Monthly Archives: June 2015

  • แฉปม เบื้องหลังน้ำมันไทย

    แฉปม เบื้องหลังน้ำมันไทย

    เบื้องหลังน้ำมันไทย เมื่อต้นปีที่ผ่านมามีการแชร์คลิปของทหารท่านหนึ่งที่ออกมากล่าวถึงเบื้องหลังน้ำมันไทย และมีการแชร์จนเกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มคนที่ได้รับชมคลิป รวมถึงเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานของรัฐ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เนื้อหาที่นำมาพูดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นคำพูดเพียงครึ่งเดียว มีความจริงปนอยู่บางส่วน โดยหากนำมาพูดไม่เต็มประโยคก็มักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด โดยจะขอนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ คำว่า “น้ำมันและแก๊ส จะหมดภายในอีก 6-7 ปี” หรือ ก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี ไม่ได้หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมใต้ดินมีเหลือให้เราขุดขึ้นมาอีก 6-7 ปี หากแต่หมายถึง การคำนวณจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว 8.41 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556 หารด้วยปริมาณการผลิตทั้งปีจากอัตราการผลิตเฉลี่ยประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก็จะเหลือประมาณ 6.8 ปี ตามรายงานของ BP Statistical Review of world energy 2013 workbook ซึ่งตัวเลข 6-7 ปีนี้ เป็นตัวเลขเฉลี่ยรวมปริมาณสำรองและการผลิตก๊าซธรรมชาติจากทุกแหล่ง ในบางแหล่งที่อัตราการผลิตสูงอาจจะเหลือ 3-4 ปี ต้องเร่งสำรวจหาเพิ่มในกระเปาะอื่นๆ บางแหล่งอาจจะยาวถึง […]


  • ถ้าก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี แหล่งพลังงานทางเลือกต่อไปคืออะไร?

    ถ้าก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี แหล่งพลังงานทางเลือกต่อไปคืออะไร?

    รู้จริงพลังงานไทย กล่าวถึงสถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไท­ย ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี,ราคาก๊าซตลาดโลกลด,ตลอดจนมติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย, แหล่งพลังงานไทยที่มี เช่น บ่อน้ำมันไทย, แสวงหาแหล่งพลังงานนอกประเทศ เช่น แหล่งผลิตน้ำมันประเทศโอมาน, ผลิตก๊าซจากประเทศเวียตนาม, เมียนม่าร์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไทย การขยายการนำเข้า ตลอดจนราคาน้ำมันตลาดโลก, ราคาน้ำมันประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานในการเข้­าสู่ประชาคมอาเซียน AEC สถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไท­ย ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี,ราคาก๊าซตลาดโลกลด,ตลอดจนมติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย, ยกเลิกสัมปทานปิโตรเลี่ยม, แหล่งพลังงานไทยที่มี เช่น บ่อน้ำมันไทย และแหล่งน้ำมันทับซ้อน ตลอดจนราคาน้ำมันตลาดโลก, ราคาน้ำมันประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตอบข้อสงสัยที่ว่า ก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี จริงหรือ เราสามารถหาแหล่งพลังงานจากไหนมาทดแทนได้หรือไม่     Share This:


  • ปตท. กำไรแสนล้าน

    ปตท. กำไรแสนล้าน

    ปตท. กำไรแสนล้าน  ภาษาไทยเป็นภาษาซึ่งมีความซับซ้อนทางภาษา และซ่อนนัยยะการสื่อความหมายอยู่มากมาย บางคำ พูดกันอยู่โต้งๆ แต่กลับมีวาระซ่อนเร้นของความหมายที่น่ากลัว ซ่อนอคติ การติเตียน คำกำกวม และการทำให้เข้าใจผิด อย่างคำง่ายๆ ที่เราคุ้นชินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา …”ปตท. กำไรแสนล้าน” ปตท. กำไรแสนล้าน ซ่อนนัยยะอะไรให้เราตีความหมายกันบ้าง ลองคิดเล่นๆ ถ้ามีคนบอกว่าบริษัทหนึ่ง ที่เราต้องซื้อสินค้า(ที่เรารู้สึกว่าแพง)ของเขาเป็นประจำนั้น มีกำไรแสนล้าน เราคงจะรู้สึกในทันที ว่ากำไรมากมายมหาศาลเหลือเกิน กำไรนั้นต้องเป็นเงินที่ขูดรีดจากเราแน่ๆ และกำไรนั้นต้องเกิดจากการคอรัปชั่น โดยแอบซ่อนความรู้สึกอิจฉาอยู่เบาๆ เพราะเชื่อสิหากมีคนหยิบยื่นโอกาสให้คุณเป็นผู้บริหารบริษัทแสนล้าน น้อยคนนักที่จะกล้าปฎิเสธ เอาใหม่ๆ หากเราเติมว่า “ปตท.กำไรแสนล้าน จากรายได้ 2.88 ล้านล้านบาท” (ข้อมูลสถิติ ปี 2013) ซึ่งคิดเป็นกำไรสุทธิเพียง 3.28% หมายความว่า ทุกๆ รายรับ 100 บาท เป็นกำไร 3.26 บาท หรือคิดง่ายๆ ว่าขายของ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท […]


  • ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก? อ้างอิงตลาดสิงคโปร์

    ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก? อ้างอิงตลาดสิงคโปร์

    เคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก ? ในเมื่อประเทศไทยก็ส่งออกน้ำมันเป็นอันดับต้นๆของโลก ข้อมูล : อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินคำถามจากกลุ่มคนบางกลุ่มว่า “น้ำดิบโลกลด ทำไมราคาน้ำมัน (หน้าปั๊ม) ในไทยถึงไม่ลด” หรือ “ขุดน้ำมันในไทยทำไมจึงขายราคาตลาดโลก” ทั้งที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง ทำไมราคาในไทยจึงไม่ลดตาม อันนี้อยากจะทำความเข้าใจว่าก่อนที่จะตั้งคำถามใดๆ สิ่งสำคัญคือ “ความรู้พื้นฐาน” เพราะหากคุณตั้งคำถามโดยไม่มีความรู้พื้นฐานในด้านนั้นๆ คุณจะเข้าใจคำตอบได้อย่างไร เช่น ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลด (ซึ่งก็มักเทียบกับอเมริกา) ทำไมน้ำมันสุกไทยจึงไม่ลด ประเด็นนี้ตั้งแต่ต้นก็ไม่สามารถเทียบกันได้ตั้งแต่ต้น เพราะน้ำมันดิบเอาไปใช้เลยไม่ได้ ต้องเสียค่ากระบวนการกลั่นเสียก่อน และอีกเหตุผลหนึ่งคือประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันสุกสิงคโปร์ ไม่ใช่น้ำมันดิบตลาดโลก ถึงตรงนี้บางคนอาจจะตั้งคำถามต่อว่าแล้วทำไมต้องอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ เราจึงขออนุญาตหยิบยกข้อมูลจากเพจน้องปอสาม และข้อมูลจาก www.eppo.go.th ของกระทรวงพลังงานมาให้อ่านกัน “สำหรับศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ก็คือ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยที่ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งคำว่า “ราคาสิงคโปร์” นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ จึงเลือกที่จะอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดกลางฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคาก็สอดคล้องอย่างเป็นสากลกับตลาดซื้อขายน้ำมันอื่นๆ […]