Articles Posted in the " ข้อเท็จจริงพลังงานไทย " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    “ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]


  • ปฏิรูป – สำรวจ/ผลิต ปิโตรเลียม

    ปฏิรูป – สำรวจ/ผลิต ปิโตรเลียม

    ภายใต้สภาวะการเมืองร้อนระอุ หลายฝ่ายพูดถึงการปฏิรูป เรื่องหนึ่งคือ สัมปทานปิโตรเลียม แต่ก่อนจะตัดสินว่าควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร สมควรพิจารณาข้อเท็จจริงพลังงานไทยให้รอบด้านเพราะพลังงานเป็นเรื่องสลับซับซ้อนและมีผลกระทบกว้างขวาง     ข้อเท็จจริงพลังงานไทยในประเด็นข้องใจเกี่ยวกับรายได้ปิโตรเลียมของชาติมีอยู่หลายข้อ ได้เคยเขียนถึงตัวเลข 12.5% ว่านับแค่ค่าภาคหลวง ตามจริงต้องรวมภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) ซึ่งทำให้สัดส่วนกำไรของรัฐสูงขึ้น อยู่ที่ 58%ตามข้อมูลจริงถึงปี 2555 เป็นค่าเฉลี่ยจากระบบ Thailand I 54% และ Thailand III 72%  ทั้งนี้ไม่รวมเงินพิเศษอีกหลายอย่างที่เข้ารัฐ และไม่รวมรายได้จากโครงการร่วมไทย-มาเลเซีย มีการพูดว่าระบบสัมปทาน(Concession system) ต้องเปลี่ยนเป็นระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC : Production Sharing Contract) เพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงๆ ทว่าความจริงแต่ละระบบเป็นเรื่องของกลไกที่แตกต่างกัน สัดส่วนกำไรของรัฐเป็นผลลัพธ์ที่ขึ้นอยู่กับค่าตัวเลขสัมประสิทธิ์ที่ผูกอยู่กับกลไกของแต่ละระบบ มีการศึกษาของนายแดเนียล จอนสตัน (Daniel Johnston) ที่สรุปอยู่ในแผนภูมิซึ่งพิมพ์ในคอลัมน์นี้ไม่ได้ เป็นการแสดง “สัดส่วนกำไร” ของรัฐ (แนวตั้ง) เปรียบเทียบกับ Prospectivity (แนวนอน) หรือศักยภาพปิโตรเลียม ซึ่งจะสูงหากมีโอกาสสำรวจพบได้ง่ายในปริมาณมากและผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำ กำไรผู้ลงทุนมากรัฐก็สามารถเก็บภาษีและผลตอบแทนต่างๆได้มาก แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆ เป็นแนวเส้นจากมุมซ้ายล่างขึ้นสู่มุมบนขวา รวมทั้งระบบจัดเก็บรายได้ของแต่ละประเทศด้วย […]


  • โบลีเวียโมเดล กับ ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท

    โบลีเวียโมเดล กับ ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท

    (ซ้ายมือ) โปสเตอร์ชวนเชื่อในเหตุการณ์ Bolivian Gas War ในประเทศโบลีเวียในช่วงปี 2005 และ (ขวามือ) โลโก้กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย ท่ามกลางกระแส “ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท” ที่มีอยู่ในประเทศไทยในเวลานี้นั้นเกิดขึ้นจากคนกลุ่มๆ หนึ่งที่ต้องการให้แหล่งปิโตรเลียมและบริษัทพลังงานแห่ง ชาติ หรือ ปตท นั้น กลับคืนสู่รัฐ 100% และขอมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดิน เพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงๆ เพื่อเอามาสร้างระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล ต่างๆ นานาตามที่กล่าวอ้าง ฟังดูเผินๆ ก็เหมือนกับว่าทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตทนี้เป็นกลุ่มคนดี มีอุดมการณ์ที่ดี ทำเพื่อประชาชนและหน่วยงานพลังงานของรัฐ คือ กระทรวงพลังงานและ ปตท กลายเป็นปีศาจร้ายแต่ต้องถามใจเราเองก่อนว่า กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตทเหล่านั้นมีเจตนาดีจริงหรือ ต้องการให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องพลังงานแก่ประชาชนจริงๆ หรือเปล่า จุดเริ่มของเหล่านักทวงคืนพลังงานนั้นมาจาก Role Model ของพวกเค้าคือ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส แห่งโบลีเวียนั่นเองที่ได้ประกาศว่า […]


  • ข้อเท็จจริงพลังงานไทย : สารพันคำอธิบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

    ข้อเท็จจริงพลังงานไทย : สารพันคำอธิบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

    คนไทยทุกคนควรขวนขวายหาข้อมูลแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความสามารถความฉลาดและซื้อสัตย์ของข้าราชการไทยตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเรื่อยมาทั้งที่มีต้นทุนสูง 40-50% ของราคาที่ขายได้เพราะแหล่งมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายเราพบก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก มีสัดส่วนถึง 70 กว่า %ของปิโตรเลียมที่ค้นพบทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐฯ ก็ได้เผยแพร่ให้รับทราบกันทั่วไปอยู่แล้วเราจึงได้ใช้ก๊าซในประเทศในราคาถูกมาตลอด 30 กว่าปีเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งก๊าซถูกกว่าน้ำมันเตา ถูกกว่าน้ำมันดีเซลมาก และถูกกว่าก๊าซนำเข้าถึงครึ่งต่อครึ่งน้ำมันดิบส่วนมากถูกค้นพบในยุคหลังๆส่วนใหญ่ขายให้โรงกลั่นในประเทศเพราะผู้ขายได้ประโยชน์จากการที่สามารถเอาค่าภาคหลวงมาหักภาษีได้ มีส่งออกอันเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เกิดการใช้ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ภายในประเทศมาตั้งแต่เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 แต่ในปีแรกๆ ส่งออกมากกว่าใช้ในประเทศ เพราะ spec น้ำมันดิบที่ผลิตได้ไม่เหมาะกับโรงกลั่นในประเทศ (น้ำมันดิบถูกพบหลังจากสร้างโรงกลั่นไปแล้ว) ต่อมาเอกชนก็ปรับปรุงโรงกลั่นให้รองรับน้ำมันเหล่านี้ได้ จึงลดการส่งออกลงขณะนี้ประมาณ 44,000 บาร์เรลต่อวัน ก็คือ 30% ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ซึ่งถ้าเทียบกับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดของประเทศที่ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ก็เป็นแค่ 5% ที่ยังส่งออกอยู่เพราะ ผู้ซื้อภายในประเทศไม่ต้องการ ผู้รับสัมปทานมีสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าต่างประเทศ (ตกลงทำสัญญากันล่วงหน้าไว้แล้ว) ผู้รับสัมปทานยังต้องส่งออกเป็นครั้งคราวบ้าง เพื่อรักษาตลาดไว้ (ในกรณีที่ไม่สามารถขายภายในประเทศได้) ภาพนี้ได้มาจากสถาบันปิโตรเลียม แสดงให้เห็นแหล่งปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะ แสดงตัวเลขผลิตไปแล้วเท่าไร ส่งออกเท่าไร เหลืออีกเท่าไรเผยแพร่ต่อสาธารณะทั้งหมดมาตลอดเกือบยี่สิบปีแหล่งทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และภาพนี้ทำให้เราทราบถึงข้อเท็จจริงพลังงานไทยมากยิ่งขึ้นโดยในกฎหมายก็เขียนไว้ชัดว่าทรัพยากรเป็นของรัฐฯ บริษัทน้ำมันเป็นผู้รับสัมปทาน ได้สิทธิสำรวจและผลิตภายใต้การควบคุมของรัฐฯ ตามกฎหมายพ.ร.บปิโตรเลียม ไม่ใช่เจ้าของ ซึ่งกำหนดหน้าที่ สิทธิและการแบ่งผลประโยชน์ไว้อย่างชัดเจนแน่นอนไม่ได้เป็นไปตามอำเภอใจข้าราชการหรือนักการเมือง […]


  • ข้อเท็จจริงพลังงานไทย ปตท. โกงพลังงานไทยจริงหรือไม่??

    ข้อเท็จจริงพลังงานไทย ปตท. โกงพลังงานไทยจริงหรือไม่??

    ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจเสรีและราคาพลังงานก็เป็นไปตามกลไกเสรี โดยจะเห็นได้จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในบ้านเรา อ้างอิงจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดโลก (สิงคโปร์) ซึ่งโดยมากราคาน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยปกติแล้วเวลาที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้น ปตท. ก็ไม่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นทันที แต่จะพยายามตรึงราคาไว้ให้นานที่สุดจนค่าการตลาดต่ำกว่าระดับปกติ เผื่อตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาบ้าง แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ หรือตลาดโลกยังมีแนวโน้มขึ้นต่อจึงจะปรับขึ้นราคาขายปลีก ดังนั้น ในทางกลับกันขาลงจึงอาจรู้สึกว่ามีการปรับลดลงช้ากว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกอยู่บ้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงค่าการตลาดให้กลับมาสู่ระดับปกติิ จึงทำให้หลายๆ ท่านเกิดข้อสงสัยว่า ปตท. โกงพลังงานไทยหรือเปล่า การแข่งขันของ ปตท. นั้นอยู่บนการแข่งขันเสรี เช่น •  ธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไม่ได้เป็นธุรกิจผูกขาดเพราะเอกชนรายอื่นสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจได้ แต่สาเหตุที่มีผู้ประกอบการโรงแยกก๊าซฯ น้อยราย เนื่องมาจากต้องใช้เงินลงทุนสูง (เช่น โรงแยกก๊าซฯ ที่มีกำลังการแยกก๊าซฯ 800 ล้าน ลูกบาศก์ฟุต/วัน จะต้องใช้เงินลงทุนสร้างกว่า 30,000 ล้านบาท) และในปัจจุบันรัฐยังควบคุมราคา LPG ในประเทศต่ำกว่าตลาดโลก •  ธุรกิจ NGV  ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสถานีเอกชนประมาณ 88 สถานี จาก 470 สถานี และกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากการที่ ปตท. และภาครัฐสนับสนุนให้เอกชนมาลงทุนในสถานี NGV […]