนาจพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522  จัดตั้ง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งรวมกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง กับกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ ในกรณีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อน ของประชาชน น้อยที่สุด ในปี 2534 รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซลและเตา โดยเหลือเพียงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ) ที่ยังคงมีการควบคุมราคาอยู่ […]