จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้ 1. ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท 2. ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม 3. ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]
หลายคนเข้าใจผิดว่า NGV กับ LPG คือ เชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน และไม่ทราบถึงข้อแตกต่าง ซึ่งความจริงแล้ว NGV ต่างจาก LPG อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก NGV มีสถานะเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ โอกาสในการติดไฟยากมาก และหากมีการรั่วไหล NGV จะฟุ้งกระจายขึ้นบนอากาศอย่างรวดเร็ว ไม่สะสมอยู่บนพื้น จึงมีความปลอดภัยสูงมาก สำหรับ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม ที่ใช้กันในครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงรถแท็กซี่นั้น มีสถานะเป็นของเหลวที่หนักกว่าอากาศ หากรั่วไหลจะมีการสะสมและติดไฟได้ง่าย ในส่วนของค่าออกเทนนั้น NGV มีค่าออกเทนสูงกว่า LPG คือ มีค่าออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ LPG มีค่าออกเทนอยู่ที่ 105 RON อุปกรณ์ NGV และค่าใช้จ่าย – รถเครื่องยนต์เบนซิน ติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยใช้ระบบเชื้อเพลิงทวิ […]
บางคนสงสัยแต่ก็ไม่รู้ว่ามันต่างกันอย่างไรจนนึกว่าเหมือนกันไปแล้วอีกอย่างทางรัฐบาลก็สนับสนุนNGVเป็นส่วนใหญ่จนงงๆว่า LPG เนี่ย คืออะไรกันแน่ NGV: Natural Gas Vehicle จริงๆ มันแปลว่า พาหนะที่ใช้แก๊ซธรรมชาติ แต่คนเราก็เหมารวมเรียกเป็นชื่อแก๊ซไปด้วยตัวแก๊ซจริงๆ เรียกว่า CNG : Compressed Natural Gas ก๊าซธรรมชาติที่ถูกบีบอัดหรือ LNG : Liquefied Natural Gas ก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวเอาเป็นว่า จะเรียกว่าอะไรก็ตามมันคือ Natural Gas ก๊าซธรรมชาติ ก็แล้วกันก๊าซธรรมชาติเกิดจากการทับถมของฟอสซิลเหมือนน้ำมันและถ่านหิน แต่อยู่ในรูปก็าซมีส่วนประกอบหลักๆคือ มีเทน (Methane CH4) ซึ่งเบากว่าอากาศแหล่งก๊าซหลักๆ ได้แก่ อ่าวไทย และท่อส่งจากพม่า LPG : Liquefied petroleum gas ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือเรียกกันง่ายๆว่า ก๊าซหุงต้ม ที่ใส่ถังใช้กันตามบ้านทั่วไปก๊าซหุงต้มในประเทศไทยมีส่วนประกอบหลักๆ คือ โพรเพน และบิวเทน ในอัตราส่วน 70 : 30 (Propane […]
“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด? ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ […]
ข้อดีของก๊าซ NGV 1. เติมก๊าซ NGV แล้ววิ่งได้ 150 – 180 กิโลเมตรต่อครั้ง เราจะได้มีเวลาหยุดพักการขับรถเพื่อรอการเติมแก๊ส (เติมก๊าซ NGV นานๆๆมาก) ทำให้ไม่ง่วงนอนและไม่หลับใน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้มากมาย 2. เติมก๊าซ NGV แล้ววิ่งได้ 150 – 180 กิโลเมตรต่อครั้ง ถ้าไม่มีปั้มแก๊สให้เติม เราจะได้ใช้น้ำมันบ้าง (น้ำมันจะได้ไม่บูดคาถัง) 3. เติมก๊าซ NGV แล้ว กำลังเครื่องยนต์ตกประมาณ 10 % แต่ถ้าเติม LPG กำลังเครื่องยนต์ตกเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ซึ่งกำลังตกน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับรถสมัยใหม่ที่กำลังมากเกินไป กำลังเครื่องยนต์ตกประมาณ 10 % ใน NGV จึงทำให้การใช้รถไม่จัดจ้านเกินความจำเป็นซึ่งถือว่าได้เพิ่มความปลอดภัยให้ สูงขึ้น 4. ก๊าซ NGV เบากว่าอากาศ หากมีการรั่วก็จะสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถ หากมีการลุกไหม้เราก้มหัวลงก็ปลอดภัยแล้ว แต่ถ้า LPG […]
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม” ระบุว่านับตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ราคาก๊าซLPG ภาคขนส่ง ได้ปรับเขึ้นไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งละ 0.75 บาท/กิโลกรัม รวม 2.25 บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.38 บาท/กิโลกรัม จาก 18.13 บาท/กิโลกรัม คาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซLPG ในภาคขนส่ง จะยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาที่ปรับเพิ่ม โดยพิจารณาได้จากจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซLPG รายใหม่ ยังคงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11,000 คันต่อเดือน ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2555 ไปแล้วเฉลี่ยราวร้อยละ 18.4 เป็นผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำมัน หันไปใช้พลังงานประเภทอื่นที่มีราคาต่ำกว่าและที่นิยมใช้มากก็คือก๊าซLPG