NGV แตกต่างกับ LPG อย่างไร

หลายคนเข้าใจผิดว่า NGV กับ LPG  คือ เชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน และไม่ทราบถึงข้อแตกต่าง ซึ่งความจริงแล้ว NGV ต่างจาก LPG อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก NGV มีสถานะเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ โอกาสในการติดไฟยากมาก และหากมีการรั่วไหล NGV จะฟุ้งกระจายขึ้นบนอากาศอย่างรวดเร็ว ไม่สะสมอยู่บนพื้น จึงมีความปลอดภัยสูงมาก สำหรับ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม ที่ใช้กันในครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงรถแท็กซี่นั้น มีสถานะเป็นของเหลวที่หนักกว่าอากาศ หากรั่วไหลจะมีการสะสมและติดไฟได้ง่าย ในส่วนของค่าออกเทนนั้น NGV มีค่าออกเทนสูงกว่า LPG คือ มีค่าออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ LPG มีค่าออกเทนอยู่ที่ 105 RON

อุปกรณ์ NGV และค่าใช้จ่าย

–  รถเครื่องยนต์เบนซิน ติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยใช้ระบบเชื้อเพลิงทวิ (Bi Fuel) สามารถเลือกใช้เบนซิลหรือ NGV เป็นเชื้อเพลิง แบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ ดังนี้

–  แบบดูดก๊าซ (Fumigation)

ชนิดวงจรเปิด (คล้ายกับระบบใช้ก๊าซ LPG ในแท็กซี่ส่วนใหญ่) ค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000-35,000 บาท/คัน (รวมถังก๊าซฯ ขนาด 70 ลิตร)

ชนิดวงจรปิด มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมการจ่ายก๊าซ ค่าใช้จ่ายประมาณ 40,000-50,000 บท/คัน (รวมถังก๊าซฯ ขนาด 70 ลิตร)

–  แบบน้ำฉีด (Injection) ให้สมรรถนะใกล้เคียงกับรถเบนซิล ค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000-60,000 บาท/คัน (รวมถังก๊าซฯ ขนาด 70 ลิตร)

–  รถเครื่องยนต์ดีเซลติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยใช้ระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel) สามารถเลือกใช้ NGV ร่วมกับ Diesel หรือใช้ Diesel เพียงอย่างเดียว ค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000-45,000 บาท/คัน (รวมถังก๊าซฯ ขนาด 70 ลิตร)

ผลกระทบเรื่องบ่าวาล์วจากการติดตั้ง NGV

เมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมันเบนซิน บ่าวาล์วจะมีการสึกหรอเร็วขึ้นกว่าเมื่อใช้เบนซินแน่นอน เนื่องจากการเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติเกิดเขม่าน้อยกว่าเบนซิน จึงไม่มีเขม่าช่วยรองรับการสึกหรอของบ่าวาล์วเหมือนเมื่อใช้เบนซิน จากประสบการณ์จะสึกเร็วกว่าประมาณเกือบสองเท่า ผลของการสึกหรอของบ่าวาล์วคือจะทำให้ระยะห่างของก้านวาล์วลดลงเร็วกว่าปกติ จึงต้องปรับตั้งระยะห่างก้านวาล์วบ่อยกว่าปกติสองเท่า คือปรับตั้งระยะห่างดังกล่าวทุก 40,000 กม. แทนที่จะเป็นทุก 80,000 กม. อายุของบ่าวาล์วแทนที่จะเป็น 400,000 กม. ก็เหลือ 200,000 กม. ซึ่งก็มากพอที่เจ้าของรถไม่ต้องห่วง และเมื่อบ่าวาล์วสึกหรอเต็มที่แล้วก็เปลี่ยนได้ในราคาไม่แพง (อย่างมากก็เป็นหมื่น ปกติจะต่ำกว่าหมื่น) คิดเป็นค่าสึกหรอ 5 สตางค์ต่อกิโลเมตรในส่วนของบ่าวาล์ว แทนที่จะเป็น 3 สตางค์ถ้าใช้น้ำมันเบนซิน

อัตราการสึกหรอของบ่าวาล์วสามารถลงได้หากใช้ความเร็วต่ำหรือวิ่งใช้งานในเมือง และสลับใช้น้ำมันเบนซินบ้าง ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อการใช้ก๊าซ 10 ชั่วโมง

สรุปว่าไม่เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคในการใช้รถมากนัก เพราะการสึกหรอของบ่าวาล์วไม่ได้มีผลต่อสมรรถนะเครื่องยนต์และเป็นการสึกหรอที่ ต้องเกิดอยู่แล้วแต่อาจจะเร็วขึ้นถึงสองเท่าหากใช้รถแบบไม่ถนอม แต่ถ้าใช้อย่างระวังก็แทบจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาเพราะกว่าจะต้องเปลี่ยน (สวม) บ่าวาล์วใหม่ก็ต้องใช้รถไปแล้ว 200,000 กม. อย่างไรก็ตามต้องหมั่นให้ช่างปรับตั้งระยะห่างวาล์วทุก 40,000 กม.

PTT NGV ราคาถูก ประหยัด คุ้มค่า”3.อยากเปลี่ยนมาใช้ NGV มากครับ เพราะทราบว่าราคาถูก แต่อยากให้ลองเทียบราคากับพลังงานอื่นๆ และอยากทราบราคาค่าติดตั้งเพิ่มเติมด้วยครับ?

ราคา NGV ถูก ประหยัด คุ้มค่า เป็นที่ทราบกันดีว่า PTT NGV มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ประหยัด และคุ้มค่า เนื่องจากถังก๊าซขนาด 70 ลิตร 1 ถัง จุ PTT NGV ได้ 15 กก. วิ่งได้ระยะทาง 150 – 200 กิโลเมตร ประหยัดกว่าน้ำมันทันทีถึง กม.ละ 1.80 บาท ล่าสุด ทาง ปตท. ยังคงตรึงราคา NGV ไว้ที่กิโลกรัมละ 8.50 บาททุกสถานี แม้ราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดจะปรับตัวสูงขึ้น เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระผู้ใช้รถ รวมทั้งเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ NGV ทดแทนการใช้น้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตามสูตรราคา NGV นั้นจะอิงกับราคาน้ำมันดีเซล โดยคิดราคาครึ่งหนึ่งของราคาน้ำมันดีเซล แต่มีเพดานราคาที่จะไม่ปรับสูงเกินกว่า 10.34 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งขณะนี้ราคา NGV ถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 ถึง 67% ถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 91 ถึง 65% ถูกกว่าราคาน้ำมันดีเซล 53% และถูกกว่าราคาก๊าซ LPG 33% (บนฐานค่าความร้อนที่เท่ากัน) ซึ่งถ้าคุณขับรถ 500 กิโลเมตร จะประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงได้มากถึง 700 บาท และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปีละหลายหมื่นบาท

ผมสนใจติดตั้งอุปกรณ์ NGV อยู่เหมือนกันครับ แต่อยากทราบว่า อุปกรณ์ NGV มีกี่แบบ มีรถยนต์ยี่ห้อไหนบ้างที่ใช้ NGV ได้ ติดตั้งอย่างไร และควรไปติดตั้งที่ไหนดีครับ?

การติดตั้งอุปกรณ์ NGV มี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบที่ใช้กับรถเครื่องยนต์เบนซินและแบบที่ใช้กับรถเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับรถที่เครื่องยนต์เบนซินมี 2 ระบบ คือ ระบบดูดก๊าซและระบบฉีดก๊าซ

1.  ระบบดูดก๊าซ เหมาะกับรถยนต์รุ่นเก่าที่เป็นเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์หรือท่อร่วม ID เป็นโลหะ ระบบนี้ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย คุ้มทุนเร็ว ราคาถูกกว่า ราคาติดตั้งอยู่ที่ 30,000 – 50,000 บาท (ราคารวมถังและอุปกรณ์ NGV )

2.  ระบบฉีดก๊าซ เหมาะกับรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นระบบที่ไฮเทค ให้กำลังและอัตราเร่งเครื่องยนต์ใกล้เคียงการใช้น้ำมันเบนซินมากกว่าระบบดูดก๊าซ ไม่ทำให้เกิดการเผาไหม้ย้อนกลับ (Backfire) อัตราความประหยัดในการวิ่งค่าเชื้อเพลิงต่อวันของระบบนี้คุ้มกว่าระบบดูดก๊าซ ราคาติดตั้ง 52,000 – 65,000 บาท (ราคารวมถังและอุปกรณ์ NGV ) ในปัจจุบันนี้ รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลสามารถใช้ NGV ได้เช่นกัน

โดยติดตั้งอุปกรณ์ NGV ระบบดูดก๊าซ ซึ่ง NGV และดีเซลทำงานควบคู่กันตลอดเวลา จะต่างจากระบบเบนซินที่ใช้น้ำมันช่วงแรกที่ออกตัว แล้วหลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นการทำงานของ NGV อย่างเดียว ระบบติดตั้งสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซลนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 25 % ราคาติดตั้งอยู่ที่ 30,000 – 45,000 บาท (ราคารวมถังและอุปกรณ์ NGV )

รถยนต์ยี่ห้อใดที่ใช้ NGV ได้บ้าง

รถยนต์ทุกยี่ห้อและทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถกระบะ และรถตู้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ NGV ได้ทั้งสิ้น โดยรถยนต์แต่ละคันจะติดตั้งอุปกรณ์ NGV ระบบใดนั้น แนะนำให้สังเกตจากท่อร่วม ID ของเครื่องยนต์ ถ้าท่อร่วม ID เป็นพลาสติก (ส่วนมากจะเป็นรถยนต์ใหม่) แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ NGV แบบหัวฉีด ส่วนถ้าท่อร่วม ID เป็นโลหะ (ส่วนมากรถยนต์เก่า) แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ NGV แบบดูดก๊าซ ซึ่งถ้ารถที่มีท่อร่วม ID เป็นพลาสติก แล้วไปเลือกติดตั้งอุปกรณ์ NGV แบบดูดก๊าซ จะต้องระวังมาก ๆ ในเรื่องของกรณี Backfire หรือเครื่องจามได้ ซึ่งคุณสามารถนำรถยนต์เข้ามาตรวจสอบการใช้ระบบติดตั้งที่เหมาะสม หรือสอบถามราคาและรายละเอียดที่อู่ติดตั้งทั้ง 14 บริษัทในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ให้บริการสะดวกรวดเร็วในการติดตั้ง

ก่อนที่ผมจะตัดสินใจติดตั้งอุปกรณ์ NGV อยากทราบว่าแนวโน้มปริมาณคนที่ใช้ก๊าซ NGV ตอนนี้เป็นอย่างไร และมีแผนงานพัฒนาส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV ในอนาคตอย่างไรบ้างครับ?

แนวโน้มปริมาณผู้ใช้รถติดตั้งอุปกรณ์ NGV สูงขึ้นต่อเนื่อง จากวิกฤตราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง พบว่าหลายประเทศมีการปรับแผนเพื่อเร่งรัดการใช้ก๊าซ NGV เป็นพลังงานทางเลือกมากขึ้น เช่น ประเทศมาเลเซีย ที่ปัจจุบันมีรถยนต์ NGV ประมาณหมื่นกว่าคัน และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2553 รถยนต์ NGV จะเพิ่มขึ้นเป็น 5 หมื่นคัน ส่วนประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็มีความพยายามในการใช้ก๊าซ NGV มากขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV รวมแล้วกว่า 6,500 คัน ได้แก่ รถทุกประเภท คือ รถแท็กซี่ รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ รถโดยสาร ตลอดจนรถใช้งานภายในองค์กร

แผนงานพัฒนาส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV ในอนาคต

กระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เร่งแผนส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ NGV ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ. 2551 จะเพิ่มเป็น 1.8 แสนคัน โดยแนวทางการส่งเสริมให้ใช้ก๊าซ NGV จะมุ่งไปที่รถซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณมากหรือที่ใช้งานหนัก อาทิ รถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ รถขนส่งมวลชน รถโดยสาร รถตู้ ซึ่งรถเหล่านี้จะต้องเสียเงินเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเงินต่อเดือนสูงมาก หากนำมาเปลี่ยนเป็นก๊าซ NGV ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงเกือบครึ่งต่อครึ่ง

ในขณะเดียวกัน ปตท. เตรียมเปิดขยายสถานีบริการเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20 แห่ง โดยภายในปลายปี พ.ศ.2548 นี้จะเพิ่มเป็น 60 แห่ง และภายในปี พ.ศ. 2551 จะเพิ่มเป็น 180 แห่ง เพื่อรองรับแนวโน้มอัตราจำนวนผู้ใช้รถติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ แม้ว่าน้ำมันจะปรับราคาสูงขึ้นในระดับใดก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถยนต์ติดตั้งอุปกรณ์ NGV รัฐบาลจึงวางแผนกำหนดเพดานราคาก๊าซ NGV ไว้ไม่เกิน 10.34 บาท/กิโลกรัม โดยมีนโยบายกำหนดเพดานราคาก๊าซ NGV ดังนี้

ปัจจุบัน – ปี 2549 กำหนดราคาร้อยละ 50 ของราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล

ปี 2550 ปรับเป็นร้อยละ 55 ของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91

ปี 2551 ปรับเป็นร้อยละ 60 ของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91

ปี 2552 ปรับเป็นร้อยละ 65 ของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ปตท. ยังคงลดราคาก๊าซ NGV โดยจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 8.50 บาท

การวางแผนงานพัฒนาส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV จึงเป็นความร่วมมือในการวางแผนระยะยาวต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้ก๊าซ NGV ในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้รถยนต์ติดตั้งอุปกรณ์ NGV เป็นหลัก

Share This: