Articles Posted in the " ปตท เหตุน้ำมันแพง " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • ที่มาที่ไป ที่ใครๆก็ว่าน้ำมันแพง

    ที่มาที่ไป ที่ใครๆก็ว่าน้ำมันแพง

    หลายต่อหลายคนพากันสงสัยว่า เอ๊ะ! ราคาน้ำมันตอนนี้ทำไมมันขึ้นเรื่อยๆ มันคือกลโกง ปตท หรือเปล่า แล้วปตท เป็นเหตุที่ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือไม่ เรามาดูต้นเหตุที่แท้จริงกันเลยดีกว่า ประเทศแถบตะวันออกกลางส่งออกน้ำมันดิบซึ่งขนส่งน้ำมันมาไทยผ่านทางทะเล โดยสัดส่วนของน้ำมันดิบในไทยที่ผลิตได้นั้นมีเพียงแค่ 18% ซึ่งพบน้ำมันดิบได้ที่ที่ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ส่วนอีก 82% นั้นเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด โดยน้ำเข้าจากกลุ่มตะวันออกกลาง ร้อยละ 74 จากกลุ่มตะวันออกไกล ร้อยละ 7 และจากที่อื่นๆ ร้อยละ 16 ซึ่งพอขนส่งมาจนถึงไทยแล้วก็นำน้ำมันดิบเข้าสู่โรงกลั่นโดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นนั้นจะได้ เชื้อเพลิงโรงงานฯ เชื้อเพลิงยานยนต์ ก๊าซหุงต้ม เบนซิน แนฟกา น้ำมันก๊าด น้ำมันอากาศยาน ดีเซลหมุนเร็ว ดีเซลหมุนช้า น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ยางมะตอย โดยที่ได้ทั้งหมดนี้ เมื่อเข้าสัดส่วนความต้องการในการใช้น้ำมันแต่ละชนิดของไทยแล้ว พบว่า ดีเซลเป็นน้ำมันที่คนไทยต้องการมากที่สุดถึง 73% รองลงมาคือน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลเพียง 27% เมื่อกลั่นเสร็จแล้ว ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการมหาบวก ด่านแรกที่น้ำมันออกมาจากโรงกลั่นแล้วจะต้องโดนบวกเลยก็คือ บวกค่าภาษี 18% โดยแบ่งเป็นยิบย่อยได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง […]


  • อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]


  • ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ปตท โก่งราคาน้ำมัน

    ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ปตท โก่งราคาน้ำมัน

    ประเทศไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลก ปตท โก่งราคาน้ำมัน ปตท กลโกลแปดขั้น และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เราถกเถียงกันว่าทำไมต้องอ้างอิงราคา น้ำมันตลาดฯสิงคโปร์ด้วย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่าตลาดกลางคืออะไรครับ ทำไมต้องมีตลาดซื้อขายสินค้ากลางหรือต้องอ้างอิงราคาซื้อขายจากตลาดกลาง สินค้า อุปโภคบริโภค หรือ Commodities นั้น จะมีการแข่งขันสูง และความต้องการสูง เพราะเป็นสินค้าที่คนเราจำเป็นต้องกินต้องใช้กัน หรือเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันเป็นประจำ เช่น น้ำมัน สินค้าการเกษตร ข้าว อาหาร ผลไม้ ทองคำ แร่ หรือแม้แต่ หุ้น ก็ต้องมีตลาดกลางในการรองรับการซื้อขาย ราคาที่มาจากตลาดกลางนี้ จะเป็นราคาอ้างอิง หรือบรรทัดฐานในการซื้อขายสินค้าชนิดเดียวกันในภูมิภาคเดียวกันโดยปริยาย  ตัวอย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ผมสมมติว่าทุกกรณีไม่มีค่าเดินทางและค่าขนส่งครับ ตัวอย่างที่ 1: หุ้น ผม ถือใบหุ้นบริษัท A อยู่แล้วมีนาย ก. ต้องการซื้อใบหุ้นนี้ต่อจากผม ผมต้องคิดราคาหุ้นตัวนี้เท่าไร? ผมแน่ใจว่าทุกคนมีคำตอบอยู่แล้ว ราคาที่ที่ทั้งผมและนาย ก. จะตกลงซื้อขายกันได้ ก็ต้องเป็นราคาที่อ้างอิงมาจาก “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ที่เป็นตลาดการซื้อขายกลางที่มีนักลงทุนเข้ามาซื้อขายเป็นจำนวนมากเป็นการ สะท้อนถึงราคาหุ้นที่แท้จริงตามปัจจัยการลงทุน ณ ปัจจุบันนั่นเอง […]


  • ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่   หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]