Articles Posted in the " ปตท กำหนดราคาน้ำมัน " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • ปตท.เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ปตท.เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันจริงหรือ?

    ผมเห็นจากข่าวทีวีและในเฟสบุ๊คว่ามีกลุ่มคนเดินทางประท้วงเรื่องราคาน้ำมันแพงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลโดยใช้แคมเปญว่า “ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย” แล้วนำป้ายราคาน้ำมันของ 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งดูแล้วผมก็คิดว่า จริงด้วยเลย! ทำไมต่างกันเท่าตัวเลย ทั้งๆ มาเลเซียกับไทยก็เป็นคู่แข่งทั้งกีฬาฟุตบอลและตะกร้อ อีกทั้งเศรษฐกิจก็แข่งกันในระดับภูมิภาคอาเซียนมาตลอด เป็นแบบนี้ได้อย่างไร ผมเลยลองศึกษาว่า ทำไมราคาน้ำมันถึงต่างกันขนาดนี้ โดยได้ประเด็นหลักๆ อยู่ 2 ประเด็น คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2. คุณภาพน้ำมัน แน่นอนว่าอย่างหลังคุณภาพน้ำมัน บ้านเราใช้น้ำมันมาตรฐานยุโรป 4 หรือ EURO 4 ส่วนประเทศมาเลเซียใช้ EURO 2 – EURO 4 ซึ่งต่ำกว่าบ้านเรา แน่นอนครับของเกรดต่ำกว่าราคาก็ต้องถูกกว่าเป็นเรื่องปกติ แต่นั่นมันก็ไม่น่าถึงจะเป็นราคาที่ห่างกันเท่าตัวใช่ไหมครับ ผมเลยก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อแรก นั้นคือโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยโครงสร้างราคาน้ำมันจะ 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน หรือ ราคาหน้าโรงกลั่น มีสัดส่วนต่อราคามากกว่า 65% และต้นทุนตัวนี้ ก็สะท้อนราคานำเข้าน้ำมันดิบจากตลาดโลก ที่ปรับไปตามกลไกอุปสงค์-อุปทาน (Demand-Supply) […]


  • เมื่อรัฐมนตรีพลังงานให้สัมภาษณ์ว่า ไทยนำเข้านั้น “เกือบจะ” 100%

    เมื่อรัฐมนตรีพลังงานให้สัมภาษณ์ว่า ไทยนำเข้านั้น “เกือบจะ” 100%

    2-3 วันที่ผ่านมา ( 30 ตุลาคม 62) ภายหลังกลุ่มที่เรียกตนเองว่าผีเสื้อกระพือปีก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม คปพ. กลุ่มที่เราคุ้นเคยกันดีจากที่พยายามเรียกร้องเรื่องต่างด้านๆ พลังงาน ที่มีเป้าหมายในการพยายามเรียกร้องให้มีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ พร้อมกับเสนอให้กลุ่มตัวเองที่อ้างว่าเป็นตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปนั่งมีตำแหน่งในบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ได้ออกมาพยายามเรียกร้องให้รัฐทำให้ราคาสำเร็จรูปประเทศไทยเทียบเท่ากับมาเลเซีย โดยประเด็นถึงเหตุผลที่มาที่ไปของประเด็นเรื่องราคาน้ำมันไทย-มาเลซียคงมีการกล่าวถึงไปบ้างแล้ว เพราะฉะนั้นในบทความนี้จะขอแชร์ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นมาตามจากประเด็นเรื่องราคาน้ำมันไทย-มาเลซียให้ได้ทราบกัน ภายหลังจากที่มีประเด็นการเดินขบวนของเรียกร้องราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลซียของกลุ่มผีเสื้อกระพือปีก พร้อมการโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าไม่เป็นธรรมและสูงเกินไป การเดินขบวนครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่รัฐบาลมากกว่าที่จะเจาะจงโจมตีบริษัทน้ำมันใดบริษัทน้ำมันหนึ่ง กลายเป็นที่มาของประเด็นเรื่องนโยบายภาครัฐอย่าง “ภาษี” ที่ทำให้ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าประเทศอื่นภายในกลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงานของประเทศ และเกิดเป็นกระแสการโพสต์ สร้างรูปภาพ ตัดต่อโดยเน้นโจมตีการทำงานของภาครัฐที่เก็บภาษีสูงทำให้น้ำมันไทยมีราคาสูง เหตุผลเรื่อง “ภาษี” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาพลังงานโดยตรง ที่มีการพยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องมาอย่างยาวนาน แต่เป็นกลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงานเองที่พยายามสร้างวาทะกรรม ว่า ปตท. นั่นแหล่ะที่เป็นคนกำหนดราคาน้ำมันในประเทศ เพราะโดยธรรมชาติ การสร้างผู้ร้ายให้เกิดการเกลียดชังมันง่ายกว่าสร้างเรื่องร้ายที่ไม่รู้จะสามารถโทษใครได้ กับเรื่องโจมตีภาษีในครั้งนี้ เราเห็นอะไร? 1. เห็นว่า … ไม่ได้มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งในประเทศเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หากแต่ราคาน้ำมันมีโครงสร้างและภาครัฐเป็นผู้วางนโยบาบและกำหนดกรอบของราคา อย่างที่เราได้เห็นจากสถานกาณ์ การพยายามให้ยกเลิกภาษีน้ำมันในครั้งนี้ หรือการโจมตีเรื่องกองทุนน้ำมันเหตุการณ์ที่ผ่านมาๆ 2. เห็นว่า … กลุ่มที่โจมตีเรื่องราคาพลังงาน ไม่ได้สนใจข้อเท็จจริงใดๆ สนเพียงการพยามยามสร้าง “ผู้ร้าย” โดยใช้สถานการณ์นั้นๆ เป็นตัวผลัก และไม่สนใจผลกระทบด้านพลังงานที่เกิดขึ้นจากการพยายามเรียกร้องของกลุ่มตนจะเป็นอย่างไร […]


  • ปตท. กำหนดราคาน้ำมัน ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือ?

    ปตท. กำหนดราคาน้ำมัน ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือ?

    ปัจจุบัน “น้ำมัน” เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์และมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก ซึ่งมีระบบการค้าแบบเสรี ราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยมีแนวโน้มปรับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุความต้องการใช้น้ำมันขยายตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจากยุคก่อนๆ ทำให้เป็นที่วิจารณ์ไปทั่วสังคมไทย โดยมองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และปตท. เป็นต้นเหตุเพราะกำหนดราคาน้ำมันเอาเปรียบประชาชน ซึ่งเป็นที่มาของการรณรงค์ไม่เติมปั๊มน้ำมัน ปตท. ในโลกออนไลน์เมื่อ 1 ปีก่อน ปตท. ก็ได้ออกมายืนยันว่ากำหนดราคาขายเป็นไปตามหลักการค้าเสรี โดยการปรับราคาขายปลีกน้ำมันของ ปตท. ในแต่ละครั้ง ปรับตามต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และราคาน้ำมันไทยอ้างอิงตลาดสิงคโปร์มาโดยตลอด ซึ่งปั๊มน้ำมันหลายแห่งก็ปรับตาม ซึ่งเป็นหลักฐานได้ว่า ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ แต่ละปั๊ม แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี โดยมีสิ่งหนึ่งที่ ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้กำหนด นั่นก็คือภาษีและกองทุนน้ำมัน ส่วนค่าการตลาดสามารถปรับขึ้นลงได้เล็กน้อย เพราะเป็นรายได้ที่จะนำไปใช้ลงทุนขยายสาขา การบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งเวลาที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าการตลาดจะปรับลดลงเพื่อไม่ให้กระทบกับผู้บริโภค ทั้งนี้ ปตท. ยืนยันว่าได้ยึดถือประโยชน์ของประเทศและคนไทยทุกคนเป็นหลักพร้อมดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทำเพื่อคนไทย และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยตลอดไป Share This:


  • เทียบกรณีระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ กับราคาน้ำมันที่ ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด

    จากกรณีฝูงเครื่องบินไร้คนขับเข้าถล่มหน่วยปรับสภาพน้ำมันดิบก่อนส่งออกขาย 2 แห่งในซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นเหตุให้ตลาดราคาน้ำมันดิบและตลาดน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้นมาก ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มีผลกระทบกับสถานการณ์การจัดหาและราคาน้ำมันโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าพลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำมัน เพราะฉะนั้นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบต่อประเทศไทยแน่นอน แม้ว่าจะไม่มีการประกาศปรับราคา แต่กลไกโครงสร้างภายในก็มีความผันผวนให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจากกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ปตท. ไม่ได้มีสิทธิ์เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน หรือแทบไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศได้ตามที่หลายท่านมีอคติ             เกิดอะไรขึ้นบ้างกับราคาน้ำมันหลังเกิดเหตุการณ์!!!                 ด้วยเหตุว่าสถานที่ที่ถูกโจมตี 2 แห่งนั้น เป็นแหล่งที่ผลิตน้ำมันดิบสำคัญ ทำให้เกิดการสูญหายของกำลังผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และทำให้น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก (1. สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าเวสต์เท็กซัสทะยานขึ้นกว่า 11% 2.ไนเม็กซ์ปรับตัวขึ้นกว่า15%แตะที่ราคา 63.34 ดอลลาร์/บาร์เรล 3.สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะยานกว่า 19%แตะที่ราคา 71.95 ดอลลาร์) และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในครั้งนี้ส่งผลให้ตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ที่ประเทศไทยอ้างอิงราคาปรับพุ่งสูงขึ้นมากตามตลาดน้ำมันดิบ ( เช่น ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 10% เพียงช่วง 3 วันหลังการโจมตี) และกระทบต่อราคาหน้าโรงกลั่นประเทศไทยที่ต้องปรับตาม ยังผลให้ค่าการตลาดน้ำมันในขณะนั้นอยู่ในระกับที่ต่ำมาก จากสถานการณ์ที่ค่าการตลาดลดต่ำลงมาก เกิดเป็นกระแสข่าวการปรับราคาน้ำมันตามสื่อต่างๆ ในโซเชียล อันแสดงให้เห็นว่า […]


  • ราคาน้ำมันขึ้น ลงใครกำหนด

        มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ออกมาอยู่เนืองๆ ในกรณีที่ผู้บริโภคบางกลุ่ม มองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และ ปตท. เป็นต้นเหตุของราคา เพราะปตท. เป็นผู้กำหนดราคาขายน้ำมันในประเทศ ตรงนี้จะขอนำส่วนหนึ่งของคำแถลงที่ทาง ผู้บริหารของ ปตท. ได้ตั้งโต๊ะแถลง หลังจากมีประเด็นร้อนว่อนในโลกโซเชียลในด้านลบกับ บริษัท ปตท. ทั้งในเรื่องการกำหนดราคาน้ำมันที่เอาเปรียบประชาชน จนได้กำไรสูงเป็นแสนล้านบาท พร้อมชักชวนบอยคอตเติมน้ำมันที่ปั๊มของ ปตท.     “นายเทวินทร์ กล่าวว่า ปี 2560 ราคาน้ำมันทั้งปีเฉลี่ยเป็นขาขึ้น โดย ปตท. มีการปรับขึ้น 21 ครั้ง ปรับลง 21 ครั้ง แต่ราคาหน้าปั๊มขายต่ำกว่าต่างชาติ 20 วัน ไม่เคยขายแพงกว่ารายอื่นเลย แม้แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 6 เม.ย. – 28 พ.ค. 2561 ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 6 ครั้ง ปรับลง 1 ครั้ง โดยไม่เคยมีช่วงเวลาที่ขายแพงกว่าเจ้าอื่น แต่มีช่วง 9 […]