Articles Posted in the " ปตท ส่งออกน้ำมัน " Category

  • น้ำมันไทยมีน้อย แต่ต้องส่งออกน้ำมัน!!!

        คำตอบคือ “จริง” …ประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้เพียง 15% จากปริมาณการใช้ในประเทศ แต่ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องมีการส่งออก น้ำมัน ทั้งรูปแบบน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งกรณีดังกล่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่ม ถึงขนาดมีบางคนคิดว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก หรือไม่ก็มีการคอรัปชั่นในวงการพลังงาน Share This:


  • ตอบทุกข้อกล่าวหา..หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาขายปลีก LPG

    จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG     หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้     1.  ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท     2.  ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม     3.  ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]


  • จุดแข็งของประเทศในอาเซียน เวียดนามมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย

    จุดแข็งของประเทศในอาเซียน เวียดนามมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย

    ได้อ่านกระทู้ดีๆจากพันทิป http://pantip.com/topic/30765661  เรื่องจุดแข็งต่างๆของประเทศในอาเซียนนั้นมีอะไรกันบ้าง แล้วประเทศไทยมีจุดแข็งอะไรในอาเซียน จะเป็นการส่งออกน้ำมันของประเทศไทยได้เป็นจุดแข็งของประเทศไทยหรือเปล่า จากจุดแข็งของประเทศในอาเซียน ก็ไม่เห็นว่าเขาจะบอกว่าไทยเป็นซาอุดิอาระเบียแห่งตะวันออกไกล หรือปตท ส่งออกน้ำมันมากที่สุดเลยนี่ เครดิตภาพ เพจมหานครอาเซียน http://on.fb.me/1dZjoBi   จากภาพนั้น ประเทศไทยมีจุดแข็งคือเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร อีกทั้งยังมีแรงงานเป็นจำนวนมาก และยังเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในจุดแข็งนั้นไม่ได้พูดถึงเรื่องการส่งออกน้ำมันเลยด้วยซ้ำ และไม่ได้พูดถึงเรื่องน้ำมันเลย กลับกลายเป็นบรูไน เวียดนาม และมาเลเซียที่มีจุดแข็งทางด้านการส่งออกน้ำมัน จริงๆประเทศไทยน่าจะเพิ่มจุดแข็งเรื่อง สร้างข่าวลือ สร้างภาพ ทะเลาะเบาะแว้งกันเอง หลงเชื่อคนง่าย งมงาย ลงไปเป็นจุดแข็งที่คนอื่นไม่สามารถมาทำลายได้ด้วย คงจะดูเหมาะกันดี ดังนั้น ในเมื่อประเทศไทยไม่ได้มีจุดแข็งในเรื่องน้ำมัน ก็เปิดใจยอมรับเถอะพวกที่ ทวงคืน ปตท หรือคิดว่าปตท ฉวยโอกาสในเรื่องการส่งออกน้ำมันนั้น อาจจะเป็นเพียงแค่ข่าวลือก็ได้ ติดตามอ่านบทความดีได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/     Share This:


  • อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]


  • รู้จริง รู้ทั่ว รู้ทัน ปตท ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง

    รู้จริง รู้ทั่ว รู้ทัน ปตท ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง

    1.  ปตท ส่งออกน้ำมันเบนซิน ดีเซล ลิตรละ 24-25 บาทไปเขมรพม่าลาว “ทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ40” ข้อเท็จจริง : –                    เพราะเปรียบเทียบคนละฐานราคา ราคาส่งออกเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศจะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งหนึ่งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ ขณะที่ราคาจำหน่ายในประเทศที่นำเปรียบเทียบนั้นเป็นราคาขายปลีกซึ่งรวมภาษีและกองทุนต่างๆแล้ว (ปัจจุบันภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บของไทย อยู่ที่ประมาณ 14.80 บาทต่อลิตร สำหรับเบนซิน 91 และ 12  บาทต่อลิตร  สำหรับแก๊สโซฮอล์ 95 และ 2.95 บาทต่อลิตรสำหรับน้ำมันดีเซล ณ ราคาวันที่ 19 เม.ย. 2555) –                    เมื่อรวมภาษีและกองทุนที่แต่ละประเทศเรียกเก็บแล้ว ราคาน้ำมันที่กัมพูชาและลาวใช้ไม่ได้ถูกกว่าไทยโดยราคาเบนซินของกัมพูชาและลาวอยู่ที่ 43 บาท ขณะที่พม่าอยู่ที่ 33 บาทต่อลิตรเพราะเก็บภาษีต่ำกว่า ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งและผลิตที่สำคัญไทยยังมีราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน โดยราคาดีเซลของไทยอยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ขณะที่กัมพูชา ลาว และพม่า อยู่ที่ 39.9 และ 38.7 บาท และ […]


  • ข้อเท็จจริง ปตท กำไรแสนล้านเพราะส่งออกน้ำมันเงินดีกว่าข้าว

    ข้อเท็จจริง ปตท กำไรแสนล้านเพราะส่งออกน้ำมันเงินดีกว่าข้าว

    •  เวลาเราพูดถึงน้ำมันเราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำมันแบ่งออกเป็นน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป •  ดังนั้นการส่งออกน้ำมันก็มาจาก 2 ส่วนเช่นกัน คือ การส่งออกในรูปของน้ำมันดิบ : ส่วนที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะกับโรงกลั่นไทย การส่งออกในรูปน้ำมันสำเร็จรูป : ส่วนที่ผลิตได้เกินกว่าความต้องการใช้ในประเทศแต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นวัตถุดิบคือน้ำมันดิบที่มาจากการนำเข้า  เพราะประเทศไทยเราผลิตได้ไม่พอกับความต้องการใช้  โดยในปี 2554 เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 977,374 ล้านบาท •  แต่ข้าวเป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกภายในประเทศ ซึ่งต่างจากน้ำมันดิบ •  ดังนั้นการเปรียบเทียบไม่ว่าจะเปรียบเทียบ “อะไร” ก็ควรจะเทียบจากฐานเดียวกัน เช่น จะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกข้าวกับการมูลค่าส่งออกน้ำมัน ก็ควรจะเทียบจากสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศเหมือนกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกข้าว และข้าวก็ยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยข้อมูลจาก สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกพลังงาน 3 แสนล้านบาท แต่ต้องนำเข้าถึง 1.2 ล้านล้านบาท ขาดดุลถึง 9 แสนล้านบาท แต่มูลค่าการส่งออกข้าว 2 แสนล้านบาท ได้มาจากความสามารถในการผลิตข้าวมากกว่าความต้องการใช้เพื่อบริโภคในประเทศ จึงมีเหลือส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศ •  และเช่นเดียวกัน การจะเปรียบเทียบมูลค่าส่งออกน้ำมันของไทยกับเอกวาดอร์ ก็ต้องเปรียบเทียบจากฐานเดียวกัน  จะไม่ว่าเลยถ้าจะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออก […]


  • พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

    พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

    ในการทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งขึ้น-ลง เป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งขึ้นและลง คงไม่มีธุรกิจใดที่จะมีแต่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มิเช่นนั้นคนก็คงแห่ไปทำธุรกิจนั้นกันหมดแล้ว ที่ผ่านมาโรงกลั่นก็มีขาดทุน เพราะถ้ามีแต่กำไรจริง ทำไมในปี 2546 บริษัท เชลล์ ถึงต้องขายโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC)? เหตุผลคือ ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ และถ้าไปดูข้อมูลผลประกอบการ ปี 2551 จะเห็นได้ว่า โรงกลั่นขาดทุนรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ที่สงสัยกันว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ทำไมโรงกลั่นถึงส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทย ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบ้านเราเป็นยังไง มันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ – ต้นทุนเนื้อน้ำมัน – ค่าภาษีและกองทุน – ค่าการตลาด แล้วจะให้ทวงคืน ปตท ยังไง ก็ในเมื่อเวลาที่โรงกลั่นส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศนั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศ จะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าโรงกลั่นส่งออกน้ำมันราคาถูกซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการคิดกันคนละฐานราคาเท่านั้น ดูจากกราฟค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทย โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป (เฉลี่ยไตรมาสที่ 1/2555) จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง […]


  • ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่   หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]