ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพงกับปัจจัยที่ทำให้น้ำมันแพง

เป็นคำถามคาใจใครหลาย ๆ คน ว่าทำไมประเทศไทยถึงมีราคนาน้ำมันแพง การจะตอบคำถามนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน คือ ‘โครงสร้างราคาน้ำมัน’ โดยเสีย ค่าภาษี ค่าการตลาด รวมไปถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันให้กับภาครัฐ จึงทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกมีราคาอยู่ในระดับปัจจุบันนี้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้คือรัฐบาลไม่ใช่บริษัทผู้ค้าน้ำมัน

ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1.ต้นทุนเนื้อน้ำมันสำเร็จรูป ราคาที่โรงกลั่นน้ำมันขายให้กับผู้ค้าน้ำมัน (ยังไม่รวมภาษีและกองทุน) โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนด และการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ ซึ่งปรับขึ้น – ลง ตามราคาตลาดโลก

2.ภาษีและเงินเข้ากองทุน ซึ่งภาครัฐเป็นผู้กำหนด โดยเรียกเก็บแตกต่างกันออกไป

– ภาษีสรรพสามิต รัฐมองว่าน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงต้องเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกันไป

– ภาษีเทศบาล เป็นภาษีท้องถิ่นนำไปดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่

– ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดจากราคาน้ำมันที่ขาย ณ สถานีบริการน้ำมัน เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป
– เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกเก็บหรือชดเชยโดยกระทรวงพลังงาน เป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน คือเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกสูงเกินไป ก็จะใช้เงินส่วนนี้เข้ามาพยุงราคาขายปลีกในประเทศไว้
– เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เรียกเก็บหรือชดเชยโดยกระทรวงพลังงาน นำไปส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในประเทศ

3.ค่าการตลาด ไม่ใช่ ‘กำไร’ ของเจ้าของปั๊ม แต่เป็นค่าใช้จ่ายของทั้งเจ้าของปั๊มน้ำมันและบริษัทผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถกำหนดเองได้อย่างเสรี

ทำยังไงให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยราคาถูกลง ปัจจัยแรกราคาน้ำมันในตลาดโลกเราไม่สามารถกำหนดและควบคุมได้ และโครงสร้างราคาน้ำมันจะบริหารจัดการในการจัดเก็บค่าการตลาด ค่าภาษี รวมถึงจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันต่างๆให้เหมาะสมอย่างไร ให้เพียงพอและให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฐับาลควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการบริหารงบประมาณและภาษีอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ปัจจัยราคาน้ำมันในตลาดโลก

Share This: