Articles Posted in the " น้ำมันขึ้นราคา " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • การปรับขึ้นราคาน้ำมัน เพราะ ปตท. จริงหรือ?

        จากสถานการณ์การปรับขึ้นราคาน้ำมันในประเทศที่มีการปรับขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ (ส.ค.59) ทำให้ ปตท. ตกเป็นเป้าโจมตีของคนในโซเชียลบางกลุ่ม (อีกครั้ง) โดยมองว่า ปตท. มีส่วนสำคัญในการตั้งและปรับขึ้นราคาน้ำมันในประเทศ และการปรับราคาพลังงานทำให้ ปตท. มีกำไรสูงขึ้น เป็นการขูดรีดประชาชน โครงสร้างราคาน้ำมันแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีต่างๆ กองทุนน้ำมัน ค่าการตลาด โครงสร้างการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ได้แก่     ราคาหน้าโรงกลั่น เป็นราคาที่อ้างอิงจากตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ใกล้ที่สุด (ต้องคิดค่าขนส่งตามระยะจากตลาดกลางนั้นมาที่ประเทศ หากอ้างอิงตลาดที่อยู่ไกล ย่อมเสียค่าขนส่งมาก) ซึ่งในที่นี้คือตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ เมื่อสิงคโปร์มีการปรับราคา ประเทศไทยก็จะมีการอ้างอิงและปรับตามไม่เกิน 3 วันทำการ ดังนั้นราคาหน้าโรงกลั่นจึงเป็นราคาอ้างอิงที่ไม่สามารถกำหนดเองได้     ภาษีต่างๆ ในส่วนของภาษีนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดและดูแล จะเห็นว่าประเทศไทยเสียภาษีน้ำมันค่อนข้างสูง เนื่องจากประเทศไทยจัดประเภทของน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ดังนั้นภาษีจึงเป็นนโยบายของรัฐ และปตท. ไม่มีสิทธิ์กำหนด     กองทุนน้ำมัน เป็นหน้าที่ของ กบง. ในการกำหนดควบคุมการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน โดยจะเห็นว่าปัจจุบัน ราคาน้ำมันบางชนิด ยังมีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันอยู่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ เช่นน้ำมันตระกูลเอทานอล E20 และ E85 นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันยังมีหน้าที่คอยเป็นกันชนยามที่ราคาน้ำมันเกิดการผันผวน […]


  • หยุดสัมปทานปิโตรเลียมเพราะ? อนาคตพลังงานไทย

    เรื่องหยุดสัมปทานปิโตรเลียมนี่เห็นกลุ่มต่อต้านหยิบมาบอกโน่นนิดนี่หน่อยแล้วก็รู้สึกว่าคนพวกนี้เก่งในการหาข้อมูลนะ แต่ที่เก่งกว่าคือการบอกความจริงไม่หมดนี่สิ ก็ไม่รู้ว่าที่มาเรียกร้องให้หยุดสัมปทานปิโตรเลียมกันแล้วเรียกร้องอยากใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบมาเลเซียนั้นกลุ่มต่อต้าน Share This:


  • ปรับราคาน้ำมัน น้ำมันขึ้นราคาหรือลดกันแน่

    ราคาน้ำมัน ปตท. วันนี้ (บาท/ลิตร) บลู แก๊สโซลีน   29.56   เมื่อวานนี้  29.06       +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ 91 22.18  เมื่อวานนี้     21.68       +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ 95  22.60 เมื่อวานนี้   22.10         +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ E20 20.04   เมื่อวานนี้   19.54         +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ E85  17.19  เมื่อวานนี้  16.89         +เพิ่มขึ้น 30 […]


  • ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ราคาน้ำมันหน้าปั๊ม มีที่มาอย่างไร?

    ธุรกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยเป็นระบบการค้าเสรี ราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความผันผวนสูง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยทำไมคนไทยถึงใช้น้ำมันแพง สาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่ขยายตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะจาก จีน และอินเดีย ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ความกังวลในเรื่องปัญหาการเมืองและความวุ่นวายในประเทศผู้ผลิตน้ำมันกลุม่ โอเปก และส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันลว่ งหน้า ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกินราคาปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปัจจุบันควรจะอยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญ สหรัฐ/บาร์เรล (ราคา ณ เดือนพฤษภาคม 2551) ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปที่เราซื้อจากสถานีบริการ มีโครงสร้างของราคาประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) ค่าต้นทุนในการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่น หรือนำเข้าจากต่างประเทศ 2) เงินภาษีและกองทุนที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 3) ค่าการตลาด ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น ค่าจ้าง แรงงาน ค่าขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นผ่านคลังน้ำมันไปยังสถานีบริการนํ้ามัน ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ ค่าส่งเสริมการตลาด และค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ ค่าการตลาดที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจควรจะอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันดีเซลมีค่าการตลาดติดลบ […]


  • ตอบทุกข้อกล่าวหา..หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาขายปลีก LPG

    จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG     หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้     1.  ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท     2.  ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม     3.  ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]