Articles Posted in the " ข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมัน " Category

  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • ราคาน้ำมันแพง พาชีวิตคนไทย แย่จริงหรือ?

        ทำไมราคาน้ำมันไทย คงเป็นคำถามในใจใครบางคน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ถูกชักจูงจากการจุดกระแสของคนบางกลุ่มในโลกโซเชียล เรื่องราคาน้พำมันหรือไม่ อันนี้พูดมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็เหมือนคนบางกลุ่มไม่เคยเข้าใจ เพราะเอาแต่จะนำราคาไปเทียบกับประเทศที่ถูกกว่าอยู่ร่ำไป เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เถียงกันเป็นร้อยปีก็คงไม่จบ เพราะฉะนั้นข้อเขียนในตอนนี้จะขอเขียนถึงราคาน้ำมันโดยอนุมานว่ามันแพงตามความคิดของคนบางคนก็แล้วกัน น้ำมันแพงแล้วมันแย่จริงหรือ บ้างก็ว่าทำให้ของแพง ทำให้เศรษฐกิจแย่ หรือบ้างก็อาจจะบอกว่าราคาน้ำมันนี่แหล่ะเป็นตัวการที่ทำให้คนจนลง … คำถามคือ ทั้งหมดมันเป็นอย่างที่เขาว่ากัน หรือมันแค่มีการพยายามสร้างกระแสจากคนบางกลุ่ม เพื่อหวังผลประโยชน์กันแน่     ในปี 2019 ปีที่ยังมีบางคนพยายามจัดตั้งกลุ่มโจมตีเรื่องราคาน้ำมัน พร้อมนำไปผูกกับเรื่องความเป็นอยู่ที่ลำบากของประชาชน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหลักฐานเป็นรูปธรรม คราวนี้ลองมาอ่านอีกข้อมูลหนึ่ง จาก https://energythaiinfo.blogspot.com/ ดูว่า ราคาน้ำมันแพงมันทำให้ชีวิตคนไทยอย่างเรา แย่ลงจริงไหม “ ประเทศที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเอเชีย จากการจัดอันดับของ U.S.News สหรัฐอเมริกา ถ้าเทียบในโซนเอเซีย ประเทศที่ได้อันดับ 1-3 ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน ส่วนของไทย ได้อันดับ 6 และ มาเลเซีย ได้อันดับ 7 ลำดับ       อาจมีคนสงสัยว่า อ่าวแล้วก่อนหน้าเรื่อง GDP ต่อหัวของไทย น้อยกว่า มาเลเซีย […]


  • ปตท.เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ปตท.เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ผมเห็นจากข่าวทีวีและในเฟสบุ๊คว่ามีกลุ่มคนเดินทางประท้วงเรื่องราคาน้ำมันแพงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลโดยใช้แคมเปญว่า “ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย” แล้วนำป้ายราคาน้ำมันของ 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งดูแล้วผมก็คิดว่า จริงด้วยเลย! ทำไมต่างกันเท่าตัวเลย ทั้งๆ มาเลเซียกับไทยก็เป็นคู่แข่งทั้งกีฬาฟุตบอลและตะกร้อ อีกทั้งเศรษฐกิจก็แข่งกันในระดับภูมิภาคอาเซียนมาตลอด เป็นแบบนี้ได้อย่างไร ผมเลยลองศึกษาว่า ทำไมราคาน้ำมันถึงต่างกันขนาดนี้ โดยได้ประเด็นหลักๆ อยู่ 2 ประเด็น คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2. คุณภาพน้ำมัน แน่นอนว่าอย่างหลังคุณภาพน้ำมัน บ้านเราใช้น้ำมันมาตรฐานยุโรป 4 หรือ EURO 4 ส่วนประเทศมาเลเซียใช้ EURO 2 – EURO 4 ซึ่งต่ำกว่าบ้านเรา แน่นอนครับของเกรดต่ำกว่าราคาก็ต้องถูกกว่าเป็นเรื่องปกติ แต่นั่นมันก็ไม่น่าถึงจะเป็นราคาที่ห่างกันเท่าตัวใช่ไหมครับ ผมเลยก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อแรก นั้นคือโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยโครงสร้างราคาน้ำมันจะ 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน หรือ ราคาหน้าโรงกลั่น มีสัดส่วนต่อราคามากกว่า 65% และต้นทุนตัวนี้ ก็สะท้อนราคานำเข้าน้ำมันดิบจากตลาดโลก ที่ปรับไปตามกลไกอุปสงค์-อุปทาน (Demand-Supply) […]


  • เมื่อรัฐมนตรีพลังงานให้สัมภาษณ์ว่า ไทยนำเข้านั้น “เกือบจะ” 100%

    เมื่อรัฐมนตรีพลังงานให้สัมภาษณ์ว่า ไทยนำเข้านั้น “เกือบจะ” 100%

    2-3 วันที่ผ่านมา ( 30 ตุลาคม 62) ภายหลังกลุ่มที่เรียกตนเองว่าผีเสื้อกระพือปีก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม คปพ. กลุ่มที่เราคุ้นเคยกันดีจากที่พยายามเรียกร้องเรื่องต่างด้านๆ พลังงาน ที่มีเป้าหมายในการพยายามเรียกร้องให้มีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ พร้อมกับเสนอให้กลุ่มตัวเองที่อ้างว่าเป็นตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปนั่งมีตำแหน่งในบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ได้ออกมาพยายามเรียกร้องให้รัฐทำให้ราคาสำเร็จรูปประเทศไทยเทียบเท่ากับมาเลเซีย โดยประเด็นถึงเหตุผลที่มาที่ไปของประเด็นเรื่องราคาน้ำมันไทย-มาเลซียคงมีการกล่าวถึงไปบ้างแล้ว เพราะฉะนั้นในบทความนี้จะขอแชร์ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นมาตามจากประเด็นเรื่องราคาน้ำมันไทย-มาเลซียให้ได้ทราบกัน ภายหลังจากที่มีประเด็นการเดินขบวนของเรียกร้องราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลซียของกลุ่มผีเสื้อกระพือปีก พร้อมการโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าไม่เป็นธรรมและสูงเกินไป การเดินขบวนครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่รัฐบาลมากกว่าที่จะเจาะจงโจมตีบริษัทน้ำมันใดบริษัทน้ำมันหนึ่ง กลายเป็นที่มาของประเด็นเรื่องนโยบายภาครัฐอย่าง “ภาษี” ที่ทำให้ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าประเทศอื่นภายในกลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงานของประเทศ และเกิดเป็นกระแสการโพสต์ สร้างรูปภาพ ตัดต่อโดยเน้นโจมตีการทำงานของภาครัฐที่เก็บภาษีสูงทำให้น้ำมันไทยมีราคาสูง เหตุผลเรื่อง “ภาษี” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาพลังงานโดยตรง ที่มีการพยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องมาอย่างยาวนาน แต่เป็นกลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงานเองที่พยายามสร้างวาทะกรรม ว่า ปตท. นั่นแหล่ะที่เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันในประเทศ เพราะโดยธรรมชาติ การสร้างผู้ร้ายให้เกิดการเกลียดชังมันง่ายกว่าสร้างเรื่องร้ายที่ไม่รู้จะสามารถโทษใครได้ กับเรื่องโจมตีภาษีในครั้งนี้ เราเห็นอะไร? 1. เห็นว่า … ไม่ได้มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งในประเทศเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หากแต่ราคาน้ำมันมีโครงสร้างและภาครัฐเป็นผู้วางนโยบาบและกำหนดกรอบของราคา อย่างที่เราได้เห็นจากสถานกาณ์ การพยายามให้ยกเลิกภาษีน้ำมันในครั้งนี้ หรือการโจมตีเรื่องกองทุนน้ำมันเหตุการณ์ที่ผ่านมาๆ 2. เห็นว่า … กลุ่มที่โจมตีเรื่องราคาพลังงาน ไม่ได้สนใจข้อเท็จจริงใดๆ สนเพียงการพยามยามสร้าง “ผู้ร้าย” โดยใช้สถานการณ์นั้นๆ เป็นตัวผลัก และไม่สนใจผลกระทบด้านพลังงานที่เกิดขึ้นจากการพยายามเรียกร้องของกลุ่มตนจะเป็นอย่างไร […]


  • เทียบกรณีระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ กับราคาน้ำมันที่ ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด

    จากกรณีฝูงเครื่องบินไร้คนขับเข้าถล่มหน่วยปรับสภาพน้ำมันดิบก่อนส่งออกขาย 2 แห่งในซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นเหตุให้ตลาดราคาน้ำมันดิบและตลาดน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้นมาก ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มีผลกระทบกับสถานการณ์การจัดหาและราคาน้ำมันโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าพลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำมัน เพราะฉะนั้นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบต่อประเทศไทยแน่นอน แม้ว่าจะไม่มีการประกาศปรับราคา แต่กลไกโครงสร้างภายในก็มีความผันผวนให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจากกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ปตท. ไม่ได้มีสิทธิ์เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หรือแทบไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศได้ตามที่หลายท่านมีอคติ             เกิดอะไรขึ้นบ้างกับราคาน้ำมันหลังเกิดเหตุการณ์!!!                 ด้วยเหตุว่าสถานที่ที่ถูกโจมตี 2 แห่งนั้น เป็นแหล่งที่ผลิตน้ำมันดิบสำคัญ ทำให้เกิดการสูญหายของกำลังผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และทำให้น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก (1. สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าเวสต์เท็กซัสทะยานขึ้นกว่า 11% 2.ไนเม็กซ์ปรับตัวขึ้นกว่า15%แตะที่ราคา 63.34 ดอลลาร์/บาร์เรล 3.สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะยานกว่า 19%แตะที่ราคา 71.95 ดอลลาร์) และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในครั้งนี้ส่งผลให้ตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ที่ประเทศไทยอ้างอิงราคาปรับพุ่งสูงขึ้นมากตามตลาดน้ำมันดิบ ( เช่น ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 10% เพียงช่วง 3 วันหลังการโจมตี) และกระทบต่อราคาหน้าโรงกลั่นประเทศไทยที่ต้องปรับตาม ยังผลให้ค่าการตลาดน้ำมันในขณะนั้นอยู่ในระกับที่ต่ำมาก จากสถานการณ์ที่ค่าการตลาดลดต่ำลงมาก เกิดเป็นกระแสข่าวการปรับราคาน้ำมันตามสื่อต่างๆ ในโซเชียล อันแสดงให้เห็นว่า […]


  • โครงสร้างราคาน้ำมันมีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศอย่างไร

    ราคาน้ำมันแต่ละประเทศมีนโยบายการกำหนดโครงสร้างและสัดส่วนในแต่ละโครงสร้างที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่ราคาปลายทางหรือราคาหน้าปั๊มที่มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหยิบราคาน้ำมันสำเร็จรูปของแต่ละประเทศมาเทียบกันโดยอาจพูดแต่เพียงแมสเสจที่ว่าประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันให้กับประเทศอื่นที่มีราคาหน้าปั๊มถูกกว่าไทย ยิ่งสร้างความบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดว่า ราคาน้ำมันไทยแพงอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันมีเหตุผลเรื่องโครงสร้างราคา ซึ่งทำให้ราคาแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ในบทความที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของโครงสร้างราคาในประเทศไปแล้ว คราวนี้จึงอยากขอยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงมาให้ดูกันว่า โครงสร้างราคาประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร เทียบ มาเลเซีย เทียบราคากับประเทศมาเลเซีย ในส่วนราคาหน้าโรงกลั่นด้วยความที่คุณภาพน้ำมันที่แตกต่างกัน กับนโยบายของภาครัฐ เรื่องผสมพลังงานทดแทนทำให้ราคาหน้าโรงกลั่นที่อ้างอิงสิงคโปร์มีความแตกต่างกันบ้าง ส่วนนโยบายเรื่องภาษีและกองทุนต่างๆ รัฐไม่มีการจัดเก็บหรือจัดเก็บบางตัวในสัดส่วนที่ต่ำ และนอกจากนั้นรัฐยังช่วยอุดนหนุนราคา (ช่วยจ่ายน้ำมันในแต่ละลิตร) ทำให้ราคาน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย เทียบ สิงคโปร์ เทียบราคากับกับประเทศสิงคโปร์สิงคโปร์ ราคาหน้าโรงกลั่นแพง เพราะใช้น้ำมันคุณภาพสูง (ยูโร 5 ) บวกค่าการตลาดที่สูงมาก ทำให้ราคาน้ำมันสิงคโปร์แพงกว่าประเทศไทยชัดเจน เทียบ กัมพูชา เทียบราคากับประเทศกัมพูชาแม้ว่าจะเก็บภาษีและกองทุนฯในอัตราที่ต่ำกว่าไทยมาก แต่ค่าการตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชามีราคาใกล้เคียงกัน (บางช่วงราคากัมพูชาอาจแพงกว่าไทย แต่บางช่วงราคากัมพูชาก็อาจแพงกว่าไทย) ไม่ใช่เพียงแค่ 3 ประเทศ ที่มีโครงสร้างราคาและสัดส่วนที่แตกต่างกัน หากแต่ “ทุกประเทศ” ต่างก็มีวิธีหรือนโยบายที่แตกต่างกัน ยังผลให้ราคาแต่ละประเทศต่างกัน ส่วนคำครหาที่ว่า ประเทศไทย ทำไมราคาน้ำมันแพง ก็คงจะไม่จริงเสียทีเดียว เพราะหากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว […]


  • จบในเล่มเดียว “ ปตท.คืนท่อก๊าซฯครบหรือไม่ ? ”

    เมื่อเร็วๆนี้ผู้เขียนได้มีโอกาศอ่านหนังสือ ‘ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเหนือท่อปิโตรเลียมของ ปตท. : พิจารณาตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่ ฟ.35/2550’ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ที่ได้จัดทำขึ้นโดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื้อหาในหนังสือเป็นการบรรยายสรุป ครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ มูลเหตุที่มาของการฟ้องร้องคดี ตลอดจนปัญหาข้อกฎหมายตามคำพิพากษาหรือคำสั่งต่างๆของศาลที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมดตลอดจนคำโต้แย้งของหน่วยงานต่างๆที่คัดค้านว่าการปฏิตามคำพิพากษายังเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง มีความยาวทั้งหมด 116 หน้า ประเด็นพิพาทเรื่อง ‘ท่อก๊าซฯ’ โดยเฉพาะ ‘ท่อก๊าซฯในทะเล’ ว่า ปตท. ได้คืนครบแล้วหรือไม่นั้น เป็นที่ถกเถียงกันมานานนับสิบปี โดยประเด็นดังกล่าวได้ปรากฏอยู่ตามสื่อออนไลน์ต่างๆมากมาย มีการฟ้องคดีสืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าวหลายครั้ง กระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีทีท่าจะยุติลง ผู้เขียนเห็นว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้นำเสนอเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจภาพรวมของปัญหาตลอดจนข้อสงสัยข้อโต้แย้งที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ และด้วยเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่อธิบายผ่านสำนวนภาษากฎหมาย อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นชินกับสำนวนดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้ปรับแต่งลดทอนภาษากฎหมาย โดยอาจยกหลักกฎหมาย หรือรายละเอียดในคำพิพากษามาประกอบการอธิบายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จุดประสงค์หลักเพื่อมุ่งอธิบายตอบข้อสงสัยในประเด็นที่คนทั่วไปส่วนใหญ่ให้ความสนใจ โดยแยกสรุปออกมาเป็นข้อๆได้ดังนี้ครับ   1.ท่อก๊าซฯ เป็นกรรมสิทธิ์ของใคร? บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน เดิมทีคือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 ถือเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐถือหุ้น […]


  • เจาะโครงสร้างราคาน้ำมันไทย เค้าว่าแพง!

    นอกจากจะรับบทแพะว่าเป็นต้นทุนของราคาสินค้าทุกประเภทแล้ว “น้ำมัน”ยังถูกโจมตีเรื่องราคาจากกลุ่มที่หวังผลทางการเมืองอยู่เสมอ กลายเป็นสินค้าที่ขยับขึ้นลงแต่ละที คนทั่วไปก็พร้อมจะกร่นปนบ่นด่ากันอยู่เสมอ ทำไมราคาน้ำมันแพง … เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย โดยไม่เคยเปิดดูโครงสร้างราคาและทราบที่มาที่ไปของแต่ละส่วน เลยถือโอกาสนี้หยิบโครงสร้างราคามาให้ดูกัน โครงสร้างราคาน้ำมันไทย แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี กองทุนต่าง ๆ และค่าการตลาด ประกอบออกมาเป็นราคาหน้าปั๊มที่เราใช้กัน ราคาหน้าโรงกลั่น คือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น โดยอ้างอิงจากตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์ ซึ่งราคาที่ใช้จะบวกเพิ่มมาจากสิงคโปร์เล็กน้อย จากค่าขนส่งจากสิงคโปร์ ค่าปรับปรุงคุณภาพเนื่องจากน้ำมันที่ประเทศไทยใช้มีมาตรฐานยูโรสูงกว่าตลาด รวมถึงการผสมพลังงานทดแทนลงไปในเนื้อน้ำมัน ทั้งเอทานอลที่ผสมกับเบนซิน และไบโอดีเซล B10 B20 โดยการปรับขึ้นลงราคาในส่วนนี้ก็เป็นไปตามกลไกของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ภาษี คือ ส่วนสำคัญที่รัฐเก็บเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงสาธารณูปโภคที่เกี่ยวกับการคมนาคมต่าง ๆ อาทิ ถนน สะพาน ไฟถนน จราจร ที่ไม่ใช่แค่สร้าง แต่รัฐต้องใช้เงินมหาศาลในการทำนุบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ รวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้พลังงาน โดยส่วนนี้รัฐมีหน้าที่กำหนดและจัดเก็บ กองทุนน้ำมัน มีหน้าที่หลักๆ ที่รัฐใช้เพื่อประกันราคา […]


  • เห็นแล้วอึ้ง สินค้าแพงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ถ้าเห็นภาพราคาสินค้าไทย ในปีที่ผ่านมา จะอึ้งทันทีเมื่อได้เห็นความจริงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน คงเคยเห็นคนบ่นกันเรื่องราคาน้ำมันว่าของไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน เวลาปรับแต่ละครั้งก็จะส่งผลต่อราคาสินค้า ถึงแม้จะปรับอย่างไร สินค้าของไทยก็ไม่ได้แพงขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน   ที่มา https://www.facebook.com/longtunman/photos/a.113656345833649.1073741828.113397052526245/347246759141272/?type=3&theater   ราคาน้ำมันของไทยก็ไม่ได้แพงสุดเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ที่มา http://www.eppo.go.th/index.php/th/   จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ถูกกว่าประเทศไทย สินค้าประเทศเหล่านั้น ก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าไทย ในขณะเดียวกัน ปรับตัวขึ้นสูงกว่าด้วย ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก มาตรการทางภาษี มีการจัดเก็บชดเชยรายได้รัฐ เพื่อให้ตามเป้าที่ต้องการ   ไทยอยากให้น้ำมันถูกก็ทำได้ ลดภาษีน้ำมัน แต่ไปขึ้นกับการเก็บภาษีในสินค้าแทนจะดีหรือไม่ ได้แต่ฝากให้คิด ข้อมูลจาก: http://energythaiinfo.blogspot.com/2018/06/blog-post.html Share This:


  • หนังคนละม้วนถ้าได้รู้ความจริงเรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา

    อาจได้มีการเห็น การแชร์เรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา ไทยส่งออกไปขายน้ำมันกัมพูชา โดยคนกัมพูชาใช้ถูกกว่าคนไทย ถ้าไม่คิดให้ดี หรือ ขวนขวายหาความจริงจะต้องเกิดคำถามในใจว่าทำไม ซึ่งทาง blog แฉ!! ทวงคืนพลังงาน ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าเป็นอย่างไร ได้มีเพจ น้องปอสาม ได้เฉลยข้อมูลไว้ว่า สาเหตุหลักๆ ที่ราคาต่างกันจากนโยบายทางภาษี ซึ่งจากข้อมูลรายได้ภาษีน้ำมันเป็นรายได้รัฐที่จัดเก็บในแต่ละปีมีมูลค่าสูงมาก หากลดเก็บภาษีน้ำมันลงรายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561) สัดส่วนโครงสร้างราคาน้ำมันของไทย กับ กัมพูชา ต่างกันอย่างไร   เมื่อช่วงอาทิตยที่ผ่านมา เห็นมีการแชร์ข้อมูลว่าไทยกับกัมพูชา ราคาน้ำมันต่างกัน โดยบางชนิดอย่างดีเซลไทยแพงกว่าดีเซลกัมพูชา อาจมีการสงสัยกันว่า เป็นเพราะอะไร คำตอบคือง่ายมาก โครงสร้างราคาต่างกัน ของกัมพูชาเก็บภาษีค่อนข้างจะต่ำมากกว่าไทย ในทางกลับกัน ถ้าไทยลดเก็บภาษีน้ำมันลง รายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561) […]