Articles Posted in the " น้ำมันแพง " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าราคาน้ำมันประเทศลาว!!?

        ดราม่าตามประสาคนขี้บิดเบือนในแวดวงเรื่องพลังงาน ที่สะกิดต่อมขี้อิจฉาของคนไทยให้สั่นระริก ด้วยราคาน้ำมันแสนถูกจากเพื่อนบ้าน ถึงขนาดคนไทยหัวร้อนที่ไม่เช็คข้อมูลก่อนออกมาโววาย ฟาดงวงฟาดงาว่าทำไมประเทศไทยจึงมีราคาน้ำมันแพง จะโกงชาติกันเกินไปแล้ว ขนาดประเทศที่เรามโนว่าล้าหลังกว่าเรารอบๆ ข้างเขายังได้รัฐบาลใจดีช่วยให้ราคาถูกได้เลย     ทั้งราคาพม่า ราคามาเลเซีย ถูกหยิบมาเล่าแล้วเล่าอีก ประหนึ่งกลัวคนไทยไม่จะหูตาสว่าง พอโดนเสี้ยมบ่อยๆ เข้า ก็เป่าลมปดใส่หูว่า ไม่ใช่แค่นี้นะ แต่ไทยมีราคาน้ำมันแพงที่สุดในอาเซียนเลยนะจ้ะ พลันโพสต์ภาพที่อ้างอิงจากแหล่งข่าวว่า นี่เดี๊ยนไปถ่ายมาจากสถานที่จริงเลยนะตัวเธอดังภาพ…     …พร้อมอวดอ้างสรรพคุณว่านี่คือราคาน้ำมันประเทศลาว บ้างก็ว่านี่คือราคาน้ำมันเขมร ซึ่งไม่ทันจะได้ไปดูสถานที่จริง คนไทยลูกดราม่าก็พุ่งเป้าโจมตีทั้งรัฐบาล โจมตีทั้ง ปตท. ว่าน้ำมันใต้ดินมันของฉัน ทำไมฉันต้องใช้แพงด้วย แล้วทำไมพวกนี้มีสิทธิ์อะไร ถึงได้ใช้ถูกกว่าฉัน โดยไม่ได้เหลือบดูโลโก้ตัวเท่าบ้าน ป้ายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากหัวจ่าย แหม… อยากจะเอาน้ำแข็งไปแปะหัวร้อนๆ แล้วบอกว่าแหกตาดูซะนั่นมันแสดงว่าเสียภาษีให้ไทย แปลว่าป้ายไทย เพราะฉะนั้นแปลว่าราคาน้ำมันอันนี้มันอยู่ในประเทศไทยครับ ไม่ใช่ราคาน้ำมันประเทศลาว หรือประเทศเขมรแต่อย่างใด และที่ราคาแตกต่างจากราคาจริง เพราะมุมกล้องที่ทำให้เห็นเลขเป็นแค่เลข 1 ไงครับ แต่กว่าที่จะได้แก้ตัว ก็พอเพียงให้เรื่องราวเหล่านี้ กลายเป็นคำร่ำลือ ให้คนที่ไม่มีความรู้เชื่อไปตามๆ กัน ว่าประเทศไทยที่แสนเจริญนั้น ต้องใช้ราคาน้ำมันแสนแพง แพงกว่าชาวบ้านเขาอีก   เปรียบเทียบราคาน้ำมันไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน     ตัดกลับมาที่สถานการณ์จริง เราใช้น้ำมันแพงกว่าพม่า กว่ามาเลเซียจริง […]


  • ตอบข้อสงสัย ค่าการตลาดน้ำมันสูงคืออะไร น้ำมันแพงได้ยังไง

    ค่าการตลาดน้ำมันสูง ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยถึง “ค่าการตลาดน้ำมัน” เราควรทราบถึงว่าน้ำมัน 1 ลิตร เราต้องจ่ายค่าอะไรบ้างได้แก่ ต้นทุนสินค้า (ราคาหน้าโรงกลั่น), ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ, กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, และ ค่าการตลาด ( Marketing Margin ) Share This:


  • ทำไมแก๊ส LPG แพงจัง?ทั้งที่ราคาก๊าซตลาดโลกลด

    ทำไมแก๊ส LPG แพงจัง?ทั้งที่ราคาก๊าซตลาดโลกลด

    ทำไมแก๊สแพง คำว่า “น้ำมันแพง” หรือ “แก๊สแพง” กลายเป็นคำที่คนมักใช้ติดปาก แม้ว่าเราจะไม่สามารถวัดได้ว่า “แพง” หมายถึงอย่างไร และคำว่า “ถูก” ที่เราต้องการคือราคาเท่าไหร่ รู้แต่ว่าราคาถูก คือราคาที่ฉันอยากได้ เป็นราคาแบบตามใจฉัน แต่เพราะราคาปัจจุบันยังไม่ถูกใจ จึงกร่นด่าว่าแพงไว้ก่อน ซึ่งหากจะวัดคำว่าแพง จากกำไรที่ได้ ราคาแก๊ส (LPG) หน้าปั๊มอยู่ที่ 23.96 บาท ในขณะที่ค่าการตลาดหรือกำไรอยู่ที่ 3.2566 บาท (9/6/2558) เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกำไรคือ 13.59% ยังไม่นับต้นทุนของแต่ละปั๊ม นั่นแปลว่าสินค้าชนิดนี้ไม่ได้สร้างกำไรให้ผู้ค้ามากมายเลย บางท่านอาจแย้งว่า ในเมื่อก๊าซขุดได้ในประเทศ ทำไมจึงต้องตั้งราคาต้นทุนไว้ซะสูง โดยลืมคิดไปว่าในความเป็นจริง อุปสงค์หรือความต้องการใช้ก๊าซของประเทศไทยมากกว่าอุปทานหรือการจัดหาที่สามารถหาได้ในประเทศเสียอีก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซส่วนหนึ่งในรูป LNG (Liquid Natural gas) ซึ่งมีราคาสูงมาก นอกจากนี้ ราคาขายปลีกก๊าซบ้านเรายังรวมภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนอีกด้วย ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่า ทำไมแก๊สแพง (LPG) มาทำความรู้จักกับโครงสร้างราคากันก่อนดีกว่า 1. ในโครงสร้างราคาน้ำมันและ LPG นั้นจะประกอบด้วยหลักๆ คือ ราคาหน้าโรงกลั่น […]


  • การขับรถยนต์อย่างไรให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในวิกฤตน้ำมันแพง

    การขับรถยนต์อย่างไรให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในวิกฤตน้ำมันแพง

    ในวันที่น้ำมันแพงอย่างต่อเนื่องทั่วโลกเช่นนี้ หากเราไม่สามารถหยุดหรือเลิกใช้น้ำมันได้ เพราะเนื่องจากราคาน้ำมันก็แพงขึ้นทุกวันที่สำคัญเราต้องใช้งานทุกวัน จนทำให้ประเทศเราเกิดการวิพากวิจารณ์ต่างๆ นาๆ ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลก แต่คุณเห็นด้วยหรือไม่ ว่ายังไงเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันได้อยู่ดีและที่สำคัญเราก็ต่างหาข้อเท็จจริงกันไม่ได้ด้วย ว่าทำไมราคาน้ำมันถึงแพงและสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการประหยัดคงเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้เราได้ สบายใจสบายเงินในกระเป๋าในยุคน้ำมันแพงกันมากขึ้น การขับรถที่คุณใช้อยู่นั้นก็มีวิธีขับที่ช่วยประหยัดน้ำมัน ได้ง่ายๆ ดังนี้ 1.  ขณะสตาร์ทรถไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟหน้ารถ และเครื่องเสียง จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เปลืองน้ำมัน 10% 2.  ไม่อุ่นเครื่องยนต์ก่อนขับเคลื่อนตัวรถ เพียงขับเคลื่อนรถเบาๆ 1-2 ก.ม. เครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่จำเป็นต้องอุ่นเครื่องยนต์แล้วจอดอยู่กับที่ เพราะการติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ 2 นาที สิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี. 3.  ไม่เบิ้ล ไม่บิดเครื่องยนต์ การเบิ้ลเครื่องยนต์ ขณะเกียร์ว่าง 10 ครั้ง ส่งผลให้รถจักรยานยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมัน 15 ซีซี., รถปิคอัพ รถตู้ รถแวน สิ้นเปลืองน้ำมัน 100 ซีซี. และรถบรรทุก สิ้นเปลืองน้ำมัน 300 ซีซี. 4.  […]


  • ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ราคาน้ำมันหน้าปั๊ม มีที่มาอย่างไร?

    ธุรกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยเป็นระบบการค้าเสรี ราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความผันผวนสูง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยทำไมคนไทยถึงใช้น้ำมันแพง สาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่ขยายตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะจาก จีน และอินเดีย ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ความกังวลในเรื่องปัญหาการเมืองและความวุ่นวายในประเทศผู้ผลิตน้ำมันกลุม่ โอเปก และส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันลว่ งหน้า ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกินราคาปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปัจจุบันควรจะอยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญ สหรัฐ/บาร์เรล (ราคา ณ เดือนพฤษภาคม 2551) ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปที่เราซื้อจากสถานีบริการ มีโครงสร้างของราคาประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) ค่าต้นทุนในการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่น หรือนำเข้าจากต่างประเทศ 2) เงินภาษีและกองทุนที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 3) ค่าการตลาด ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น ค่าจ้าง แรงงาน ค่าขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นผ่านคลังน้ำมันไปยังสถานีบริการนํ้ามัน ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ ค่าส่งเสริมการตลาด และค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ ค่าการตลาดที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจควรจะอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันดีเซลมีค่าการตลาดติดลบ […]


  • น้ำมันแพง หันมาใช้ถัง NGV ปลอดภัยหรือเปล่า

    ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ปัจจุบันมีการผลิตถังก๊าซ NGV อยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม  ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน  ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง  ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass) ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุด ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้ สำหรับถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม  หลายท่านอาจมีคำถามคาใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง […]