Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • ปลอดภัยแน่ แม้ไร้เสาเข็ม

    มาเข้าใจกันก่อนว่า ฐานราก คืออะไร?  ฐานราก คือ โครงสร้างทางวิศวกรรมที่รับน้ำหนักจากสิ่งปลูกสร้างต่างๆ  แล้วถ่ายน้ำหนักนั้นลงสู่ชั้นดิน  ซึ่งสามารถสร้างได้หลายแบบ ขึ้นกับลักษณะสิ่งปลูกสร้าง และลักษณะของดินบริเวณนั้น  ทั้งนี้ ฐานรากโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ ฐานรากแบบลึก : คือ ฐานรากเสาเข็ม จะใช้เมื่อเนื้อดินอ่อนเกินไปจนไม่สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้  ซึ่งการออกแบบฐานรากประเภทนี้ จะใช้เมื่อชั้นดินคุณภาพดีอยู่ระดับความลึกที่ประมาณ 3-10 เมตร ฐานรากแบบตื้น : คือ ฐานรากแบบแผ่  จะใช้เมื่อเนื้อดินแน่นแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี และมีการทรุดตัวไม่มากกว่าข้อกำหนดทางวิศวกรรม จึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็ม  ซึ่งการออกแบบฐานรากประเภทนี้ จะใช้เมื่อชั้นดินคุณภาพดีอยู่ระดับ 2-3 เมตร ดังนั้น การที่ไม่ใช้เสาเข็ม ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีฐานราก  แม้เสาเข็มเป็นฐานรากแบบลึก ที่อาจให้ความรู้สึกปลอดภัยมากกว่าก็ตาม….  แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มในทุกกรณีเสมอไป   เราเข้าใจกันไปเองว่า เวลาจะก่อสร้างสิ่งใด ต้องตอกเสาเข็มเสมอ   มั่นใจได้อย่างไร ฐานรากแบบแผ่เหมาะกับโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 6 ? ดินแข็งแรง รากฐานแข็งแรง เริ่มจากดำเนินการสำรวจพื้นที่ในโครงการ โดยเก็บตัวอย่างดินตลอดความลึก 20-30 […]


  • รู้จัก CEO ปตท. คนใหม่ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์

    เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้อนุมัติแต่งตั้งนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท. เข้ารับตำแหน่ง CEO ปตท. คนที่ 10 ต่อจากนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ที่หมดวาระเกษียณในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ทั้งนี้ CEO คนใหม่จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับจากวันที่แต่งตั้ง โดยปัจจุบัน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ทำหน้าที่กำกับดูแล และกำหนดทิศทางให้กลุ่มธุรกิจขั้นปลายของกลุ่ม ปตท. โดยมีธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก และกำกับดูแล 4 บริษัทลูกได้แก่ IRPC THAIOIL PTTGC และ PTTOR ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการพบปะกับ CEO คนใหม่ของ ปตท. ว่า […]


  • อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ CEO คนใหม่ กับวิสัยทัศน์ “PTT by PTT”

    หลังจากสถานการณ์การระบาด COVID-19 คลี่คลายลง ประเทศไทยถือว่าได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คน แน่นอนว่าองค์กรใหญ่อย่าง ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานของไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนไปข้างหน้า และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในองค์กรเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา โดย ‘ คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ’ ได้เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนที่ 10 อย่างเป็นทางการ ต่อจาก คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร โดยมีวาระการดำรงค์ตำแหน่ง 4 ปีนับจากนี้ หลังเข้ารับตำแหน่ง CEO คนใหม่ ‘ คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ’ ได้เปิดวิสัยทัศน์ “PTT by PTT” หรือ Powering Thailand’s Transformation เพื่อให้ ปตท. เป็นองค์กรด้านพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศไทย พร้อมขับเคลื่อนประเทศก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อทุกภาคส่วน และพัฒนาสังคมคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งประกอบด้วย […]


  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • “ค่าการตลาดสูง ค่าการตลาดต่ำ”…ว่าด้วยเรื่องค่าการตลาดทำให้ราคาน้ำมันแพงจริงหรือ

    ค่าการตลาด คือหนึ่งในปัจจัยหลักของโครงสร้างราคา เพราะกำไรและต้นทุนการบริหารจัดการปั๊มอยู่ในนี้ หากไม่มีค่าการตลาด ก็จะไม่มีแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนสถานีบริการตามจุดต่าง ๆ ของประเทศ (จะเห็นว่าค่าการตลาดยังไม่ใช่กำไร เพราะยังไม่ได้หักต้นทุนต่าง ๆ ภายในปั๊มอย่างที่กล่าว) สัดส่วนค่าการตลาดเมื่อคิดเป็นตัวเลขกลมๆ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 2 บาทกว่าๆ (ในที่นี้คือค่าการตลาดเฉลี่ยของทุกผลิตภัณฑ์) ในขณะที่น้ำมัน 1 ลิตรประมาณ 20 บาท นั่นหมายความว่า สัดส่วนค่าการตลาดในราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10-15% ของราคาขายโดยประมาณ คำถามคือ ตัวเลขสัดส่วนนี้สูงเกินไป จนเป็นสาเหตุว่าทำไมน้ำมันแพงได้หรือไม่ หรือการกำหนดค่าการตลาดเองของแต่ละเจ้าจะมีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศถึงขนาดที่ว่าสามารถกำหนดราคาน้ำมัน อย่างที่บางคนชอบคิดกันว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน (เพราะในความเป็นจริงค่าการตลาดเป็นปัจจัยเดียวในโครงสร้างราคาน้ำมันที่แต่ละแบรนด์ตามผู้ค้ามาตรา 7 สามารถตั้งราคาเองได้แต่มีหน่วยงานรัฐอย่าง สนพ. หรือชื่อเต็มๆ สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กำกับดูแลอยู่ ) “ประเด็นร้อนแรงช่วงนี้ในแวดวงน้ำมันเราคงเห็นประเด็นการนำเสนอเรื่องที่ว่า นโยบายรัฐเห็นชอบค่าการตลาดในน้ำมันขายปลีก ไว้ที่อัตราเฉลี่ย 1.85 บาทต่อลิตร เป็นค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของน้ำมันทุกชนิดในภาพรวม ไม่ใช่พิจารณารายผลิตภัณฑ์ และจะมีความยืดหยุ่น +/- 0.40 บาทต่อลิตร หรือค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยจะอยู่ในช่วง 1.45 – 2.25 […]


  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    “ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]


  • ปตท. ย้ำให้ความร่วมมือคดีปาล์มอินโดฯ พร้อมต่อต้านการทุจริตชัดเจน

    เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2562 ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์กรณีโครงการปลูกปาล์มน้ำมันที่ประเทศอินโดนีเซียของบริษัท พีทีที.กรีน เอเนอร์ยี่ฯ (PTT.GE) ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กำลังถูกสอบสวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยเปิดเผยคำสัมภาษณ์ นางสาวเพียงพนอ บุญกล่ำ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่า  “จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ บริษัท ปตท. กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (PTTGE) นั้น ปตท. ขอยืนยันว่า ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ดำเนินนโยบายต่อต้านการทุจริตที่ชัดเจนและจริงจังตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance: CG) มาโดยตลอด ซึ่งกรณีที่เกี่ยวกับ PTTGE นั้น ได้มีการดำเนินการทั้งทางวินัยและทางกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงได้ส่งเรื่องให้สำนักงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2556″ นางสาวเพียงพนอ กล่าวย้ำว่า […]


  • PTTOR จะไม่ซ้ำรอย หุ้นหมดเร็วแบบแม่ PTT

    PTTOR จะไม่ซ้ำรอย หุ้นหมดเร็วแบบแม่ PTT

    ช่วงที่ผ่านมาเห็นข่าวการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนหลายบริษัทมาก ซึ่งล่าสุดที่เห็นข่าวก็คือบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด มหาชน หรือตัวย่อว่า BAM ที่เป็นหน่วยงานของรัฐโดยมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน ผมก็เลยนึกถึงความคาดหวังในหุ้นตัวถัดไป ที่คาดหวังว่าปี2563 จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งก็คือบริษัทในเครือ ปตท. ที่มีชื่อว่า บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ แล้วมันก็เป็นเรื่องบังเอิญที่ เมื่อ 18 ปีที่แล้ว(2544) ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่หุ้น ปตท. ได้เปิดจองซื้อหุ้นเป็นครั้งแรกหรือเรียกว่า IPO (Initial Public Offering) ในตอนนั้นมีข้อครหาในการจองหุ้นหมดเร็ว ใช้เวลาเพียง 1 นาที 17 วินาที หรือ มีคำเรียกกันในหมู่นักเล่นหุ้นว่า หุ้น 77 วิ ในตอนนั้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่แปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เสนอขายหุ้น จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 […]


  • ราคาหุ้นโออาร์(OR) จะเป็นอย่างไร?

    ราคาหุ้นโออาร์(OR) จะเป็นอย่างไร?

    หลังจากที่ ปตท. เลื่อนการนำบริษัทลูกที่ชื่อโออาร์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายครั้งหลายคราว ล่าลุดเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่าน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จัดงานแถลงข่าว “TOGETHER FOR BETTERMENT: รวมพลัง ร่วมสร้าง เพื่อทุกวันที่ดีขึ้น” เพื่อเปิดตัว โออาร์ อย่างเป็นทางการ โดยมีฐานะเป็นบริษัทเรือธง (Flagship) ของกลุ่ม ปตท. (PTT) ด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจหลักของโออาร์ แบ่งเป็น  3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือกลุ่มธุรกิจน้ำมัน จะมีสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1,850 แห่ง, ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นแบรนด์ PTT Lubricants ยอดขายอันดับ 1 ต่อเนื่องมา 10 ปีและจำหน่ายไปกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ต่อมาคือกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ (Non-Oil) ก็จะมี Café […]