Articles Posted in the " แปรรูปรอบ 2 ปตท. " Category

  • ความเข้าใจผิดเรื่องแยก PTTOR ไม่ได้แปรรูป รอบ2

    ได้มีโอกาสอ่านข้อเขียนเกี่ยวกับประเด็นความเข้าใจผิดเรื่องการแยก PTTOR เนื้อหาข้อเขียนสามารถสื่อและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการแยก PTTOR เป็นอย่างดี ทั้งยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่การกระจายหุ้นที่จะเกิดขึ้นได้อย่างน่าสนใจ เลยอยากนำบทความมาให้ได้ลองอ่านกัน “ประเด็นที่ร้อนแรง และคิดว่าจะมีแค่คนบางกลุ่มที่เข้าใจผิดว่า การประกาศปรับโครงสร้างของกลุ่ม ปตท. คือการแปรรูป และเกิดการตั้งคำถามต่างๆ นานา ว่าอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ต่างๆ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การแปรรูป ปตท. โดยรัฐบาลมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาตั้งแต่รัฐบาลนายกฯชวน (ปี 2540) ตามคำแนะนำของ IMF เพื่อลดภาระของรัฐจากวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น และการโอนทรัพย์สินจากการปิโตรเลียมฯมาให้ บมจ.ปตท. ในปี 2544 ดำเนินการตาม พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ (2542) และมติ ครม. ที่สอดคล้องกับความเห็นของสนง.กฤษฎีกา ในขณะนั้น ดังนั้น การปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. จึงไม่ขัดต่อกฎหมายแปรสภาพและจัดตั้ง บมจ. ปตท. เพราะการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (“พรบ. บริษัทมหาชนฯ”) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. ในครั้งนี้ยังคงต้องได้รับการอนุมัติ จากหน่วยงานต่างๆ […]


  • แปรรูปรอบ 2 ของ ปตท. … เข้าใจผิดหรือแค่พยายามบิดเบือน

    แปรรูปรอบ 2 ของ ปตท. … เข้าใจผิดหรือแค่พยายามบิดเบือน

    ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีกระแสทุนนิยมเป็นหลักนั้น ย่อมต้องมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็จะเป็นกลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเสียผลประโยชน์จะทำการคัดค้านและต่อต้าน ส่วนผู้ที่เห็นด้วยก็คงได้แต่รับฟังและปรับตัวเพื่ออยู่ให้ได้กับกระแสของทุนนิยม ย้อนกลับไปยุคหนึ่งสมัยหนึ่งประเทศไทยประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ที่หลายๆคนเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 2540 ตอนนั้นประเทศไทยต้องกู้เงินจาก IMF (International Monetary Fund) ภาษาไทยเรียกว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งการที่จะกู้เงินจาก IMF ได้นั้น ต้องทำตามสิ่งที่เขากำหนด ซึ่งหนึ่งในข้อตกลงนั้นก็คือต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัท (corporatization) โดย การนำหุ้นออกขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อถ่ายโอนความเป็น เจ้าของไปสู่ภาคเอกชน (privatization) ซึ่งจะทำให้รัฐวิสาหกิจกลายเป็น “องค์กรธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ” แต่รัฐบาลไทยขณะนั้นได้แก้ลำโดยการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อที่จะมีความยืดหยุ่นและยังคงสภาพรัฐวิสาหกิจไว้ในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยที่กระทรวงการคลังถือหุ้นในสัดส่วนที่เกิน 50% โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติระบุถึงการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากรูปแบบเดิมที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐมาเป็นรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด และระบุต่อว่าการเปลี่ยนสถานะโดยการเปลี่ยนทุนนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการและเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ โดยการกระจายหุ้นที่รัฐถือไว้ ให้แก่ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและการบริหารจัดการ ขั้นตอนแรกที่เป็นการเปลี่ยนสถานะโดยการเปลี่ยนทุนนี้เอง พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 บัญญัติถึงการนำทุนของรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท และเรียกกันสั้น ๆ ว่า “เปลี่ยนสภาพ” ขั้นตอนถัดมาที่ระบุว่าเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นรวมถึงการกระจายหุ้นให้แก่เอกชนซึ่งในกรณีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คือการเสนอขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นตอนหลังนี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า […]