Articles Posted in the " พลังงาน " Category

  • เปิดโปง ปตท การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?

    เปิดโปง ปตท การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?

    ข้อกล่าวหาหนึ่งเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจพลังงานของปตท.ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตลอดเวลาก็คือรัฐบาลได้ให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ(ห้าในหกแห่ง)ทำให้ปตท.มีอำนาจในการควบคุมการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ก่อให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้น้ำมันที่ขายในประเทศมีราคาแพงและทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเปิดโปง ปตทและหยิบยกอีกหลายๆ ประเด็นมาพูดถึงเพราะเนื่องจากมีการผูกขาดตัดตอนเรื่องการผูกขาดธุรกิจพลังงานของประเทศโดยปตท.นั้นเป็นเรื่องที่ติดพันกันมานานตั้งแต่ปตท.ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัวและเข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาลดังนั้นจึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งก็เป็นเช่นนี้ในทุกประเทศที่มีการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ด้านพลังงานให้แก่รัฐ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแปรรูปปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชนทุกฝ่ายรวมทั้งปตท.ก็เห็นด้วยว่าควรจะลดการผูกขาดลงโดยเฉพาะในธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะให้มีเปิดเสรีมากขึ้นโดยอาจให้เริ่มในกิจการท่อส่งก๊าซและการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อนแต่ในส่วนของธุรกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดยปตท.มากถึง  83% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด (โดยคิดง่ายๆว่าปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น = 83%) นั้น ผมคิดว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ง่ายเกินไปและไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่นเหล่านี้ ทำให้ปัจจุบันปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นต่างๆดังนี้ ไทยออยล์  49.1% PTTGC 48.9% IRPC 38.5% SPRC 36.0% BCP 27.2% จะเห็นว่าโดยนิตินัยแล้ว ไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย โดยในกรณีของ SPRC นั้นชัดเจนว่า Chevron ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 64% เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นโดยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารก็ทำโดยคณะกรรมการบริษัท 9 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ Chevron […]


  • ชาวทวงคืนพลังงาน/ปตท..คุณอยากเห็นประเทศไทยเกิดการนองเลือดใช่หรือไม่?

    ชาวทวงคืนพลังงาน/ปตท..คุณอยากเห็นประเทศไทยเกิดการนองเลือดใช่หรือไม่?

    เรื่องราวและที่มาอธิบายได้ตามภาพนี้ ตามรายละเอียดไม่ได้มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซีย อดีตประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC มีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นการหักดิบต่อความนิยมทางการเมืองของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง กลับมีแต่การปลุกระดมให้คนไทยลุกฮือ บอกคนไทยมันโง่บ้าง ไทยเฉยบ้าง ทำไมไม่เอาอย่างชาวอินโดนีเซียกันบ้าง ผมว่าชาวทวงคืนนี่ชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้วล่ะก่อนอื่นคงต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า (คงต้องแตะเรื่องสีเสื้อสักเล็กน้อยครับ) ต้นกำเนิดของการทวงคืน ปตทนี่มันเริ่มมาจากกลุ่มพันธมิตรนำโดยคนที่คุณก็รู้ว่าใคร (นึกถึงคนๆ นี้แล้ววลีนี้ก็ก้องอยู่ในหูผมครับ “ท้ากสิน…ออกไป๊” ทั้งๆ ที่เขาคนนั้นก็ออกไปตั้งนานละ แต่การเมืองกลุ่มก้อนนี้ก็ยังไปไม่พ้น “ท้ากสิน…ส้ากที” โอเคครับกลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า) และเรื่องการทวงคืนท้ากสิน เอ๊ย!!! ทวงคืน ปตท นี่ก็เงียบหายไปช่วงหนึ่งในสมัยรัฐบาลขิงแก่ต่อด้วยรัฐบาลประชาธิปัตย์มันกลับมาหนักข้อขึ้นมาอีกครั้งก็ตอนเมื่อน่าจะต้นปีที่แล้วนี่ล่ะเมื่อมีผู้เชียวชาญพลังงานท่านหนึ่งตกจากตึกแกรมมี่มาจุติเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน” ร่วมกับ “สอวอหญิงท่านหนึ่ง”  ที่ก็มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลปัจจุบันพอสมควร ขณะที่ทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลายทางอุดมการณ์ก็มีคนเสื้อแดงบางคนหันมาเล่นเรื่อง “ทวงคืน ปตท” กับเขาบ้างโดยไปๆ มาๆ คนซื้อแดงกลุ่มนี้ก็รวมตัวกับกลุ่มสอวอ&หม่อม แล้วสร้างวาทะกรรมว่า “เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของส่วนรวมไม่มีสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง”  ไปออกเวทีร่วมกันในพื้นที่เหลืองบ้าง แดงบ้าง ปะปนกันไป เพื่อให้ข้อมูลจริง (ที่เอาไปพูดไม่หมด) เพื่อหามวลชนและพวกพ้อง อีกทางหนึ่งคราวนี้เราไปไกลสักหน่อยที่มาบตาพุด มีวิศวกรท่านหนึ่งไม่พอใจเรื่อง ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม (ไม่รู้แกเป็นอะไรกับเสาเข็มมากมั๊ยอาจจะมีปมด้อยเรื่องเสาเข็มอะไรสักอย่าง) ออกมาสร้างเพจ “กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด” สร้างไปสร้างมาแกเริ่มสนุก เลยสร้าง “ทวงคืนพลังงานไทย“ ต่อด้วย “Thai Energy Get Back” และล่าสุด “แหล่งน้ำมันในเมืองไทย” ด้วยการทำ Infographic จับแพะชนแกะอันลือลั่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงาน เอาล่ะครับ 3 ย่อหน้าที่กล่าวมารวมถึงลูกเพจที่เชื่อข้อมูลของกลุ่มดังกล่าวสุดริ่มทิ่มประตูนั้น ผมขอเรียกรวมๆ ว่า “ชาวทวงคืน ปตท” แล้วกัน อย่างที่ผมบอกครับว่าชาวทวงคืนไม่มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าวเลยผมขออนุญาตลองวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดรัฐบาลอินโดฯจึงยอมหักดิบทุบหม้อข้าวฐานเสียงตัวเองอย่างนั้น จากข้อมูลที่หาได้ในอินเตอร์เน็ตนี่ล่ะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://pantip.com/topic/30625508 Share This:


  • บทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม”

    บทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม”

    บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม” ระบุว่านับตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ราคาก๊าซLPG ภาคขนส่ง ได้ปรับเขึ้นไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งละ 0.75 บาท/กิโลกรัม รวม 2.25 บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.38 บาท/กิโลกรัม จาก 18.13 บาท/กิโลกรัม คาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซLPG ในภาคขนส่ง จะยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาที่ปรับเพิ่ม โดยพิจารณาได้จากจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซLPG รายใหม่ ยังคงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11,000 คันต่อเดือน ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2555 ไปแล้วเฉลี่ยราวร้อยละ 18.4 เป็นผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำมัน หันไปใช้พลังงานประเภทอื่นที่มีราคาต่ำกว่าและที่นิยมใช้มากก็คือก๊าซLPG เพราะราคาจำหน่ายยังอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำมันมาก ปริมาณการใช้ก๊าซLPG ที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นพร้อมๆ กับภาระในการอุดหนุนราคาพลังงานของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปริมาณการผลิตก๊าซLPG ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศจึงต้องนำเข้าบางส่วนจากต่างประเทศในราคาที่สูง แต่ต้องนำมาจำหน่ายในประเทศด้วยราคาที่ต่ำกว่าเพื่อช่วยเหลือภาคประชาชน (ภาครัฐอุดหนุนราคาสำหรับก๊าซLPG ซึ่งนำเข้าในอัตราประมาณ 28 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งถือว่าผิดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของภาครัฐ ที่มีนโยบายทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซLPG เพื่อลดการอุดหนุน รวมทั้งชะลอการใช้เพื่อลดการนำเข้า ฉะนั้นในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนประเภทอื่น […]