โครงสร้างราคาน้ำมันมีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศอย่างไร
ราคาน้ำมันแต่ละประเทศมีนโยบายการกำหนดโครงสร้างและสัดส่วนในแต่ละโครงสร้างที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่ราคาปลายทางหรือราคาหน้าปั๊มที่มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหยิบราคาน้ำมันสำเร็จรูปของแต่ละประเทศมาเทียบกันโดยอาจพูดแต่เพียงแมสเสจที่ว่าประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันให้กับประเทศอื่นที่มีราคาหน้าปั๊มถูกกว่าไทย ยิ่งสร้างความบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดว่า ราคาน้ำมันไทยแพงอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันมีเหตุผลเรื่องโครงสร้างราคา ซึ่งทำให้ราคาแต่ละประเทศไม่เท่ากัน
ในบทความที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของโครงสร้างราคาในประเทศไปแล้ว คราวนี้จึงอยากขอยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงมาให้ดูกันว่า โครงสร้างราคาประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร
เทียบ มาเลเซีย
เทียบราคากับประเทศมาเลเซีย ในส่วนราคาหน้าโรงกลั่นด้วยความที่คุณภาพน้ำมันที่แตกต่างกัน กับนโยบายของภาครัฐ เรื่องผสมพลังงานทดแทนทำให้ราคาหน้าโรงกลั่นที่อ้างอิงสิงคโปร์มีความแตกต่างกันบ้าง ส่วนนโยบายเรื่องภาษีและกองทุนต่างๆ รัฐไม่มีการจัดเก็บหรือจัดเก็บบางตัวในสัดส่วนที่ต่ำ และนอกจากนั้นรัฐยังช่วยอุดนหนุนราคา (ช่วยจ่ายน้ำมันในแต่ละลิตร) ทำให้ราคาน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย
เทียบ สิงคโปร์
เทียบราคากับกับประเทศสิงคโปร์สิงคโปร์ ราคาหน้าโรงกลั่นแพง เพราะใช้น้ำมันคุณภาพสูง (ยูโร 5 ) บวกค่าการตลาดที่สูงมาก ทำให้ราคาน้ำมันสิงคโปร์แพงกว่าประเทศไทยชัดเจน
เทียบ กัมพูชา
เทียบราคากับประเทศกัมพูชาแม้ว่าจะเก็บภาษีและกองทุนฯในอัตราที่ต่ำกว่าไทยมาก แต่ค่าการตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชามีราคาใกล้เคียงกัน (บางช่วงราคากัมพูชาอาจแพงกว่าไทย แต่บางช่วงราคากัมพูชาก็อาจแพงกว่าไทย)
ไม่ใช่เพียงแค่ 3 ประเทศ ที่มีโครงสร้างราคาและสัดส่วนที่แตกต่างกัน หากแต่ “ทุกประเทศ” ต่างก็มีวิธีหรือนโยบายที่แตกต่างกัน ยังผลให้ราคาแต่ละประเทศต่างกัน ส่วนคำครหาที่ว่า ประเทศไทย ทำไมราคาน้ำมันแพง ก็คงจะไม่จริงเสียทีเดียว เพราะหากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว ประเทศราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศไทยอยู่ในระดับกลางๆ เท่านั้น