Articles Posted by the Author:

  • เจาะโครงสร้างราคาน้ำมันไทย เค้าว่าแพง!

    นอกจากจะรับบทแพะว่าเป็นต้นทุนของราคาสินค้าทุกประเภทแล้ว “น้ำมัน”ยังถูกโจมตีเรื่องราคาจากกลุ่มที่หวังผลทางการเมืองอยู่เสมอ กลายเป็นสินค้าที่ขยับขึ้นลงแต่ละที คนทั่วไปก็พร้อมจะกร่นปนบ่นด่ากันอยู่เสมอ ทำไมราคาน้ำมันแพง … เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย โดยไม่เคยเปิดดูโครงสร้างราคาและทราบที่มาที่ไปของแต่ละส่วน เลยถือโอกาสนี้หยิบโครงสร้างราคามาให้ดูกัน โครงสร้างราคาน้ำมันไทย แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี กองทุนต่าง ๆ และค่าการตลาด ประกอบออกมาเป็นราคาหน้าปั๊มที่เราใช้กัน ราคาหน้าโรงกลั่น คือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น โดยอ้างอิงจากตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์ ซึ่งราคาที่ใช้จะบวกเพิ่มมาจากสิงคโปร์เล็กน้อย จากค่าขนส่งจากสิงคโปร์ ค่าปรับปรุงคุณภาพเนื่องจากน้ำมันที่ประเทศไทยใช้มีมาตรฐานยูโรสูงกว่าตลาด รวมถึงการผสมพลังงานทดแทนลงไปในเนื้อน้ำมัน ทั้งเอทานอลที่ผสมกับเบนซิน และไบโอดีเซล B10 B20 โดยการปรับขึ้นลงราคาในส่วนนี้ก็เป็นไปตามกลไกของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ภาษี คือ ส่วนสำคัญที่รัฐเก็บเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงสาธารณูปโภคที่เกี่ยวกับการคมนาคมต่าง ๆ อาทิ ถนน สะพาน ไฟถนน จราจร ที่ไม่ใช่แค่สร้าง แต่รัฐต้องใช้เงินมหาศาลในการทำนุบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ รวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้พลังงาน โดยส่วนนี้รัฐมีหน้าที่กำหนดและจัดเก็บ กองทุนน้ำมัน มีหน้าที่หลักๆ ที่รัฐใช้เพื่อประกันราคา […]


  • Котировки акций SAUDI ELECTRICITY COMPANY BEARER на finanz.ru

    Котировки акций SAUDI ELECTRICITY COMPANY BEARER на finanz.ru

    Котировки акций SAUDI ELECTRICITY COMPANY BEARER на finanz.ru При условии завершения IPO до 12 декабря акции Saudi Aramco, по прогнозам MSCI, будут включены в состав индекса MSCI EM не позднее завершения торгов 17 декабря 2019 г. По его мнению, отток средств из российских акций в результате включения акций Saudi Aramco, скорее всего, не превысит $100 […]


  • ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.

    ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)     Sustainable Growth for All ผงาดธุรกิจพลังงานยุคดิจิทัล             เมื่อโลกขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นสิ่งที่ทุกอุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจพลังงาน ที่หลายคนคิดว่าคงได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เพราะแนวโน้มของพลังงานหลักที่โลกจะใช้ในอนาคตอาจไม่ใช่น้ำมัน ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์นี้น่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี กว่าที่บทบาทของน้ำมันจะลดลง แต่องค์กรอย่าง ปตท. ที่มีภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ได้มีการวางแผนรับมือเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้ว           การเงินธนาคาร ได้สัมภาษณ์พิเศษ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถึงความท้าทายสำคัญ ทั้งการขับเคลื่อนองค์กร และการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศชาติ ไปจนถึงยุทธศาสตร์ของ ปตท. ในยุคดิจิทัล รวมถึงภารกิจสำคัญในการสร้าง 6 สิ่งใหม่ ที่เป็น New S-Curve สำคัญของ ปตท. ในอนาคต   ยุทธศาสตร์ […]


  • CEO “ติดดิน” ชาญศิลป์ ตรีนุชกร

    แม้จะมีภารกิจรัดตัวเนื่องจากเพิ่งเข้ารับตำแหน่งไม่ถึง 1 เดือน ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ซีอีโอใหม่ป้ายแดง บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่มีท่าทีรีบเร่งตลอดช่วงเวลาสัมภาษณ์กว่า 1 ชั่วโมงกับ Forbes Thailand เขาเปิดอกคุยทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องของครอบครัวที่พ่อ “หอบเสื่อผืนหมอนใบ” นั่งเรือสำเภามาจากเมืองจีน มารับจ้างทำแหอวน ที่ ต.ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร ก่อนจะขยายกิจการมีเรือประมงขนาดเล็กและขนาดกลางตามลำดับ แต่ประสบการณ์การออกเรือที่ยากลำบากทำให้เขามุมานะเรียนหนังสือเพื่อหาสัมมาอาชีพอื่น เนื่องจากพ่อขู่ว่าหากเรียนหนังสือไม่เก่งก็จะต้องมาทำงานออกเรือประมงให้ทางบ้าน นอกจากพื้นเพทางการศึกษาที่ไม่ได้จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเหมือนซีอีโอ ปตท. ทั้ง 8 ท่าน ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 40 ปีแล้ว ชาญศิลป์ยังถูกมองว่าเป็น “ม้ามืด” เพราะไม่ได้อยู่ในโผของการคัดเลือกตั้งแต่ต้น “ผมเป็นผู้นำที่สัมผัสได้ เข้าถึงได้ และผมใช้วิธีการแบบเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา เพราะคิดว่าผมคุยภาษาชาวบ้านได้ ผมเข้าถึงได้ ท่านรู้ไหมว่าเวลาม็อบมาปิดผมเนี่ย ผมเปลี่ยนเสื้อจากเสื้อไออาร์พีซี (บมจ.ไออาร์พีซี) เป็นเสื้อหลากสี แล้วก็ไปโบกรถเหมือนเป็นยามโบกรถ อยู่ประตูหลัง เพราะรถมันออกไม่ได้ ผมเจรจากับม็อบ บอกว่าเราพวกเดียวกันให้รถเขาออกดีกว่า” ชาญศิลป์เท้าความถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2557 ที่ […]


  • ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับก้าวที่ท้าทายภายใต้วิสัยทัศน์ที่เขาเป็นผู้กำหนด

    ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับก้าวที่ท้าทายภายใต้วิสัยทัศน์ที่เขาเป็นผู้กำหนด   ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ภารกิจ 20 เดือนในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน … พร้อมผลักดันคนรุ่นใหม่สู่อนาคตที่ยั่งยืน   หลังจากเข้าทำงานที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผ่านการทำงานมากว่า 19 ตำแหน่ง โดยเคยเป็นกรรมการและผู้บริหารมา 16 บริษัท  รวมถึงเป็นประธานบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก  5 บริษัท  รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น  36 ปีเต็ม ก่อนที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)  ที่มีภารกิจและหน้าที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ The MATTER ได้มีโอกาสนั่งคุยกันถึงเรื่องราวภายหลังการเข้ามารับตำแหน่งอันสำคัญ รวมถึงเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งใจไว้ และการทำงานกับคนรุ่นใหม่ที่จะต้องก้าวขึ้นไปเป็นกำลังสำคัญของกลุ่ม ปตท.  โดยมีความมุ่งมั่น และทิศทางที่ชัดเจนของ ปตท. ในอีก 20 เดือนข้างหน้าที่เขาจะเป็นผู้กำหนด คุณเริ่มต้นเข้ามาทำงานที่นี่ได้อย่างไร คือ ที่จริงแล้วการที่เข้ามาทำงาน ปตท. เพราะตอนนั้นยังหางานที่อื่นทำไม่ได้ (หัวเราะ)  […]


  • ไม่ต้องทุบโต๊ะ ไม่ต้องทุ่มโพเดี้ยม ถ้าเจอเรื่อง บัญชีลับ แปรรูป ปตท.

    ได้รับบทความเรื่องบัญชีลับ แปรรูป ปตท. กรุณาส่งกลับไปให้อ่าน     ไม่มีบัญชีลับอะไรใด เพราะ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องแสดงทรัพย์สิน รวมถึงรายรับรายจ่าย มีกรรมการ มีผู้ตรวจสอบจากภายนอกด้วย แถมยังมี สตง รับรองบัญชีอีก2. ปัจจุบัน คุณไพรินทร์ หมดวาระเป็นประธาน ปตท. ไปแล้ว 3. เกาะเคย์แมนไม่ได้เป็นเกาะฟอกเงินอย่างในหนัง เป็นการเปิดเพื่อกระจายความเสี่ยง ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับ มีการตรวจสอบ มีการรายงานลงในบัญชี สามารถตรวจสอบได้ใน 56-1 4. การลงโฆษณาในสื่อ เป็นหลักของการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าสินค้าใดๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์ 5. การแปรรูป ปตท. เริ่มสมัยคุณชวน เมื่อประมาณ ปี 42 โดยหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายวันแรก 6 ธ.ค. 2544 ด้วยมูลค่าตลาดประมาณ 90,000 ล้านบาท หุ้นใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวพร้อมทำไฟริ่งไม่น้อยกว่า 1 ปี แน่นอน ขณะที่นายกทักษิน […]


  • ข้อมูลอีกด้านการส่งออกน้ำมันในคลิป ทวงพลังงาน สะท้าน ปตท.

    เรื่องคลิปที่มีการแชร์กันเยอะแยะในช่วงราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในคลิปมีการหยิบเอาการสนทนาเรื่องการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และได้มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึงนำมาขยายข้อมูลอีกด้าน ตามหลักการทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตาม ถ้ากำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการ ผู้ผลิตมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ 1.1 ลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ซึ่งแน่นอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น และถ้าผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ก็ผลักภาระไป ผู้บริโภคก็ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้น 1.2 ผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ผู้บริโภคก็จะได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง ส่วนสินค้าส่วนเกินความต้องการในประเทศ ก็ไปหาตลาดในต่างประเทศ (ซึ่งจะมีทั้งราคาที่สูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ) ดังนั้นราคาส่งออกจึงมีทั้งสูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ (ไม่ใช่ต่ำกว่าทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากขายหรือไม่ 2. นี่คือเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องสนองความต้องการของตลาดหลักก่อน แล้วส่วนเกินจึงเลือกว่าจะผลิตหรือไม่ ถ้าต้องการ economy of scale ก็ต้องผลิตเต็มที่ แล้วไปหาตลาดเพิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้ราคาเป็นตัวบุกเบิกตลาด ถ้าจะมากำหนดว่าถ้าไปขายต่างประเทศราคาถูก ก็จะต้องลดราคาในประเทศให้เท่ากัน ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องเหนื่อยยากไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ และผลักภาาะต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับผู้บริโภคไป 3. วิธีการอย่างนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตได้มากกว่าความต้องการเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ ข้าว น้ำตาล ปูนซีเมนต์ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการล้วนแต่ต้องส่งออกทั้งสิ้น และบางครั้งก็ต้องส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายในประเทศ อย่างเช่น ข้าว เป็นต้น 4. ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นขายก็มาหลายราคา 4.1 ราคาตามสัญญา […]


  • เห็นแล้วอึ้ง สินค้าแพงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ถ้าเห็นภาพราคาสินค้าไทย ในปีที่ผ่านมา จะอึ้งทันทีเมื่อได้เห็นความจริงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน คงเคยเห็นคนบ่นกันเรื่องราคาน้ำมันว่าของไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน เวลาปรับแต่ละครั้งก็จะส่งผลต่อราคาสินค้า ถึงแม้จะปรับอย่างไร สินค้าของไทยก็ไม่ได้แพงขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน   ที่มา https://www.facebook.com/longtunman/photos/a.113656345833649.1073741828.113397052526245/347246759141272/?type=3&theater   ราคาน้ำมันของไทยก็ไม่ได้แพงสุดเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ที่มา http://www.eppo.go.th/index.php/th/   จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ถูกกว่าประเทศไทย สินค้าประเทศเหล่านั้น ก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าไทย ในขณะเดียวกัน ปรับตัวขึ้นสูงกว่าด้วย ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก มาตรการทางภาษี มีการจัดเก็บชดเชยรายได้รัฐ เพื่อให้ตามเป้าที่ต้องการ   ไทยอยากให้น้ำมันถูกก็ทำได้ ลดภาษีน้ำมัน แต่ไปขึ้นกับการเก็บภาษีในสินค้าแทนจะดีหรือไม่ ได้แต่ฝากให้คิด ข้อมูลจาก: http://energythaiinfo.blogspot.com/2018/06/blog-post.html Share This:


  • หนังคนละม้วนถ้าได้รู้ความจริงเรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา

    อาจได้มีการเห็น การแชร์เรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา ไทยส่งออกไปขายน้ำมันกัมพูชา โดยคนกัมพูชาใช้ถูกกว่าคนไทย ถ้าไม่คิดให้ดี หรือ ขวนขวายหาความจริงจะต้องเกิดคำถามในใจว่าทำไม ซึ่งทาง blog แฉ!! ทวงคืนพลังงาน ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าเป็นอย่างไร ได้มีเพจ น้องปอสาม ได้เฉลยข้อมูลไว้ว่า สาเหตุหลักๆ ที่ราคาต่างกันจากนโยบายทางภาษี ซึ่งจากข้อมูลรายได้ภาษีน้ำมันเป็นรายได้รัฐที่จัดเก็บในแต่ละปีมีมูลค่าสูงมาก หากลดเก็บภาษีน้ำมันลงรายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561) สัดส่วนโครงสร้างราคาน้ำมันของไทย กับ กัมพูชา ต่างกันอย่างไร   เมื่อช่วงอาทิตยที่ผ่านมา เห็นมีการแชร์ข้อมูลว่าไทยกับกัมพูชา ราคาน้ำมันต่างกัน โดยบางชนิดอย่างดีเซลไทยแพงกว่าดีเซลกัมพูชา อาจมีการสงสัยกันว่า เป็นเพราะอะไร คำตอบคือง่ายมาก โครงสร้างราคาต่างกัน ของกัมพูชาเก็บภาษีค่อนข้างจะต่ำมากกว่าไทย ในทางกลับกัน ถ้าไทยลดเก็บภาษีน้ำมันลง รายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561) […]


  • หยุดมโนวาทกรรมราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลเซีย

    คงเคยมีคนโพสต์เรื่องการรณรงค์คัดค้านทางประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ โดยโยงกับราคาพลังงาน และ ใช้ประโยคเชื่อมโยงที่ว่า “ราคาน้ำมันต้องเท่ามาเลเซีย” หากวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้กับการเอามาโยงราคาน้ำมันนั้นคนละเรื่องกันทีเดียว เพราะ สาระสำคัญในการประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ สาระสำคัญอยู่ที่การผลิตก๊าซธรรมชาติ เพื่อเอามาผลิตไฟฟ้า ที่มา สนพ.   ส่วนต่อมาเรื่องการที่บอกว่า ใช้ระบบจ้างผลิตได้ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐมากกว่าระบบแบ่งปันผลิตได้ผลประโยชน์มากกว่านั้น กลุ่มคนที่เข้าใจผิด มีการอ้างไปถึงว่า จ้างผลิตได้มากกว่า คงลืมไปว่า หากรวมตัวเลขทุกตัวเข้าด้วยกันของไทยได้มากกว่าด้วยซ้ำ   รายได้รัฐจากสัมปทานน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน   ส่วนถัดมา มีความเข้าใจผิดว่า มาเลเซียมีหลุม มีบ่อน้ำมันและก๊าซน้อยกว่าเรา เรื่องหลุมน้อยกว่า มากกว่า ไม่ได้เป็นหลักฐานว่า เราร่ำรวยกว่ามาเลเซียหรือประเทศอื่นๆ แต่หากต้องพิจารณา ปริมาณที่พบด้วย   จำนวนหลุมผลิตมากกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะผลิตปิโตรเลียมได้มากกว่า     สุดท้ายมีการเชื่อมโยงประเด็น ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย การแปรรูป ปตท. ทำให้น้ำมันแพงขึ้น หากเป็นผู้เจริญ ฉลาด และ คิดได้ จะไม่มีตรรกะการเชื่อมโยงแบบนี้เด็ดขาด เพราะ ไม่เกี่ยวกัน ราคาน้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ […]