Articles Posted in the " ขายสมบัติชาติ " Category

  • แปรรูป ปตท. กับวาทะกรรมขายสมบัติชาติ

        คำว่า “ขายสมบัติชาติ” เป็นวาทะกรรมที่บางกลุ่มหยิบยกเพื่อโจมตีการแปรรูป ปตท.มาอย่างช้านานจนถึงปัจจุบัน โดยการแปรรูปในครั้งนี้ คุณบรรยง พงษ์พานิชหย่อนความคิดเห็นลงในบทความตอนหนึ่ง เรื่อง ตำนาน “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” … ปตท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ 2544 (ตอน 5) ว่า “คนจำนวนมากเข้าใจว่า เงื่อนไขการแปรรูปฯ นี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อบังคับให้เรา “ขายสมบัติชาติ” เพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ และมีไม่น้อยเลยที่คิดเลยไปว่าเป็นแผนการชั่วร้ายให้ขายให้ต่างชาติ” … ซึ่งถ้าอ่านจากบทความนี้จะพบว่าไม่ได้เป็นความจริงอย่างที่กล่าวกัน     ทั้งนี้คุณบรรยง ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวการแปรรูป ปตท. ครั้งนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และสร้างประโยชน์อย่างไรต่อประทศบ้าง     “ผมขอยืนยันว่า การขายหุ้น IPO ของ ปตท.ในปี 2544 กระทำอย่างโปร่งใส อย่างมืออาชีพ ไม่ได้มีเรื่องสกปรกตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด ซึ่งผมและทีมงานได้เคยไปอธิบายในที่ต่างๆ มามากมาย รวมทั้งกรรมาธิการของสภา เพียงแต่ยังไม่เคยเขียนอธิบายด้วยตัวเอง (จะเขียนอธิบายในบทความครั้งหน้าภายในสุดสัปดาห์นี้ครับ…เพราะเมื่อก่อนยังไม่รู้ว่าตัวเองเขียนหนังสือเป็นมาก่อน)     IPO ของ ปตท. โดยขายหุ้นทั้งหมด 920 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200 ล้านบาทในครั้งนั้น […]


  • แปรรูปเพื่ออะไร … ทำไมต้องขายสมบัติชาติ ?

        อ่านข่าว “ซาอุดิอาระเบียเตรียมขายหุ้น IPO ของ Aramco” แล้วก็กลับมามองย้อนถึงสถานการณ์ในประเทศไทย เพราะตั้งแต่มีการแปรรูป ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มักถูกกลุ่มที่พยายามปลุกระดมทางการเมือง คอยบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการ “ขายสมบัติชาติ” อยู่เสมอ โดยไม่มองว่าหลังการแปรรูป รัฐหรือประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการแปรรูปในครั้งนั้น     ย้อนกลับไปในปี 2544 ได้มีการจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. ซึ่งแปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท เพื่อระดมทุนด้วยเหตุผล สำคัญ 3 ข้อ คือ ปตท. ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย การที่ ปตท. ระดมทุนในครั้งนี้ถือเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะผลกำไรที่เกิดจากบริษัทในเครือก็มีผลต่อบริษัทแม่ และปันผลเป็นรายได้สู่รัฐ โดยที่รัฐไม่ต้องควักเงินลงทุนและถือความเสี่ยงเพิ่ม ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงเศรษฐกิจในยุค IMF รัฐยังขาดสภาพคล่องทางการเงิน ปตท. มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่น และปิโตรเคมีที่บอบช้ำหนักหลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก อีกทั้งรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณมาให้ได้ ปตท. จึงจำเป็นที่จะต้องระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น […]


  • มหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท. ผลประโยชน์ของชาติที่ไร้จุดจบ

    ย้อนรอยมหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท. ผลประโยชน์ชาติบนความปั่นป่วนไร้จุดจบ มหากาพย์ “ท่อก๊าซ ปตท.” ถูกจุดพลุขึ้นมาเป็น “ทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์” อีกหน! รูปจาก: http://www.thairath.co.th/ หลังประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เปิดแถลงมติ คตง.ที่ให้ชี้มูลความผิดอดีต รมว.คลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) พร้อมข้าราชการและอดีตผู้บริหารบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รวม 6 คน โดยระบุว่า กระทำการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 กรณีแบ่งแยกทรัพย์สินและคืนท่อก๊าซบริษัท ปตท.ที่ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2550 ยังผลให้รัฐเกิดความเสียหายกว่า 32,613.45 ล้านบาท ก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.และรัฐบาลดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดผู้เกี่ยวข้องต่อไป ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก! ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2559 ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ออกโรงแถลงมติคณะกรรมการตรวจการแผ่นดินที่ให้ยื่นเรื่องฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าส่งมอบท่อก๊าซที่ว่านี้ไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลมาแล้ว จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันชดใช้คืนเงินแผ่นดิน(ชาติ)วงเงินกว่า […]