ถามตอบไป ใครล่ะ ที่ถือหุ้นใหญ่ ปตท.
ถ้ามีคนตั้งคำถาม ว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัทที่จำเป็นต้องสร้างกำไรใช่หรือไม่ เราคงได้แต่ยอมรับในความเป็นจริง เพราะมันปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีการระดมเงินทุนจากมหาชน ซึ่งความขาดหวังในผลตอบแทนยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่หากจะถามว่าการที่เป็นบริษัทมหาชน ความคาดหวังในผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูง จำเป็นหรือไม่ที่บริษัทที่จะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อสร้างกำไรอย่างมหาศาล อันนี้ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่า “ไม่”
ตัวเลขกำไรสุทธิ 6.61% (ปี 2017) , 5.05% (ปี2018) และ 4.84% ในปีปัจจุบัน ตอบคำถามในตัวของมันได้ดียู่แล้วว่ากำไรของบริษัทนั้นมากมายมหาศาล แบบที่ใครๆ หลายคนชอบตั้งคำถามกับ ปตท. ว่า ปตท. กำลังทำเพื่อ … ด้วยตัวเลขกำไรนี้แปลว่า ทุกการลงทุน 100 บาท ปตท. จะได้รีเทิร์นเป็นกำไรกลับมาประมาณ 5 บาท กว่าๆ มันดูเป็นตัวเลขมหาศาลจริงหรือ?
เราอาจต้องเปิดใจและยอมรับความจริง ว่า ปตท. คือบริษัทที่มีสวมหน้ากากสองใบ อยู่ในองค์กรเดียวกัน ในหน้าหนึ่ง ปตท. คือบริษัทที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ และมีส่วนในการควบคุมดูแล ผ่านการที่รัฐส่งคนของรัฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในผู้บริหาร ปตท. ในหน้าส่วนนี้ ปตท. ก็มีหน้าที่สำคัญในการจัดการเรื่องพลังงานของชาติให้เพียงพอต่อการใช้ วางแผนเรื่องพลังงานในระยะยาว และสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานให้กับประเทศ โดยไม่ค้ากำไรจนเกินไป … ใช่ครับ คุณอ่านไม่ผิด ตัวเลขกำไรเฉลี่ยประมาณ 5% ของแต่ละปี นั้นแสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า กำไรไม่ได้มากมายมหาศาลเหมือนอย่างที่ทุกคนพยายามเข้าใจจริง ส่วนอีกหน้าหนึ่งในฐานะบริษัทมหาชนที่มีผู้ถือหุ้นทั้งรายเล็กรายใหญ่ แน่นอนล่ะ การลงทุนทุกอย่าง ย่อมหลังผลกำไร เพื่อตอบแทนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับหุ้นของบริษัท แต่ก็นั่นแหล่ะ ทั้งหมดทั้งมวลตัวเลขกำไรสุทธิก็ยังคงแสดงให้เห็นว่า ภายใต้กำไรที่บริษัทต้องทำเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น มันก็ไม่ได้มากเกินไปเท่าไหร่เลย
และเมื่อคุณลืมตาตื่นมาในแต่ละเช้า หยิบโทรศัพท์ที่ชาร์ตไว้ตั้งแต่เมื่อคืน เปิดเครื่องทำน้ำอุ่นเพื่ออาบน้ำ ไปจนถึงการเปิดไดร์เป่าผม เปิดไฟแต่งหน้า หยิบเสื้อผ้าที่รีดไว้เมื่อวันก่อน ก่อนจะสตาร์ทรถและออกไปทำงาน ทุกกระบวนการเราใช้พลังงานโดยไม่ขาดแคลนและไม่รู้สึกด้วยซ้ำว่ามันจะขาดแคลน นั่นก็น่าจะเป็นคำตอบได้ดี ว่าองค์กรอย่าง ปตท. กำลังทำอะไรอยู่ และ ปตท. ทำเพื่อใคร
เราเห็นภาพแล้วว่า ปตท. เป็นบริษัทพลังงาน ที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานให้ประเทศ โดยรับผลตอบแทนเป็นรายได้ที่เก็บจากพวกเรานั่นแหล่ะ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องผิดเลย เอ๊ะ!!! หรือว่ามันยังผิดอยู่ เพราะผลประโชน์ที่ได้มันตกลงไปสู่มือทักกี้ผู้ถือหุ้นผ่านนอมินี
คำถามคือสรุปแล้วความไม่พอใจของคน อยู่ที่เห็นบริษัทอย่าง ปตท. ได้กำไร หรือเพราะกำไรขของบริษัทถูกคนบางกลุ่มปลุกผีทักษิณขึ้นมารับเคราะห์ซะอย่างนั้น โดยประเด็นนี้ต้องแยกออก 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือการพยายามลากบริษัทนอมินีต่างๆ เข้ามา เกี่ยวกับการปลุกผีทักษิณในครั้งนี้สร้างความเกลียดชัง โดยไม่มีหลักฐานใดๆ มาอ้างอิงการถือหุ้นของผีทักษิณเลย เพราะเมื่อลองมองไปที่รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่มีใครดูใกล้เคียงกับผีตนนี้เลย ส่วนในประเด็นที่ 2 หากทักษิณ ถือหุ้นบริษัท ปตท. จริง มันเป็นเรื่องผิดไหมและทักษิณจะมีสิทธิ์เข้ามาควบคุมการดำเนินงานของบริษัทหรือไม่? … ตอบเลยว่า ไม่ผิดหรอกครับ ประเทศไทยเป็นเสรี และใครที่มีสิทธิ์ก็สามารถเข้ามาซื้อหุ้นได้ตราบใดที่อยู่ภายใต้กฎหมาย และทักษิณก็คงมีสิทธิ์เทียบเท่าผู้ถือหุ้นทั่วไป เพราะคนถือหุ้นใหญ่ก็ยังเป็นกระทรวงการคลัง และยังมีคนของรัฐเข้ามานั่งเป็นบอร์ดในการดูแลผลประโยชน์ชาติ
สุดท้ายคำถามที่ว่า ใครเป็นเจ้าของ ปตท. หรือ ปตท. กำลังดำเนินกิจการเพื่อใคร มันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ !? ในเมื่อทุกเช้าที่เราตื่นมาเราไม่เคยขาดแคลนพลังงานใช้กัน และการดำเนินการก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของภาครัฐ และรัฐได้ผลตอบแทนในระดับที่รัฐพอใจ