ยุค Disruption กับชาญศิลป์ ตรีนุชกร

หลังจากได้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 1 ปี กับการเป็นหัวเรือใหญ่ นำพา ปตท. ให้เป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจ สานต่อธุรกิจ เน้นโปร่งใส สู่ความยั่งยืน และดำเนินงานโดยยึดหลักหลักธรรมาภิบาล

ในยุค Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและการนำเทคโนโลยีเข้ามาในธุรกิจ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมในองค์กรและบุคลากรทุกภาคส่วน ภายใต้การนำทัพของ ชาญศิลป์ จะเป็นไปในทิศทางใด และจะผ่านอุปสรรคและความท้าทายนี้อย่างไร

ด้วยประสบการณ์การทำงานใน ปตท.กว่า 38 ปี ซึ่งปีนี้ ปตท.ครบรอบ 41 ปี คุณชาญศิลป์กล่าวว่า มีวิกฤตมากระทบกับองค์กรมากมาย ตั้งแต่ Tesla, Shale Oil, Shale Gas, Solar และ Renewable ต่างๆ แต่ ปตท. ดำเนินธุรกิจของโรงกลั่นน้ำมันและสถานีบริการน้ำมัน ก็เจอผลกระทบจากภายนอก ซึ่งต้องเพิ่มพูนความรู้ และพัฒนาศักยภาพเพื่อให้พนักงานได้ค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน

อีกเรื่องหนึ่งคือ จะต้องมีสิ่งอื่นมาทดแทนน้ำมันได้ แรกเริ่ม ปตท. ขายน้ำมันเตาให้กับการไฟฟ้า แต่วันนี้น้ำมันเตาที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นศูนย์ ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมก็เกือบจะเป็นศูนย์ เพราะเมื่อเผาแล้วมีผลกระทบทำให้อากาศเป็นพิษ จึงปรับตัวมาเป็นแก๊ส ซึ่งปัจจุบ้นทำมาเกือบ 40 ปีแล้ว และเอาแก๊สในทะเลแยกมาเป็นปิโตรเคมีเพิ่มมูลค่าให้กับระเทศ และ ปตท.เริ่มศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และเตรียมความพร้อมการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคยานยนต์ให้เกิดขึ้นจริง

ในเรื่องของปั๊มน้ำมัน ปตท. มีการร่วมมือกับรัฐบาล เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ ‘ไทยเด็ด’ เป็นกิจการของชุมชนที่ผลิตสินค้าดีเด่นประจำท้องถิ่น ไปวางจำหน่ายในสถานีบริการปั๊มน้ำมัน PTT Station และในอนาคตได้ดีไซน์ใหม่เป็นปั๊มพลังงาน มีจุดเติมพลังงาน มีที่ชาร์จอะไรก็ได้ ซึ่งยังเติมน้ำมันได้ดังเดิม

 

ในเรื่องของพลังงานสะอาด โรงกลั่นไทยออยล์เน้นเรื่องการเอาฐานน้ำมันไปเป็นปิโตรเคมี ไปทำสารละลายต่าง ๆ ส่วน GPSC จะเน้นเรื่องการทำไฟฟ้าซึ่งไฟฟ้าไม่เหมือนไฟฟ้าปกติ เป็นไฟฟ้าสำหรับโรงงาน โรงงานต้องการไฟฟ้า 100% Reliability และจะมี OR หรือ Oil Retail คือปั๊มน้ำมันที่ขายน้ำมันให้อุตสาหกรรม LPG และน้ำมันหล่อลื่น  และเริ่มทำ Solar เตรียมทำปั๊มน้ำมันให้มี Solar ปั๊มน้ำมันที่เติมไฟฟ้าได้ ในเรื่องของ Energy Storage เริ่มทำ Charger เพื่อไม่ประมาทหากในอนาคตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันหายไป

ปัจจุบันในองค์กรนั้นมีคนหลากหลายรุ่นที่ต้องมาทำงานร่วมกัน อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการทำงานที่มีช่องว่างระหว่างกันได้ คุณชาญศิลป์มองว่า ถ้าองค์กรยังล้าสมัย พนักงานในองค์กรไม่ปรับตัวร่วมกันก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมา จึงมีแท็กติก คือจะต้องทำงานกันเป็นทีม ถึงแม้ว่าคุณชาญศิลป์จะไม่ได้เกิดในยุคสมัยนี้แต่มีประสบการณ์ทำงานในบางเรื่อง ก็คอยสอนกับคนยุคใหม่ว่าจะต้องทำงานร่วมกันอย่างไร

สถาบันพัฒนาผู้นำ หรือ PTT Leadership and Learning Institute (PLLI) เป็นสถาบันที่ ปตท. เป็นศูนย์รวมของพนักงานทุกวัย ทุกแผนก สร้างขึ้นมาเพื่อสอนการเป็นลีดเดอร์  เข้าใจเรื่องดิจิทัล นอกเหนือจากการเข้าใจ Accounting มาร์เก็ตติ้งต่าง ๆ คนที่จะมาเป็นเมเนเจอร์ต้องมาเรียนสถาบันนี้ เพราะภายใน 5 ปีนี้ Baby Boomer อาจจะไม่เหลือแล้วใน ปตท.

ในยุคของความไม่แน่นอนนี้ นับว่าเป็นความท้าทายของผู้นำยุคใหม่ในการนำทีมให้ไปสู่เส้นทางความสำเร็จ การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้นำต้องมั่นใจว่าคนในทีมพร้อมที่จะร่วมเดินในเส้นทางใหม่ไปด้วยกัน ‘สนุกมาก ท้าทายมาก มีพี่ ๆ น้อง ๆ ที่ช่วยกันบริหาร รู้จักตั้งแต่ระดับกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐรุ่นใกล้เคียงกันหมด และใกล้จะเกษียณกันหมดแล้ว ก็เป็นภาพที่ประทับใจที่มีความร่วมไม้ร่วมมือกันดีมาก’ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กล่าว

 

Share This: