คนไทยทุกคนควรขวนขวายหาข้อมูลแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความสามารถความฉลาดและซื้อสัตย์ของข้าราชการไทยตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเรื่อยมาทั้งที่มีต้นทุนสูง 40-50% ของราคาที่ขายได้เพราะแหล่งมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายเราพบก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก มีสัดส่วนถึง 70 กว่า %ของปิโตรเลียมที่ค้นพบทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐฯ ก็ได้เผยแพร่ให้รับทราบกันทั่วไปอยู่แล้วเราจึงได้ใช้ก๊าซในประเทศในราคาถูกมาตลอด 30 กว่าปีเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งก๊าซถูกกว่าน้ำมันเตา ถูกกว่าน้ำมันดีเซลมาก และถูกกว่าก๊าซนำเข้าถึงครึ่งต่อครึ่งน้ำมันดิบส่วนมากถูกค้นพบในยุคหลังๆส่วนใหญ่ขายให้โรงกลั่นในประเทศเพราะผู้ขายได้ประโยชน์จากการที่สามารถเอาค่าภาคหลวงมาหักภาษีได้ มีส่งออกอันเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เกิดการใช้ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ภายในประเทศมาตั้งแต่เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 แต่ในปีแรกๆ ส่งออกมากกว่าใช้ในประเทศ เพราะ spec น้ำมันดิบที่ผลิตได้ไม่เหมาะกับโรงกลั่นในประเทศ (น้ำมันดิบถูกพบหลังจากสร้างโรงกลั่นไปแล้ว) ต่อมาเอกชนก็ปรับปรุงโรงกลั่นให้รองรับน้ำมันเหล่านี้ได้ จึงลดการส่งออกลงขณะนี้ประมาณ 44,000 บาร์เรลต่อวัน ก็คือ 30% ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ซึ่งถ้าเทียบกับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดของประเทศที่ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ก็เป็นแค่ 5% ที่ยังส่งออกอยู่เพราะ ผู้ซื้อภายในประเทศไม่ต้องการ ผู้รับสัมปทานมีสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าต่างประเทศ (ตกลงทำสัญญากันล่วงหน้าไว้แล้ว) ผู้รับสัมปทานยังต้องส่งออกเป็นครั้งคราวบ้าง เพื่อรักษาตลาดไว้ (ในกรณีที่ไม่สามารถขายภายในประเทศได้) ภาพนี้ได้มาจากสถาบันปิโตรเลียม แสดงให้เห็นแหล่งปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะ แสดงตัวเลขผลิตไปแล้วเท่าไร ส่งออกเท่าไร เหลืออีกเท่าไรเผยแพร่ต่อสาธารณะทั้งหมดมาตลอดเกือบยี่สิบปีแหล่งทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และภาพนี้ทำให้เราทราบถึงข้อเท็จจริงพลังงานไทยมากยิ่งขึ้นโดยในกฎหมายก็เขียนไว้ชัดว่าทรัพยากรเป็นของรัฐฯ บริษัทน้ำมันเป็นผู้รับสัมปทาน ได้สิทธิสำรวจและผลิตภายใต้การควบคุมของรัฐฯ ตามกฎหมายพ.ร.บปิโตรเลียม ไม่ใช่เจ้าของ ซึ่งกำหนดหน้าที่ สิทธิและการแบ่งผลประโยชน์ไว้อย่างชัดเจนแน่นอนไม่ได้เป็นไปตามอำเภอใจข้าราชการหรือนักการเมือง […]
ประชาชนเสียประโยชน์ แต่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์เต็มๆน่ะสิ่ใช่หรือ หลายๆคนคงเคยเห็นเปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย มีข้อความเท็จต่างๆนานา ลองมาดูข้อมูลจริงเรื่องท่อก๊าซฯของปตท.ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ปตท จะเป็นชื่อย่อของ ปตท คือปล้นตลอดทางจริงหรือไม่ แล้วอะไรๆที่ว่าแพงมันแพงจริงมั้ย สาเหตุเพราะอะไร การโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษา 1. ที่ดินจากการได้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เนื้อที่ 32 ไร่ 74.1 ตารางวา รวม 106 แปลงในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มูลค่า 1 ล้านบาท* 2. สิทธิการใช้ที่ดินของเอกชน ที่ ปตท. ได้มาโดยอำนาจมหาชนเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ประกอบด้วย ทรัพย์สินระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ตัวท่อส่งก๊าซฯ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ) มูลค่า 1,137 ล้านบาท* 3. ระบบท่อส่งก๊าซฯ เฉพาะส่วนที่อยู่ในที่ดินของเอกชน- โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย – โครงการท่อชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี – โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย – โครงการท่อมาบตาพุด-บางปะกง มูลค่า 15,037 ล้านบาท* *มูลค่าทางบัญชี […]
ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจเสรีและราคาพลังงานก็เป็นไปตามกลไกเสรี โดยจะเห็นได้จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในบ้านเรา อ้างอิงจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดโลก (สิงคโปร์) ซึ่งโดยมากราคาน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยปกติแล้วเวลาที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้น ปตท. ก็ไม่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นทันที แต่จะพยายามตรึงราคาไว้ให้นานที่สุดจนค่าการตลาดต่ำกว่าระดับปกติ เผื่อตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาบ้าง แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ หรือตลาดโลกยังมีแนวโน้มขึ้นต่อจึงจะปรับขึ้นราคาขายปลีก ดังนั้น ในทางกลับกันขาลงจึงอาจรู้สึกว่ามีการปรับลดลงช้ากว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกอยู่บ้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงค่าการตลาดให้กลับมาสู่ระดับปกติิ จึงทำให้หลายๆ ท่านเกิดข้อสงสัยว่า ปตท. โกงพลังงานไทยหรือเปล่า การแข่งขันของ ปตท. นั้นอยู่บนการแข่งขันเสรี เช่น • ธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไม่ได้เป็นธุรกิจผูกขาดเพราะเอกชนรายอื่นสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจได้ แต่สาเหตุที่มีผู้ประกอบการโรงแยกก๊าซฯ น้อยราย เนื่องมาจากต้องใช้เงินลงทุนสูง (เช่น โรงแยกก๊าซฯ ที่มีกำลังการแยกก๊าซฯ 800 ล้าน ลูกบาศก์ฟุต/วัน จะต้องใช้เงินลงทุนสร้างกว่า 30,000 ล้านบาท) และในปัจจุบันรัฐยังควบคุมราคา LPG ในประเทศต่ำกว่าตลาดโลก • ธุรกิจ NGV ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสถานีเอกชนประมาณ 88 สถานี จาก 470 สถานี และกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากการที่ ปตท. และภาครัฐสนับสนุนให้เอกชนมาลงทุนในสถานี NGV […]