เพราะราคาจำหน่ายยังอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำมันมาก ปริมาณการใช้ก๊าซLPG ที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นพร้อมๆ กับภาระในการอุดหนุนราคาพลังงานของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปริมาณการผลิตก๊าซLPG ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศจึงต้องนำเข้าบางส่วนจากต่างประเทศในราคาที่สูง แต่ต้องนำมาจำหน่ายในประเทศด้วยราคาที่ต่ำกว่าเพื่อช่วยเหลือภาคประชาชน (ภาครัฐอุดหนุนราคาสำหรับก๊าซLPG ซึ่งนำเข้าในอัตราประมาณ 28 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งถือว่าผิดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของภาครัฐ ที่มีนโยบายทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซLPG เพื่อลดการอุดหนุน รวมทั้งชะลอการใช้เพื่อลดการนำเข้า ฉะนั้นในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนประเภทอื่น […]
เรื่องของ LPG นั้น เป็นประเด็นที่ผู้ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บ้างก็บอกว่าปตท. ขึ้นโรงแยกก๊าซฯ ช้า ผลิต LPG ไม่ทันใช้ บ้างก็ว่าภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี จนเป็นต้นเหตุทำให้มีใช้ไม่เพียงพอ บ้างก็ว่าให้ไปเก็บเงินที่นำเข้ามาจากพวกอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี LPG ส่วนคนใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ไม่ต้องจ่ายอะไร ฯลฯ ส่วนทางฝั่งผู้ผลิตและรัฐบาลก็พยายามจะขึ้นราคา และลดปริมาณการใช้ LPG ในรถยนต์ เช่น นโยบายที่ให้ Taxi เปลี่ยนมาใช้ NGV จึงทำให้เกิดประเด็นว่า LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่???? เหล่านี้เป็นประเด็นที่หลายคนขาดความเข้าใจ และใช้หลักการที่ว่า “เราถูกเสมอ คนอื่นแหละผิด” มาโดยตลอด ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรอยากขอให้ย้อนดูสักนิดว่าอะไรเป็นอะไร และสิ่งที่พูดกันนั้นมันมาจากความรู้สึกหรือความจริงต้องแยกให้ออก มิฉะนั้นแล้วบอกได้คำเดียวว่าประเทศชาติจะพัง!!!! คงเคยได้ยินกันว่า “หนึ่งนิ้ว ชี้ด่าคนอื่น สามนิ้วเนี่ยแหละที่ชี้ด่าตัวเองอยู่” สำหรับคนที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์แล้วออกมาโทษกลุ่มปิโตรเคมีว่าใช้เยอะมาแย่งประชาชนเนี่ย บอกได้เลยว่าหนึ่งนิ้วที่คุณใช้ชี้ด่าปิโตรเคมีเนี่ย จริงๆ แล้วคุณกำลังด่าตัวเองอยู่!!!! อยากให้ทุกคนลองมองตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วค่อยๆ มองออกไปรอบๆ ตัวเรา […]
ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลน LPG!!!! สาเหตุจากปริมาณการใช้ LPG ของภาคครัวเรือน ภาคขนส่งภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการควบคุมราคา LPG ไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกและต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเป็นระยะเวลานานมากว่า 30 ปี เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันจำนวนนับหลายแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็ยังตั้งประเด็นสงสัยในเรื่องของLPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อประโยชน์ได้มากกว่าการนำก๊าซธรรมชาติที่มีคุณค่าไปเผาเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ราคาจำหน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมีเป็นไปตาม กลไกตลาด ไม่เคยได้รับการอุดหนุนหรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต หลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อนั้นได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. ตั้งแต่ 2544 รวมทั้งประกาศดังกล่าวได้แนบไว้ในหนังสือชี้ชวนขายหุ้นสามัญ ปตท เพื่อให้นักลงทุนทราบ ดังนั้นไม่มีการรวบรัดจัดทำคู่มือการคำนวณดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง โดยคู่มือเป็นเพียงการระบุให้ลดผลตอบแทนการลงทุนจาก 16% เป็น 12.5% ตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ค่าผ่านท่อใหม่ปรับลดลงเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งคู่มือมีการเผยแพร่ใน Website เช่นกัน ไม่มีการปิดบังแต่ประการใด ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) นับเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขมานานของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ในปี 2534 รัฐบาลสมัยคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ประกาศยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันทุกชนิดให้ลอยตัวตามตลาดโลก […]