Articles Posted by the Author:

  • ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพงกับปัจจัยที่ทำให้น้ำมันแพง

    เป็นคำถามคาใจใครหลาย ๆ คน ว่าทำไมประเทศไทยถึงมีราคนาน้ำมันแพง การจะตอบคำถามนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน คือ ‘โครงสร้างราคาน้ำมัน’ โดยเสีย ค่าภาษี ค่าการตลาด รวมไปถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันให้กับภาครัฐ จึงทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกมีราคาอยู่ในระดับปัจจุบันนี้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้คือรัฐบาลไม่ใช่บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.ต้นทุนเนื้อน้ำมันสำเร็จรูป ราคาที่โรงกลั่นน้ำมันขายให้กับผู้ค้าน้ำมัน (ยังไม่รวมภาษีและกองทุน) โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนด และการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ ซึ่งปรับขึ้น – ลง ตามราคาตลาดโลก 2.ภาษีและเงินเข้ากองทุน ซึ่งภาครัฐเป็นผู้กำหนด โดยเรียกเก็บแตกต่างกันออกไป – ภาษีสรรพสามิต รัฐมองว่าน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงต้องเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกันไป – ภาษีเทศบาล เป็นภาษีท้องถิ่นนำไปดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่ – ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดจากราคาน้ำมันที่ขาย ณ สถานีบริการน้ำมัน เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป – เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกเก็บหรือชดเชยโดยกระทรวงพลังงาน เป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน คือเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกสูงเกินไป ก็จะใช้เงินส่วนนี้เข้ามาพยุงราคาขายปลีกในประเทศไว้ – เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน […]


  • ไทยรัฐ นิวส์โชว์ ถอดสูท ชาญศิลป์ ตรีนุชกร (CEO ปตท.) 29 ก.ย.62

    ไทยรัฐ นิวส์โชว์ ถอดสูท ชาญศิลป์ ตรีนุชกร (CEO ปตท.) 29 ก.ย.62

    ใครที่มีโอกาสได้ชมรายการ ถอดสูท คงคุ้นหน้าคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดีโดยเฉพาะใครที่อยู่ในแวดวงพลังงาน กับเรื่องของ 3P People Planet Prosperity ซึ่งเป็นวิชั่นที่คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร วางไว้ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งเป็นแนวคิด เน้นการพัฒนาคน ไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส สำหรับใครที่พลาด และไม่สะดวกที่จะหาชม เราได้ถอดเนื้อหาจากรายการให้ได้ลองอ่านกัน รักคน รักโลก และเติบโตอย่างยั่งยืน คือหัวใจหลักที่นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท. ยึดถือและสานต่อในการใช้จัดการบริหารองค์กรมาตลอดระยาเวลากว่า 40 ปี … ชาญศิลป์ ตรีนุชกร: เรามีนโยบายเลยว่า เราต้องดูแล People Planet แล้วก็ Prosperity คำว่า People Plane People เนี่ยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือพนักงานกับคู่ค้าแล้วก็คนที่ทำงานร่วมกัน partner ต่างๆ แล้วก็รวมถึงภาคประชาชน คู่ค้าของ ปตท. ต้องได้รับ Products ที่ดีที่สุดบนความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ในภาคสังคม ปตท.ให้ความสำคัญด้านการศึกษาที่จะช่วยพัฒนาและต่อยอดศักยภาพของเยาวชน และที่สำคัญ ปตท.ให้คามสำคัญกับความเท่าเทียม และการสร้างงานผ่านโปรเจค […]


  • หุ้นทั่วไป หรือ “หุ้นไอพีโอ”  IPO ของ ปตท.

    หุ้นทั่วไป หรือ “หุ้นไอพีโอ” IPO ของ ปตท.

    ในการเสนอขายหุ้นทั่วไปครั้งแรกหรือที่นักลงทุนเรียกว่า “หุ้นไอพีโอ” มาจากคำว่า IPO ซึ่งเขียนเต็มๆว่า Initial Public Offering เป็นหุ้นที่บริษัทเสนอขายประชาชนทั่วไปครั้งแรกและไม่เคยมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มาก่อน ซึ่งบริษัทที่จะออกหุ้นไอพีโอต้องศึกษากฎระเบียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทและช่วยปรับปรุงเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงบการเงินที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ หลัง จากนั้นจึงมีการตั้งกรรมการตรวจสอบ จากนั้นประมาณ 2-5 เดือน ก่อนยื่นคำขอดังกล่าวต้องแปรสภาพบริษัทมหาชนจำกัด และจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอจำหน่ายหุ้นไอพีโอสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งวางแผนการกำหนดราคาตลอดจนการจัดจำหน่ายหุ้นและประชาสัมพันธ์  และเมื่อถึงระยะ 1- 2 เดือนก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ บริษัทต้องจัดตั้งกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ แต่งตั้งนายทะเบียนหลักทรัพย์ยื่นคำขออนุญาตขายหุ้นต่อสำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลอดถึงเตรียมเรื่องการเยี่ยมชมกิจการและตอบข้อซักถามของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และเมื่อยื่นคำขออนุญาตขายหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วต้องเตรียมการเรื่องการเยี่ยมชมกิจการและตอบข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์โดยสามารถเตรียมพร้อมกันกับส่วนของ ก.ล.ต. แล้วจึงเสนอขายแก่ประชาชนได้และสามารถเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 2 วันทำการ นับจากวันที่มีการสั่งรับหลักทรัพย์จดทะเบียน ในการกำหนดราคาของบริษัทที่จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะเป็นหน้าที่ของวาณิชธนกิจ ที่จะคำนวณราคาเหมาะสมในการ IPO โดยส่วนใหญ่จะหาค่า Intrinsic Value (มูลค่าที่แท้จริง)ก่อนโดย Dividend Discount Model (การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล), Residual Income Model (การวัดมูลค่าหลักทรัพย์ตามวิธีกําไรส่วนเกิน) และ […]


  • เทียบกรณีระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ กับราคาน้ำมันที่ ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด

    จากกรณีฝูงเครื่องบินไร้คนขับเข้าถล่มหน่วยปรับสภาพน้ำมันดิบก่อนส่งออกขาย 2 แห่งในซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นเหตุให้ตลาดราคาน้ำมันดิบและตลาดน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้นมาก ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มีผลกระทบกับสถานการณ์การจัดหาและราคาน้ำมันโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าพลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำมัน เพราะฉะนั้นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบต่อประเทศไทยแน่นอน แม้ว่าจะไม่มีการประกาศปรับราคา แต่กลไกโครงสร้างภายในก็มีความผันผวนให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจากกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ปตท. ไม่ได้มีสิทธิ์เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หรือแทบไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศได้ตามที่หลายท่านมีอคติ             เกิดอะไรขึ้นบ้างกับราคาน้ำมันหลังเกิดเหตุการณ์!!!                 ด้วยเหตุว่าสถานที่ที่ถูกโจมตี 2 แห่งนั้น เป็นแหล่งที่ผลิตน้ำมันดิบสำคัญ ทำให้เกิดการสูญหายของกำลังผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และทำให้น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก (1. สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าเวสต์เท็กซัสทะยานขึ้นกว่า 11% 2.ไนเม็กซ์ปรับตัวขึ้นกว่า15%แตะที่ราคา 63.34 ดอลลาร์/บาร์เรล 3.สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะยานกว่า 19%แตะที่ราคา 71.95 ดอลลาร์) และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในครั้งนี้ส่งผลให้ตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ที่ประเทศไทยอ้างอิงราคาปรับพุ่งสูงขึ้นมากตามตลาดน้ำมันดิบ ( เช่น ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 10% เพียงช่วง 3 วันหลังการโจมตี) และกระทบต่อราคาหน้าโรงกลั่นประเทศไทยที่ต้องปรับตาม ยังผลให้ค่าการตลาดน้ำมันในขณะนั้นอยู่ในระกับที่ต่ำมาก จากสถานการณ์ที่ค่าการตลาดลดต่ำลงมาก เกิดเป็นกระแสข่าวการปรับราคาน้ำมันตามสื่อต่างๆ ในโซเชียล อันแสดงให้เห็นว่า […]


  • ชาญศิลป์ ตรีนุชกร 2

    ชาญศิลป์ ตรีนุชกร 2

    เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2561 นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ได้เริ่มดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จากวันนั้นจนถึงวันนี้เป็นเวลา 1 ปี กับการเป็นหัวเรือใหญ่ นำพาให้ ปตท. เป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจ เน้นความโปร่งใส สู่ความยั่งยืน มีความก้าวหน้า และรุ่งเรืองในอนาคต นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการทำงานใน ปตท. มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สามารถตอบสนองแผนกลยุทธ์ของ ปตท. ในยุค Disruptive Technology ได้เป็นอย่างดี แสวงหาธุรกิจใหม่ของ ปตท. และสามารถขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความท้าทายต่าง ๆ ทั้งปัจจุบันและอนาคต ภายใต้วิสัยทัศน์นโยบาย CHANGE for Future of Thailand 4.0 และยังกำกับดูแลการดำเนินการภายในองค์กและดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ “การทำงานร่วมกัน” เป็นเรื่องที่คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกรให้ความสำคัญ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของทีมให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากทีมล้วนเป็นคนรุ่น Gen X และ […]


  • โครงสร้างราคาน้ำมันมีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศอย่างไร

    ราคาน้ำมันแต่ละประเทศมีนโยบายการกำหนดโครงสร้างและสัดส่วนในแต่ละโครงสร้างที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่ราคาปลายทางหรือราคาหน้าปั๊มที่มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหยิบราคาน้ำมันสำเร็จรูปของแต่ละประเทศมาเทียบกันโดยอาจพูดแต่เพียงแมสเสจที่ว่าประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันให้กับประเทศอื่นที่มีราคาหน้าปั๊มถูกกว่าไทย ยิ่งสร้างความบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดว่า ราคาน้ำมันไทยแพงอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันมีเหตุผลเรื่องโครงสร้างราคา ซึ่งทำให้ราคาแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ในบทความที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของโครงสร้างราคาในประเทศไปแล้ว คราวนี้จึงอยากขอยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงมาให้ดูกันว่า โครงสร้างราคาประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร เทียบ มาเลเซีย เทียบราคากับประเทศมาเลเซีย ในส่วนราคาหน้าโรงกลั่นด้วยความที่คุณภาพน้ำมันที่แตกต่างกัน กับนโยบายของภาครัฐ เรื่องผสมพลังงานทดแทนทำให้ราคาหน้าโรงกลั่นที่อ้างอิงสิงคโปร์มีความแตกต่างกันบ้าง ส่วนนโยบายเรื่องภาษีและกองทุนต่างๆ รัฐไม่มีการจัดเก็บหรือจัดเก็บบางตัวในสัดส่วนที่ต่ำ และนอกจากนั้นรัฐยังช่วยอุดนหนุนราคา (ช่วยจ่ายน้ำมันในแต่ละลิตร) ทำให้ราคาน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย เทียบ สิงคโปร์ เทียบราคากับกับประเทศสิงคโปร์สิงคโปร์ ราคาหน้าโรงกลั่นแพง เพราะใช้น้ำมันคุณภาพสูง (ยูโร 5 ) บวกค่าการตลาดที่สูงมาก ทำให้ราคาน้ำมันสิงคโปร์แพงกว่าประเทศไทยชัดเจน เทียบ กัมพูชา เทียบราคากับประเทศกัมพูชาแม้ว่าจะเก็บภาษีและกองทุนฯในอัตราที่ต่ำกว่าไทยมาก แต่ค่าการตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชามีราคาใกล้เคียงกัน (บางช่วงราคากัมพูชาอาจแพงกว่าไทย แต่บางช่วงราคากัมพูชาก็อาจแพงกว่าไทย) ไม่ใช่เพียงแค่ 3 ประเทศ ที่มีโครงสร้างราคาและสัดส่วนที่แตกต่างกัน หากแต่ “ทุกประเทศ” ต่างก็มีวิธีหรือนโยบายที่แตกต่างกัน ยังผลให้ราคาแต่ละประเทศต่างกัน ส่วนคำครหาที่ว่า ประเทศไทย ทำไมราคาน้ำมันแพง ก็คงจะไม่จริงเสียทีเดียว เพราะหากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว […]


  • OR ไม่ใช่การแปรรูปรอบ 2

    OR ไม่ใช่การแปรรูปรอบ 2

    ในปี พ.ศ. 2544 ปตท.ได้เข้าสู่กระบวนการแปลงสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในรูปบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และช่วงปลายปีเดียวกัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ก็ได้ดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการกระจายหุ้นจำหน่ายให้แก่ประชาชนและเอกชนโดยทั่วไป จนปัจจุบันบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน โดยมีรัฐบาล(กระทรวงการคลัง) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่สัดส่วนประมาณร้อยละ 51 และตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันกับเอกชนที่ประกอบกิจการทำนองเดียวกัน ทั้งในเรื่องการต้องขออนุญาตประกอบกิจการ การเช่าที่ดินของรัฐเพื่อการดำเนินงาน การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีอื่น ๆ การไม่มีอำนาจพิเศษที่จะบังคับเหนือนิติบุคคลเอกชนอื่น รวมตลอดไปถึงการไม่มีสถานะเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ด้วย เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเรื่องของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) จะนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกหนึ่งบริษัท นั้นคือ บริษัท ปตท.น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือเรียกอีกชื่อว่า โออาร์ ซึ่งมีกระแสทัดทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเรื่องการนำเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จึงเป็นที่มาของคำว่าแปรรูปรอบสองขึ้นมาในฟากฝั่งผู้ที่เป็นขาประจำของกลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐที่เราคุ้นเคยว่า NGO ที่ตั้งตัวขึ้นมาเพื่อมีบทบาทในสังคมยกตัวเป็นผู้นำทำเพื่อสังคมด้านพลังงาน ขาประจำที่คุ้นเคยกันด้านพลังงานก็จะเป็น กลุ่ม เครือข่ายประชาชนปฎิรูปพลังงานไทย หรือที่เรียกว่า คปพ. ซึ่งหยิบยกประเด็นขึ้นมาโจมตีก็จะใช้คำว่า “แปรรูปรอบสอง” […]


  • ความเข้าใจผิดเรื่องแยก PTTOR ไม่ได้แปรรูป รอบ2

    ได้มีโอกาสอ่านข้อเขียนเกี่ยวกับประเด็นความเข้าใจผิดเรื่องการแยก PTTOR เนื้อหาข้อเขียนสามารถสื่อและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการแยก PTTOR เป็นอย่างดี ทั้งยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่การกระจายหุ้นที่จะเกิดขึ้นได้อย่างน่าสนใจ เลยอยากนำบทความมาให้ได้ลองอ่านกัน “ประเด็นที่ร้อนแรง และคิดว่าจะมีแค่คนบางกลุ่มที่เข้าใจผิดว่า การประกาศปรับโครงสร้างของกลุ่ม ปตท. คือการแปรรูป และเกิดการตั้งคำถามต่างๆ นานา ว่าอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ต่างๆ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การแปรรูป ปตท. โดยรัฐบาลมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาตั้งแต่รัฐบาลนายกฯชวน (ปี 2540) ตามคำแนะนำของ IMF เพื่อลดภาระของรัฐจากวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น และการโอนทรัพย์สินจากการปิโตรเลียมฯมาให้ บมจ.ปตท. ในปี 2544 ดำเนินการตาม พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ (2542) และมติ ครม. ที่สอดคล้องกับความเห็นของสนง.กฤษฎีกา ในขณะนั้น ดังนั้น การปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. จึงไม่ขัดต่อกฎหมายแปรสภาพและจัดตั้ง บมจ. ปตท. เพราะการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (“พรบ. บริษัทมหาชนฯ”) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. ในครั้งนี้ยังคงต้องได้รับการอนุมัติ จากหน่วยงานต่างๆ […]


  • จบในเล่มเดียว “ ปตท.คืนท่อก๊าซฯครบหรือไม่ ? ”

    เมื่อเร็วๆนี้ผู้เขียนได้มีโอกาศอ่านหนังสือ ‘ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเหนือท่อปิโตรเลียมของ ปตท. : พิจารณาตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่ ฟ.35/2550’ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ที่ได้จัดทำขึ้นโดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื้อหาในหนังสือเป็นการบรรยายสรุป ครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ มูลเหตุที่มาของการฟ้องร้องคดี ตลอดจนปัญหาข้อกฎหมายตามคำพิพากษาหรือคำสั่งต่างๆของศาลที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมดตลอดจนคำโต้แย้งของหน่วยงานต่างๆที่คัดค้านว่าการปฏิตามคำพิพากษายังเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง มีความยาวทั้งหมด 116 หน้า ประเด็นพิพาทเรื่อง ‘ท่อก๊าซฯ’ โดยเฉพาะ ‘ท่อก๊าซฯในทะเล’ ว่า ปตท. ได้คืนครบแล้วหรือไม่นั้น เป็นที่ถกเถียงกันมานานนับสิบปี โดยประเด็นดังกล่าวได้ปรากฏอยู่ตามสื่อออนไลน์ต่างๆมากมาย มีการฟ้องคดีสืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าวหลายครั้ง กระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีทีท่าจะยุติลง ผู้เขียนเห็นว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้นำเสนอเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจภาพรวมของปัญหาตลอดจนข้อสงสัยข้อโต้แย้งที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ และด้วยเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่อธิบายผ่านสำนวนภาษากฎหมาย อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นชินกับสำนวนดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้ปรับแต่งลดทอนภาษากฎหมาย โดยอาจยกหลักกฎหมาย หรือรายละเอียดในคำพิพากษามาประกอบการอธิบายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จุดประสงค์หลักเพื่อมุ่งอธิบายตอบข้อสงสัยในประเด็นที่คนทั่วไปส่วนใหญ่ให้ความสนใจ โดยแยกสรุปออกมาเป็นข้อๆได้ดังนี้ครับ   1.ท่อก๊าซฯ เป็นกรรมสิทธิ์ของใคร? บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน เดิมทีคือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 ถือเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐถือหุ้น […]


  • ปตท. กับคดีทุจริตปาล์มอินโดฯ

    จากกรณีคดีปาล์มอินโดฯ ที่มีการขยายผลไปสู่กรณีการปิดปิดทรัพย์สินของ ป.ป.ช. (https://www.posttoday.com/politic/news/597316)  จะเห็นว่า ปตท. ในฐานะองค์กรต้นเรื่อง และเป็นองค์กรที่ถูกโจมตีก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จากความพยายามในการให้ข้อมูลและร่วมมือในการสืบสวน โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562 ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์กรณีโครงการปลูกปาล์มน้ำมันที่ประเทศอินโดนีเซียของบริษัท พีทีที.กรีน เอเนอร์ยี่ฯ (PTT.GE) ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กำลังถูกสอบสวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย นางสาวเพียงพนอ บุญกล่ำ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์จากกรณีนี้ว่า “จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ บริษัท ปตท. กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (PTTGE) นั้น ปตท. ขอยืนยันว่า ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ดำเนินนโยบายต่อต้านการทุจริตที่ชัดเจนและจริงจังตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance: CG) มาโดยตลอด ซึ่งกรณีที่เกี่ยวกับ […]