โบลีเวียโมเดล กับ ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท

1374218_10151950101164124_1877050953_n(ซ้ายมือ) โปสเตอร์ชวนเชื่อในเหตุการณ์ Bolivian Gas War ในประเทศโบลีเวียในช่วงปี 2005 และ (ขวามือ) โลโก้กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย

ท่ามกลางกระแส “ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท” ที่มีอยู่ในประเทศไทยในเวลานี้นั้นเกิดขึ้นจากคนกลุ่มๆ หนึ่งที่ต้องการให้แหล่งปิโตรเลียมและบริษัทพลังงานแห่ง ชาติ หรือ ปตท นั้น กลับคืนสู่รัฐ 100% และขอมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดิน เพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงๆ เพื่อเอามาสร้างระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล ต่างๆ นานาตามที่กล่าวอ้าง ฟังดูเผินๆ ก็เหมือนกับว่าทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตทนี้เป็นกลุ่มคนดี มีอุดมการณ์ที่ดี ทำเพื่อประชาชนและหน่วยงานพลังงานของรัฐ คือ กระทรวงพลังงานและ ปตท กลายเป็นปีศาจร้ายแต่ต้องถามใจเราเองก่อนว่า กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตทเหล่านั้นมีเจตนาดีจริงหรือ ต้องการให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องพลังงานแก่ประชาชนจริงๆ หรือเปล่า

จุดเริ่มของเหล่านักทวงคืนพลังงานนั้นมาจาก Role Model ของพวกเค้าคือ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส แห่งโบลีเวียนั่นเองที่ได้ประกาศว่า “el gas es nuestro” หรือ “ก๊าซเป็นของพวกเรา” ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2006 และได้มีการออกกฎหมายแปรรูปบริษัทน้ำมันแห่งชาติ YPFB กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ 100% (Nationalization) ยึดสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ โดยมีการส่งกองกำลังไปยึดบ่อก๊าซและน้ำมันทุกแห่งจำนวน 56 แห่งและบังคับให้บริษัทน้ำมันต่างชาติทำสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมฉบับใหม่ภาย ใน 180 วัน ถ้าไม่ตกลงก็ต้องออกจากโบลีเวีย โดยสัญญาใหม่จะเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐเพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 82% สำหรับแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ 2 แหล่ง San Alberto และ San Antonio ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บผลประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 320 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปเป็น 780 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2007 และนำรายได้ที่เพิ่มเติมมาเป็นงบประมาณในการสร้างระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน และโรงพยาบาล รวมถึงการให้เงินอุดหนุนแก่เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุและคุณแม่คนใหม่ด้วย และทำการอุดหนุนราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล จุดเริ่มของคำประกาศดังกล่าวมาจากกระแสทวงคืนก๊าซธรรมชาติของชาวโบลีเวีย เรียกกันว่า “สงครามก๊าซของโบลีเวีย (Bolivian gas war)” มีการจุดติดทางความคิดและมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลของอดีต ประธานาธิบดีโลซาดาอย่างรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 80 คน และเป็นเหตุให้รัฐบาลนั้นล้มไป จึงทำให้ เอโบ โมราเลส ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่จากการวางนโยบายยึดแหล่งก๊าซธรรมชาติ กลับมาสู่รัฐดังกล่าว (แต่สุดท้ายผลของนโยบายดังกล่าวของโมราเลสส่ง ผลถึงปัจจุบันคือทำให้โบลีเวียมีปริมาณสำรองลดลงเหลือเพียง 9.94 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และไม่มีบริษัทไหนอยากมาลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอีก ขณะที่โบลีเวียต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศจึงต้องเริ่มมีการปรับ นโยบายให้เป็นมิตรต่อต่างชาติมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในโบลีเวียต่อไป ซึ่งข้อมูลนี้กลุ่มทวงคืนพลังงานไทยไม่เคยพูดถึง…)

จากเรื่องราวดังกล่าวนี้จึงทำให้มีคนไทยกลุ่มๆ หนึ่งอ้างตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจัดตั้งทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในสื่อออนโลน์ โซเชียลเน็ตเวิร์ค ออกรายการทีวีต่างๆ สร้างกระแสทวงคืนขึ้นมา โดยมีการกล่าวหาว่ารัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนสัมปทานปิโตรเลียมน้อยที่สุดในโลกแค่ 34% โดยเทียบกับประเทศโบลีเวียที่ได้ถึง 82% กล่าวหาว่า และกล่าวอ้างว่าประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติมหาศาลติดถึงอันดับที่ 24 ของโลก ผลิตน้ำมันมหาศาลเหลือถึงขั้นส่งออก แต่ไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลกทำให้ปตท กำไรแสนล้าน เป็นต้น ถ้าหากเรื่องนี้ถูกจุดติดขึ้นมาเป็นกระแสขั้นรุนแรงเหมือนอย่างประเทศโบลี เวีย ก็จะกลายว่าจะมีผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเล่นเรื่องนี้ เป็นพล็อตเรื่องเหมือน “โบลีเวียโมเดล”

แต่ทีนี้กระแสนี้กลับจุดไม่ค่อยติด เหมือนเกือบจะจุดติดอยู่ระยะนึงแต่ก็ต้องแผ่วไป เมื่อมีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานตัวจริงที่มีประสบการณ์การทำงานในวงการ พลังงานจริงๆ (ไม่ใช่เชี่ยว ชาญมาจาก Google) และหน่วยงานด้านพลังงานของไทย เช่น กระทรวงพลังงาน ปตท สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ได้ช่วยกันออกมาช่วยชี้แจงข้อเท็จจริงพลังงานไทยทั้งในสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ การจัดเสวนาทางวิชาการและโดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้รับทราบข้อเท็จจริงของธุรกิจปิโตรเลียม อย่างถูกต้อง ทำให้ประชาชนบางส่วนที่เคยหลงเชื่อกลุ่มนักทวงคืนก็มีความเข้าใจมากขึ้น แล้วก็ “เลิกทวง ไปในที่สุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/notes/siriwat-whin-vitoonkijvanich/พลังงานไทย-เพื่อคนไทย-จริงๆ-ตอนที่-9-โบลีเวียโมเดล-กับ-ทวงคืนพลังงานไทย/10151755058034124

ขอบคุณที่มาจาก: สิริวัต วิทูรกิจวานิช 4 ต.ค.2556

Share This: