Articles Posted in the " ทำไมราคาน้ำมันแพง " Category

  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    “ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]


  • ราคาน้ำมันแพง พาชีวิตคนไทย แย่จริงหรือ?

        ทำไมราคาน้ำมันไทย คงเป็นคำถามในใจใครบางคน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ถูกชักจูงจากการจุดกระแสของคนบางกลุ่มในโลกโซเชียล เรื่องราคาน้พำมันหรือไม่ อันนี้พูดมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็เหมือนคนบางกลุ่มไม่เคยเข้าใจ เพราะเอาแต่จะนำราคาไปเทียบกับประเทศที่ถูกกว่าอยู่ร่ำไป เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เถียงกันเป็นร้อยปีก็คงไม่จบ เพราะฉะนั้นข้อเขียนในตอนนี้จะขอเขียนถึงราคาน้ำมันโดยอนุมานว่ามันแพงตามความคิดของคนบางคนก็แล้วกัน น้ำมันแพงแล้วมันแย่จริงหรือ บ้างก็ว่าทำให้ของแพง ทำให้เศรษฐกิจแย่ หรือบ้างก็อาจจะบอกว่าราคาน้ำมันนี่แหล่ะเป็นตัวการที่ทำให้คนจนลง … คำถามคือ ทั้งหมดมันเป็นอย่างที่เขาว่ากัน หรือมันแค่มีการพยายามสร้างกระแสจากคนบางกลุ่ม เพื่อหวังผลประโยชน์กันแน่     ในปี 2019 ปีที่ยังมีบางคนพยายามจัดตั้งกลุ่มโจมตีเรื่องราคาน้ำมัน พร้อมนำไปผูกกับเรื่องความเป็นอยู่ที่ลำบากของประชาชน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหลักฐานเป็นรูปธรรม คราวนี้ลองมาอ่านอีกข้อมูลหนึ่ง จาก https://energythaiinfo.blogspot.com/ ดูว่า ราคาน้ำมันแพงมันทำให้ชีวิตคนไทยอย่างเรา แย่ลงจริงไหม “ ประเทศที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเอเชีย จากการจัดอันดับของ U.S.News สหรัฐอเมริกา ถ้าเทียบในโซนเอเซีย ประเทศที่ได้อันดับ 1-3 ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน ส่วนของไทย ได้อันดับ 6 และ มาเลเซีย ได้อันดับ 7 ลำดับ       อาจมีคนสงสัยว่า อ่าวแล้วก่อนหน้าเรื่อง GDP ต่อหัวของไทย น้อยกว่า มาเลเซีย […]


  • ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพงกับปัจจัยที่ทำให้น้ำมันแพง

    เป็นคำถามคาใจใครหลาย ๆ คน ว่าทำไมประเทศไทยถึงมีราคนาน้ำมันแพง การจะตอบคำถามนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน คือ ‘โครงสร้างราคาน้ำมัน’ โดยเสีย ค่าภาษี ค่าการตลาด รวมไปถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันให้กับภาครัฐ จึงทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกมีราคาอยู่ในระดับปัจจุบันนี้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้คือรัฐบาลไม่ใช่บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.ต้นทุนเนื้อน้ำมันสำเร็จรูป ราคาที่โรงกลั่นน้ำมันขายให้กับผู้ค้าน้ำมัน (ยังไม่รวมภาษีและกองทุน) โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนด และการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ ซึ่งปรับขึ้น – ลง ตามราคาตลาดโลก 2.ภาษีและเงินเข้ากองทุน ซึ่งภาครัฐเป็นผู้กำหนด โดยเรียกเก็บแตกต่างกันออกไป – ภาษีสรรพสามิต รัฐมองว่าน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงต้องเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกันไป – ภาษีเทศบาล เป็นภาษีท้องถิ่นนำไปดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่ – ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดจากราคาน้ำมันที่ขาย ณ สถานีบริการน้ำมัน เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป – เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกเก็บหรือชดเชยโดยกระทรวงพลังงาน เป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน คือเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกสูงเกินไป ก็จะใช้เงินส่วนนี้เข้ามาพยุงราคาขายปลีกในประเทศไว้ – เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน […]


  • โครงสร้างราคาน้ำมันมีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศอย่างไร

    ราคาน้ำมันแต่ละประเทศมีนโยบายการกำหนดโครงสร้างและสัดส่วนในแต่ละโครงสร้างที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่ราคาปลายทางหรือราคาหน้าปั๊มที่มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหยิบราคาน้ำมันสำเร็จรูปของแต่ละประเทศมาเทียบกันโดยอาจพูดแต่เพียงแมสเสจที่ว่าประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันให้กับประเทศอื่นที่มีราคาหน้าปั๊มถูกกว่าไทย ยิ่งสร้างความบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดว่า ราคาน้ำมันไทยแพงอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันมีเหตุผลเรื่องโครงสร้างราคา ซึ่งทำให้ราคาแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ในบทความที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของโครงสร้างราคาในประเทศไปแล้ว คราวนี้จึงอยากขอยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงมาให้ดูกันว่า โครงสร้างราคาประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร เทียบ มาเลเซีย เทียบราคากับประเทศมาเลเซีย ในส่วนราคาหน้าโรงกลั่นด้วยความที่คุณภาพน้ำมันที่แตกต่างกัน กับนโยบายของภาครัฐ เรื่องผสมพลังงานทดแทนทำให้ราคาหน้าโรงกลั่นที่อ้างอิงสิงคโปร์มีความแตกต่างกันบ้าง ส่วนนโยบายเรื่องภาษีและกองทุนต่างๆ รัฐไม่มีการจัดเก็บหรือจัดเก็บบางตัวในสัดส่วนที่ต่ำ และนอกจากนั้นรัฐยังช่วยอุดนหนุนราคา (ช่วยจ่ายน้ำมันในแต่ละลิตร) ทำให้ราคาน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย เทียบ สิงคโปร์ เทียบราคากับกับประเทศสิงคโปร์สิงคโปร์ ราคาหน้าโรงกลั่นแพง เพราะใช้น้ำมันคุณภาพสูง (ยูโร 5 ) บวกค่าการตลาดที่สูงมาก ทำให้ราคาน้ำมันสิงคโปร์แพงกว่าประเทศไทยชัดเจน เทียบ กัมพูชา เทียบราคากับประเทศกัมพูชาแม้ว่าจะเก็บภาษีและกองทุนฯในอัตราที่ต่ำกว่าไทยมาก แต่ค่าการตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชามีราคาใกล้เคียงกัน (บางช่วงราคากัมพูชาอาจแพงกว่าไทย แต่บางช่วงราคากัมพูชาก็อาจแพงกว่าไทย) ไม่ใช่เพียงแค่ 3 ประเทศ ที่มีโครงสร้างราคาและสัดส่วนที่แตกต่างกัน หากแต่ “ทุกประเทศ” ต่างก็มีวิธีหรือนโยบายที่แตกต่างกัน ยังผลให้ราคาแต่ละประเทศต่างกัน ส่วนคำครหาที่ว่า ประเทศไทย ทำไมราคาน้ำมันแพง ก็คงจะไม่จริงเสียทีเดียว เพราะหากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว […]


  • น้ำมันไทยแพงแต่ส่งออกถูก

    น้ำมันไทยแพงแต่ส่งออกถูก

    อีกหนึ่งในประเด็นโต้แย้งเรื่องพลังงานคือ ทำไมต้องส่งออกน้ำมันแถมยังส่งออกในราคาถูกกว่าที่คนไทยจ่าย อีกทั้งยังสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่มคิดว่าที่ประเทศไทยส่งออกน้ำมันเป็นเพราะมีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก ความเป็นจริงแล้วประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้ประมาณ 10% จากปริมาณการใช้ในประเทศเท่านั้น ประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันแต่ก็ยังมีการส่งออกน้ำมันทั้งรูปแบบสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งปริมาณส่งออกน้อยมากถ้าเทียบจากปริมาณการผลิตทั้งหมด และราคาที่ “ส่งออกถูกกว่า” เพราะไม่ได้เก็บภาษีสรรพษามิตร ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงกองทุนต่างๆ ในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติเก็บจากคนในชาติ เพื่อพัฒนาชาติ กรณีส่งออกมาจาก 2 สาเหตุสำคัญคือโรงกลั่นไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้ หรือน้ำมันดิบไม่เหมาะกับการใช้ของคนในประเทศ เพราะน้ำมันจากบางแหล่งมีสารปรอทมาก ส่งผลต่อโรงกลั่นจึงส่งออกให้กับประเทศที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบชนิดนั้นได้ กรณีที่ 2 คือการขุดเจาะพบน้ำมันดิบที่สามารถกลั่นเบนซินได้มาก แต่ไม่ตรงกับการใช้ของคนไทย ก็จะมีการส่งออกเพื่อนำเข้าน้ำมันดิบที่ตรงกับต้องการใช้ของคนไทยเข้ามาแทน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ไทยจึงเป็นผู้ “นำเข้า” น้ำมันปริมาณมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็ “ส่งออก” น้ำมันด้วย เป็นเพราะว่าน้ำมันที่ไทยนำเข้าและส่งออก เป็นคนละตัวกันนั่นเอง ส่วนเรื่องที่คาใจคนไทยทั้งประเทศคือ ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพง ปัจจัยสำคัญเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสารพัดค่า ไม่ว่าจะเป็น ค่าภาษี ค่าการตลาด ไปจนถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันให้กับภาครัฐ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้คือรัฐบาลไม่ใช่บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ความต้องการใช้น้ำมันมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ปัญหาก็อยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะช่วยกันประหยัดพลังงานของชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของทุกคนได้ และต้องช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย Share This:


  • เจาะโครงสร้างราคาน้ำมันไทย เค้าว่าแพง!

    นอกจากจะรับบทแพะว่าเป็นต้นทุนของราคาสินค้าทุกประเภทแล้ว “น้ำมัน”ยังถูกโจมตีเรื่องราคาจากกลุ่มที่หวังผลทางการเมืองอยู่เสมอ กลายเป็นสินค้าที่ขยับขึ้นลงแต่ละที คนทั่วไปก็พร้อมจะกร่นปนบ่นด่ากันอยู่เสมอ ทำไมราคาน้ำมันแพง … เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย โดยไม่เคยเปิดดูโครงสร้างราคาและทราบที่มาที่ไปของแต่ละส่วน เลยถือโอกาสนี้หยิบโครงสร้างราคามาให้ดูกัน โครงสร้างราคาน้ำมันไทย แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี กองทุนต่าง ๆ และค่าการตลาด ประกอบออกมาเป็นราคาหน้าปั๊มที่เราใช้กัน ราคาหน้าโรงกลั่น คือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น โดยอ้างอิงจากตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์ ซึ่งราคาที่ใช้จะบวกเพิ่มมาจากสิงคโปร์เล็กน้อย จากค่าขนส่งจากสิงคโปร์ ค่าปรับปรุงคุณภาพเนื่องจากน้ำมันที่ประเทศไทยใช้มีมาตรฐานยูโรสูงกว่าตลาด รวมถึงการผสมพลังงานทดแทนลงไปในเนื้อน้ำมัน ทั้งเอทานอลที่ผสมกับเบนซิน และไบโอดีเซล B10 B20 โดยการปรับขึ้นลงราคาในส่วนนี้ก็เป็นไปตามกลไกของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ภาษี คือ ส่วนสำคัญที่รัฐเก็บเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงสาธารณูปโภคที่เกี่ยวกับการคมนาคมต่าง ๆ อาทิ ถนน สะพาน ไฟถนน จราจร ที่ไม่ใช่แค่สร้าง แต่รัฐต้องใช้เงินมหาศาลในการทำนุบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ รวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้พลังงาน โดยส่วนนี้รัฐมีหน้าที่กำหนดและจัดเก็บ กองทุนน้ำมัน มีหน้าที่หลักๆ ที่รัฐใช้เพื่อประกันราคา […]


  • เห็นแล้วอึ้ง สินค้าแพงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ถ้าเห็นภาพราคาสินค้าไทย ในปีที่ผ่านมา จะอึ้งทันทีเมื่อได้เห็นความจริงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน คงเคยเห็นคนบ่นกันเรื่องราคาน้ำมันว่าของไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน เวลาปรับแต่ละครั้งก็จะส่งผลต่อราคาสินค้า ถึงแม้จะปรับอย่างไร สินค้าของไทยก็ไม่ได้แพงขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน   ที่มา https://www.facebook.com/longtunman/photos/a.113656345833649.1073741828.113397052526245/347246759141272/?type=3&theater   ราคาน้ำมันของไทยก็ไม่ได้แพงสุดเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ที่มา http://www.eppo.go.th/index.php/th/   จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ถูกกว่าประเทศไทย สินค้าประเทศเหล่านั้น ก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าไทย ในขณะเดียวกัน ปรับตัวขึ้นสูงกว่าด้วย ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก มาตรการทางภาษี มีการจัดเก็บชดเชยรายได้รัฐ เพื่อให้ตามเป้าที่ต้องการ   ไทยอยากให้น้ำมันถูกก็ทำได้ ลดภาษีน้ำมัน แต่ไปขึ้นกับการเก็บภาษีในสินค้าแทนจะดีหรือไม่ ได้แต่ฝากให้คิด ข้อมูลจาก: http://energythaiinfo.blogspot.com/2018/06/blog-post.html Share This:


  • หนังคนละม้วนถ้าได้รู้ความจริงเรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา

    อาจได้มีการเห็น การแชร์เรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา ไทยส่งออกไปขายน้ำมันกัมพูชา โดยคนกัมพูชาใช้ถูกกว่าคนไทย ถ้าไม่คิดให้ดี หรือ ขวนขวายหาความจริงจะต้องเกิดคำถามในใจว่าทำไม ซึ่งทาง blog แฉ!! ทวงคืนพลังงาน ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าเป็นอย่างไร ได้มีเพจ น้องปอสาม ได้เฉลยข้อมูลไว้ว่า สาเหตุหลักๆ ที่ราคาต่างกันจากนโยบายทางภาษี ซึ่งจากข้อมูลรายได้ภาษีน้ำมันเป็นรายได้รัฐที่จัดเก็บในแต่ละปีมีมูลค่าสูงมาก หากลดเก็บภาษีน้ำมันลงรายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561) สัดส่วนโครงสร้างราคาน้ำมันของไทย กับ กัมพูชา ต่างกันอย่างไร   เมื่อช่วงอาทิตยที่ผ่านมา เห็นมีการแชร์ข้อมูลว่าไทยกับกัมพูชา ราคาน้ำมันต่างกัน โดยบางชนิดอย่างดีเซลไทยแพงกว่าดีเซลกัมพูชา อาจมีการสงสัยกันว่า เป็นเพราะอะไร คำตอบคือง่ายมาก โครงสร้างราคาต่างกัน ของกัมพูชาเก็บภาษีค่อนข้างจะต่ำมากกว่าไทย ในทางกลับกัน ถ้าไทยลดเก็บภาษีน้ำมันลง รายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561) […]


  • หยุดมโนวาทกรรมราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลเซีย

    คงเคยมีคนโพสต์เรื่องการรณรงค์คัดค้านทางประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ โดยโยงกับราคาพลังงาน และ ใช้ประโยคเชื่อมโยงที่ว่า “ราคาน้ำมันต้องเท่ามาเลเซีย” หากวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้กับการเอามาโยงราคาน้ำมันนั้นคนละเรื่องกันทีเดียว เพราะ สาระสำคัญในการประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ สาระสำคัญอยู่ที่การผลิตก๊าซธรรมชาติ เพื่อเอามาผลิตไฟฟ้า ที่มา สนพ.   ส่วนต่อมาเรื่องการที่บอกว่า ใช้ระบบจ้างผลิตได้ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐมากกว่าระบบแบ่งปันผลิตได้ผลประโยชน์มากกว่านั้น กลุ่มคนที่เข้าใจผิด มีการอ้างไปถึงว่า จ้างผลิตได้มากกว่า คงลืมไปว่า หากรวมตัวเลขทุกตัวเข้าด้วยกันของไทยได้มากกว่าด้วยซ้ำ   รายได้รัฐจากสัมปทานน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน   ส่วนถัดมา มีความเข้าใจผิดว่า มาเลเซียมีหลุม มีบ่อน้ำมันและก๊าซน้อยกว่าเรา เรื่องหลุมน้อยกว่า มากกว่า ไม่ได้เป็นหลักฐานว่า เราร่ำรวยกว่ามาเลเซียหรือประเทศอื่นๆ แต่หากต้องพิจารณา ปริมาณที่พบด้วย   จำนวนหลุมผลิตมากกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะผลิตปิโตรเลียมได้มากกว่า     สุดท้ายมีการเชื่อมโยงประเด็น ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย การแปรรูป ปตท. ทำให้น้ำมันแพงขึ้น หากเป็นผู้เจริญ ฉลาด และ คิดได้ จะไม่มีตรรกะการเชื่อมโยงแบบนี้เด็ดขาด เพราะ ไม่เกี่ยวกัน ราคาน้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ […]