Articles Posted in the " แฉ แปรรูป ปตท " Category

  • เปิดโปง ปตท การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?

    เปิดโปง ปตท การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?

    ข้อกล่าวหาหนึ่งเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจพลังงานของปตท.ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตลอดเวลาก็คือรัฐบาลได้ให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ(ห้าในหกแห่ง)ทำให้ปตท.มีอำนาจในการควบคุมการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ก่อให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้น้ำมันที่ขายในประเทศมีราคาแพงและทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเปิดโปง ปตทและหยิบยกอีกหลายๆ ประเด็นมาพูดถึงเพราะเนื่องจากมีการผูกขาดตัดตอนเรื่องการผูกขาดธุรกิจพลังงานของประเทศโดยปตท.นั้นเป็นเรื่องที่ติดพันกันมานานตั้งแต่ปตท.ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัวและเข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาลดังนั้นจึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งก็เป็นเช่นนี้ในทุกประเทศที่มีการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ด้านพลังงานให้แก่รัฐ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแปรรูปปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชนทุกฝ่ายรวมทั้งปตท.ก็เห็นด้วยว่าควรจะลดการผูกขาดลงโดยเฉพาะในธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะให้มีเปิดเสรีมากขึ้นโดยอาจให้เริ่มในกิจการท่อส่งก๊าซและการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อนแต่ในส่วนของธุรกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดยปตท.มากถึง  83% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด (โดยคิดง่ายๆว่าปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น = 83%) นั้น ผมคิดว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ง่ายเกินไปและไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่นเหล่านี้ ทำให้ปัจจุบันปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นต่างๆดังนี้ ไทยออยล์  49.1% PTTGC 48.9% IRPC 38.5% SPRC 36.0% BCP 27.2% จะเห็นว่าโดยนิตินัยแล้ว ไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย โดยในกรณีของ SPRC นั้นชัดเจนว่า Chevron ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 64% เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นโดยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารก็ทำโดยคณะกรรมการบริษัท 9 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ Chevron […]


  • ข้อเท็จจริงพลังงานไทย ปตท. โกงพลังงานไทยจริงหรือไม่??

    ข้อเท็จจริงพลังงานไทย ปตท. โกงพลังงานไทยจริงหรือไม่??

    ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจเสรีและราคาพลังงานก็เป็นไปตามกลไกเสรี โดยจะเห็นได้จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในบ้านเรา อ้างอิงจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดโลก (สิงคโปร์) ซึ่งโดยมากราคาน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยปกติแล้วเวลาที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้น ปตท. ก็ไม่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นทันที แต่จะพยายามตรึงราคาไว้ให้นานที่สุดจนค่าการตลาดต่ำกว่าระดับปกติ เผื่อตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาบ้าง แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ หรือตลาดโลกยังมีแนวโน้มขึ้นต่อจึงจะปรับขึ้นราคาขายปลีก ดังนั้น ในทางกลับกันขาลงจึงอาจรู้สึกว่ามีการปรับลดลงช้ากว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกอยู่บ้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงค่าการตลาดให้กลับมาสู่ระดับปกติิ จึงทำให้หลายๆ ท่านเกิดข้อสงสัยว่า ปตท. โกงพลังงานไทยหรือเปล่า การแข่งขันของ ปตท. นั้นอยู่บนการแข่งขันเสรี เช่น •  ธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไม่ได้เป็นธุรกิจผูกขาดเพราะเอกชนรายอื่นสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจได้ แต่สาเหตุที่มีผู้ประกอบการโรงแยกก๊าซฯ น้อยราย เนื่องมาจากต้องใช้เงินลงทุนสูง (เช่น โรงแยกก๊าซฯ ที่มีกำลังการแยกก๊าซฯ 800 ล้าน ลูกบาศก์ฟุต/วัน จะต้องใช้เงินลงทุนสร้างกว่า 30,000 ล้านบาท) และในปัจจุบันรัฐยังควบคุมราคา LPG ในประเทศต่ำกว่าตลาดโลก •  ธุรกิจ NGV  ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสถานีเอกชนประมาณ 88 สถานี จาก 470 สถานี และกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากการที่ ปตท. และภาครัฐสนับสนุนให้เอกชนมาลงทุนในสถานี NGV […]