ได้มีโอกาสไปเจอข้อมูลมาจากเพจของกลุ่มทวงคืน ปตท กลุ่มหนึ่งที่กล่าวอ้างว่า ประเทศไทยเราขุดก๊าซธรรมชาติแล้วขายให้มาเลเซียเพียง 5 สตางค์/กิโลกรัมเท่านั้น ทั้งๆที่ขาย NGV ให้กับคนไทยเติมรถยนต์ตั้ง 10.50 บาท/กิโลกรัม แถมยังกล่าวอ้างอีกว่าเราไปซื้อก๊าซจากพม่ามาถึง 12 บาท/กิโลกรัม ต้องขอบอกว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่บิดเบือนเป็นอย่างมากเพราะแท้จริงแล้วการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างประเทศนั้นหาได้มีหน่วยขายเช่นเดียวกับการขาย NGVในประเทศ ไม่ โดยในการขายก๊าซธรรมชาติระหว่างประเทศนั้นหน่วยอ้างอิงที่ใช้ในการซื้อขายคือ เหรียญสหรัฐ หรือ บาท ต่อความร้อน 1 ล้านบีทียู (US$/1 MMBTU) ที่ก๊าซธรรมชาติจะสามารถให้ออกมาได้เมื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ขณะที่หน่วยขาย NGV ที่เป็นบาท/กิโลกรัมนั้นซึ่งที่บ้านเราจำหน่าย NGV ให้แก่รถยนต์ในราคาที่รัฐควบคุมไว้ที่ 10.50 บาท/กิโลกรัม อนึ่งการขายก๊าซธรรมชาติให้แก่มาเลเซียนั้นเป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างไทยและมาเลเซียในการแบ่งปันผลประโยชน์กันในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียที่ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากพื้นที่ดังกล่าวจะถูกนำมาแยกที่โรงแยกก๊าซจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วกำหนดราคาขายตามราคาตลาดโลกส่งให้แก่ไทยและมาเลเซียที่สุดท้ายจะแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันฝ่ายละ 50% จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่เราจะต้องไปขายก๊าซธรรมชาติให้แก่มาเลเซียในราคาที่ถูกกล่าวหาดังกล่าว เราลองมาดูกันว่าราคา NGV 10.50 บาท/กิโลกรัมนั้นหากแปลงเป็นหน่วย บาทต่อ 1 ล้านบีที แล้วลองเทียบกับราคาอ้างอิงที่ใช้ซื้อขายระหว่างประเทศ ราคาจำหน่าย NGV ในบ้านเรานั้นสูงหรือต่ำกว่ากันแน่ (เพราะเราได้ยิน ปตท บอกมาตลอดว่าการขาย NGV […]
เคยผ่านหูผ่านตากันมาไหมครับกับ การแชร์เรื่องราวดังกล่าว “เรื่องจริงจากอ่าวไทย” บนเฟสบุ้คเรื่องนี้ ถ้าไม่เคยผมขอเอามาฉายซ้ำให้อ่านกันอีกสักทีนะครับ เอาจริงๆนะครับเรื่องจริงจากอ่าวไทยนี่มันมีหลายเวอร์ชันเสียด้วยสิ แต่ละเวอร์ชันก็แล้วแต่ว่าใครได้รับมาแล้วจะแชร์ต่อไปเฉยๆ หรือเอาวาแต่งเสริมเพิ่มแต่งเป็น เรื่องจริงจากอ่าวไทย เวอร์ชัน 1.1 เรื่องจริงจากอ่าวไทยเวอร์ชันเขมร เรื่องจริงจากอ่าวไทยเวอร์ชันเวียดนาม เป็นต้น สำหรับของผมขอเป็นเรื่องจริงจากอ่าวไทยเวอร์ชันจริงกว่าก็แล้วกันครับ โดยสิ่งที่ผมจะแย้งเรื่องจริงจากอ่าวไทยออริจินัลเวอร์ชันที่ผมนำมาเกริ่นไว้นั้น ผมจะแย้งในส่วนของข้อความที่ผมไฮไลต์สีแดงเอาไว้ดังนี้ครับ >> เรื่องจริงจากอ่าวไทย บอกว่า “ขณะนี้เรือผมได้ทอดสมออยู่ที่หาดแหลมเจริญ …มารับแก๊สLPGจากIRPCเพื่อไปส่งเขมรและเวียดนาม…ตั้งแต่ผมเดินเรือ มายังไม่เคยเห็นเรือแก๊สที่นำเข้าเลยแม้แต่ลำเดียว มีแต่เรือส่งออก…แล้วเขาเอาเข้ามาทางไหนละครับ ถ้าทางเรือผมไม่เคยเห็น” เรื่องจริงจากอ่าวไทยเวอร์ชันจริงกว่า ขอแย้งว่า คลังก๊าซนำเข้าของ ปตท นั้นมันไม่ได้อยู่ที่หาดแหลมเจริญ จังหวัดระยองเลยครับ แต่มันอยู่ที่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังจังหวัดชลบุรีครับ ไปจอดรอที่หาดแหลมเจริญแล้วจะเห็นได้อย่างไรเล่า อีกอย่างนะครับการนำเข้าก๊าซ LPG เข้ามานั้นเขานำเข้ามาในรูปของโพรเพนเหลวและบิวเทนเหลวครับไม่ได้นำเข้ามาในรูปของ LPG ถ้าอยากรู้ข้อเท็จจริงไปขอตรวจสอบเอกสารการนำเข้าโพรเพนเหลวและบิวเทนเหลวได้ที่ศุลกากรเลยครับ อย่าไปเชื่อแค่ข่าวโคมลอยแบบนี้ >> เรื่องจริงจากอ่าวไทย บอกว่า “ลองมาดูที่แหลมเจริญที่ระยองซิครับมีเรือมาคอยรับทุกวันละครับ เพื่อส่งไปเขมร เวียดนาม” เรื่องจริงจากอ่าวไทยเวอร์ชันจริงกว่า ขอแย้งว่า ตามรายงานของสำนักนโยบายและแผนพลังงานนั้น เรามีการส่งออก LPG จริงครับแต่เป็นปริมาณที่น้อยมากคือ ไม่ถึง 1% ของความต้องการใช้ในประเทศนับตั้งแต่ปี 2551 […]
นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ NGV บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งความคืบหน้าของการปิดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ-เอ18) ซึ่งมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.-10 ก.ค. 2557 ว่า ปตท.ได้ติดตามสถานการณ์การซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯ เจดีเอของผู้ผลิตอย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกวันผ่าน “ศูนย์ติดตามผลกระทบการปฏิบัติงาน กรณีแหล่งก๊าซเจดีเอปิดซ่อมบำรุง” ปรากฏว่าผู้ผลิตได้รายงานผลการซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯ เป็นไปตามแผน คาดว่าแหล่งก๊าซฯ เจดีเอจะสามารถกลับมาจ่ายก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ระบบได้ตามกำหนด พร้อมทั้งมีข่าวดีเพิ่มเติมว่า ขณะนี้สถานีจ่ายก๊าซหลัก อ.จะนะ จ.สงขลา สามารถเริ่มกระบวนการอัดและทยอยส่งก๊าซ NGV จากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่สำรองไว้ในท่อ (Line Pack) แล้ว ตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 22 มิ.ย. 2557 โดยจัดส่งได้สูงกว่าปริมาณที่คาดการณ์ไว้ที่ 110 ตันต่อวัน และคาดว่าจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณการส่งก๊าซ NGV จนเข้าสู่ภาวะปกติได้ในวันที่ 25 มิ.ย. ศกนี้ ทั้งนี้ ปตท.ได้ทยอยเปิดสถานีบริการ NGV 4 แห่ง […]
สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV เครื่องยนต์จะสึกหรอช้า และน้ำมันหล่อลื่นมีอายุการใช้งานนานขึ้น กว่ารถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปอยู่แล้ว แต่เจ้าของรถทุกคนก็ควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษารถของคุณให้ดีให้ถูกวิธีด้วยเคล็ดลับการดูแลรถที่ถูกวิธีที่เรานำมาฝาก ดังนี้ • รักษาระบบการจุดระเบิด (Ignition System) ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ • เครื่องยนต์ที่ติด NGV จะสตาร์ทโดยใช้น้ำมันเบนซินเสมอ จึงควรมีน้ำมันเบนซินอยู่ในถัง ประมาณ 1 ใน 4 เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับปั้มเชื้อเพลิงอิเล็คทรอนิคส์ • อุปกรณ์บางส่วนทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์หรือระบบไฟฟ้า จึงควรระวังไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้สัมผัสกับน้ำ • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถติด NGV ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ • ตรวจสอบ/เปลี่ยนกรองอากาศทุกๆ 10,000 กิโลเมตร • ตรวจสอบ และตั้งบ่าวาล์วไอเสีย ทุกระยะใช้งานรถ NGV 40,000 – 60,000 กม. • เมื่อได้กลิ่นก๊าซ ให้หยุดการใช้ระบบก๊าซ NGV โดยการปิดวาล์วหัวถังและกลับมาใช้งานระบบน้ำมันจากนั้นให้เข้ารับการตรวจสอบจากศูนย์ติดตั้งทันที • ควรเข้ารับการบริการตรวจเช็คจากช่างผู้ชำนาญของศูนย์บริการ NGV เท่านั้นเพื่ออายุที่ยาวนานของอุปกรณ์ ที่ข้อสำคัญที่ควรทราบสำหรับผู้ใช้รถ NGV คือต้องติดสติ๊กเกอร์ แสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ตัวรถในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน […]
นางจิตตรา ศรีรุ่งเรือง รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถเอกชนร่วมบริการ ขสมก. กล่าวว่า ขสมก.มีรถเมล์อยู่ประมาณ 3,000 กว่าคัน แต่ใช้งานได้จริงประมาณ 2,800 คัน เนื่องจากใช้งานมานานจึงมีสภาพเก่า และชำรุด แต่ยังดีที่มีรถร่วมบริการเอกชน ขสมก.ที่ให้บริการในเส้นทางต่างๆอยู่ ประชาชนยังสามารถใช้บริการได้ตามปกติ โดยรวมแล้วรถร่วมเอกชน ขสมก.มีประมาณ 10,000 คัน แบ่งเป็นรถตู้โดยสารประมาณ 4,000-5,000 คัน รถโดยสารในซอยประมาณ 2,000 คัน รถมินิบัสประมาณ 1,000 คัน และรถบัสโดยสาร ที่วิ่งให้บริการในลักษณะเดียวกันกับรถ ขสมก.ประมาณ 3,000 คัน นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) กล่าวว่า ขณะนี้ ขสมก.ได้สรุปรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์)โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาทเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากได้ประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านทางเว็บไซต์ 10 ครั้ง และนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการจัดทำทีโออาร์เพิ่มเติม หากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เห็นชอบให้ดำเนินการก็สามารถประกาศขายซองประกวดราคาได้ทันที “ขสมก.ได้เตรียมรายละเอียดดำเนินโครงการทุกอย่างไว้พร้อมหมดแล้ว รอเพียงคำสั่งจาก คสช.เท่านั้น […]
NGV จัดเป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัย เนื่องจากเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนอย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการสะสมตัวตามพื้นล่างเหมือน LPG อีกทั้งขีดจำกัดการติดไฟและอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองของ NGV ก็สูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ขณะเดียวกัน การใช้ NGV จะช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ด้วยคุณสมบัติพิเศษของ NGV ที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นที่ทราบกันดีว่า ไอเสียของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล มีปริมาณฝุ่นละออง และก๊าซพิษต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและต่อโลกของเราปะปนเป็นปริมาณมาก การเปลี่ยนมาใช้ NGV ซึ่งมีคุณสมบัติเผาไหม้สมบูรณ์กว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ทำให้มีปริมาณฝุ่นละอองและก๊าซพิษต่างๆ ที่ปล่อยออกมาค่อนข้างต่ำ ช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยผลทดสอบมลพิษในเครื่องยนต์จาก TNO Road-Vehicles Research Institute (Holland)พบว่า เมื่อใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง จะสามารถลดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ได้ถึง 60% และลดปริมาณออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) ได้ 13% เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเบนซิน อีกทั้งคุณภาพไอเสียของรถที่ใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงก็ถือว่าดีกว่าการใช้ LPG เช่นกัน Share This:
ก่อนหน้านี้ผมได้อธิบายไปแล้วในหัวข้อเรื่อง NGV / CNG / LNG / ก๊าซธรรมชาติ ความเหมือนที่แตกต่าง สำหรับผู้ที่สนใจลองหาอ่านดูนะครับเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในตอนนี้ สิ่งที่จะมาเล่าให้ฟังในตอนนี้คือราคาของก๊าซธรรมชาติ (ไม่ใช่ NGV) ตามแหล่งต่างๆทั่วโลกเท่าที่ผมพอจะหาข้อมูลมาได้ ว่ามีราคาเท่าไร เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในรถยนต์หรือ NGV นั้นไม่มีราคาตลาดโลก เพราะแต่ละประเทศจะขายโดยไม่มีราคากลางอ้างอิงแต่จะขึ้นอยู่กับต้นทุนของประเทศนั้นๆ เช่น ต้นทุนการสำรวจ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการบริหารจัดการ เช่น ต้นทุนขนส่ง โดยหากเป็นการขนส่งผ่านระบบท่อก๊าซจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกกว่าการขนส่งโดยรถบรรทุกไปยังสถานีบริการ NGV แต่ถ้าเป็นก๊าซธรรมชาติ (ย้ำอีกครั้ง ไม่ใช่ NGV นะครับ) นั้นมีราคาตลาดโลกครับ โดยราคาตลาดโลกของก๊าซธรรมชาติที่เขาซื้อขายกันนั้นไม่ได้คิดที่จำนวนหรือน้ำหนักของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งต่างจากน้ำมันที่คิดราคาต่อลิตร หรือ ต่อบาร์เรล และ LPG ที่คิดราคาต่อตัน แต่เขาคิดราคาจากค่าความร้อนที่ก๊าซธรรมชาติให้ออกมา โดยหน่วยสากลที่ใช้กันคือ US$/Mmbtu หรือ เหรียญสหรัฐต่อ 1 ล้านบีทียู ลองดูตามลิ้งค์นี้นะครับเพื่อตรวจสอบราคาก๊าซธรรมชาติที่เขาซื้อขายกันตามแหล่งต่างๆในโลก http://www.bp.com/en/global/corporate/about-bp/energy-economics/statistical-review-of-world-energy-2013/review-by-energy-type/natural-gas/natural-gas-prices.html เรามาดูกันที่ราคาเฉลี่ยในปี 2012 ของก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างๆกันครับ ญี่ปุ่น 16.75 […]
ในตอนที่แล้วผมได้บอกให้เห็นถึงความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง NGV / CNG / LNG ไปแล้ว พอดีมีเพื่อนๆทักท้วงเรื่องคำเต็มของ NGV ว่าแท้จริงแล้ว NGV ย่อมาจาก Natural Gas Vehicle ซึ่งแปลว่า “ยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง” ไม่ใช่ Natural Gas for Vehicle ที่แปลว่า “ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ” เอาเป็นว่าแตกต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียดปลีกย่อยแต่สาระสำคัญคือ NGV ก็คือการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะ หรือรถยนต์นั่นเอง ประเด็นที่ผมติดค้างเอาไว้ก็คือ การนำ LNG ไปใช้ประโยชน์นอกจากการระเหยให้ LNG เปลี่ยนจากสถานะเของเหลวไปเป็นสถานะก๊าซแล้วจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งในการผลิตกระแสไฟฟ้า / ในโรงงานอุตสาหกรรม / และในรถยนต์ (NGV) ในตอนนี้เราจะมาดูการนำ LNG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องระเหยให้เป็นก๊าซแล้วค่อยขนส่งไปไม่ว่าจะทางระบบท่อหรือใส่รถบรรทุกกันครับ ก่อนอื่นผมอยากให้ทำความเข้าใจตามแผนภาพนี้ก่อน ปกติแล้ว LNG ที่รับที่ท่าเรือนั้นจะถูกทำให้มีสถานะเป็นก๊าซก่อนแล้วจึงจะถูกส่งไปตามท่อเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่ส่งไปตามระบบท่อก๊าซนั่นเอง แต่ก็มีเหมือนกันที่อาจจะขนส่ง LNG (ไม่แปลงเป็นก๊าซก่อน) ไปยังที่ต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติ โดยการขนส่ง LNG […]
เรามาทำความเข้าใจคำว่า NGV, CNG, LNG กันก่อนดีกว่า เริ่มกันที่คำว่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษ คือ Natural Gas ย่อๆคือ NG ซึ่งจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบอยู่ในทั้งสามคำที่กล่าวไว้แล้ว มาดูกันว่าแต่ละคำย่อมาจากอะไรและมีความหมายแตกต่างกันอย่างไร NGV ย่อมาจาก Natural Gas for Vehicle แปลว่า “ก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ในยานพาหนะ” CNG ย่อมาจาก Compressed Natural Gas แปลว่า “ก๊าซธรรมชาติที่ถูกอัดแรงดัน” LNG ย่อมาจาก Liquefied Natural Gas แปลว่า “ก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้กลายเป็นของเหลว” – หรือเรียกสั้นๆว่า “ก๊าซธรรมชาติเหลว” สำหรับก๊าซธรรมชาติที่เรานำมาใช้ในการเติมรถยนต์ หรือ NGV นั้น แท้จริงแล้วก็คือการนำก๊าซธรรมชาติมาอัดแรงดัน (Compressed) ใส่ไว้ในถังท้ายรถเรานั้นเอง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า NGV ก็คือ CNG นั่นเอง ใครไม่เชื่อลองไปสังเกตถังบรรจุก๊าซธรรมชาติที่อยู่ท้ายรถดูนะครับ แล้วเจ้า LNG ล่ะ […]
ปตท. เตรียมความพร้อมรับมือผู้ใช้รถ NGV เที่ยวสงกรานต์ นายนพดล ปิ่นสุภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ปตท. ได้เตรียมความพร้อมให้บริการ NGV รองรับการเดินทางของผู้ใช้รถ NGV ทั่วประเทศ ทั้งขาไปและกลับ รวมถึงจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญทุกภูมิภาค โดยในช่วงวันแรกๆ ของช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นวันที่ผู้ใช้รถเดินทางออกต่างจังหวัด ทาง ปตท. จะเพิ่มปริมาณการจัดส่งก๊าซไปยังสถานีบริการ NGV ที่ตั้งอยู่ในฝั่งขาออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนวันหลังๆ จะเน้นการจัดส่งก๊าซไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในทุกภูมิภาค หลังจากนั้น ปตท. จะปรับเพิ่มปริมาณการจัดส่งก๊าซให้กับสถานีบริการ NGV ที่ตั้งอยู่ในฝั่งขาเข้า เพื่อรองรับผู้ใช้รถที่เริ่มทยอยเดินทางกลับจากภูมิลำเนาสู่กรุงเทพมหานคร ปตท. มั่นใจว่าผู้ใช้รถ NGV จะได้รับความสะดวกในการใช้บริการยิ่งขึ้นตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เดินทางจำนวนมาก อาจทำให้มีคิวรอเติมก๊าซเยอะบ้างในบางช่วงเวลา ซึ่ง ปตท. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ที่มาของข่าว: http://money.sanook.com/ Share This: