Articles Posted by the Author:

  • จริงหรือที่ปตท ฉวยโอกาส…? ที่เราต้องจ่ายแพงเพราะ “ขาดแคลน” พลังงาน

    จริงหรือที่ปตท ฉวยโอกาส…? ที่เราต้องจ่ายแพงเพราะ “ขาดแคลน” พลังงาน

    เป็นความจริงที่สุด เพราะถึงแม้ว่าประเทศไทยพอมีทรัพยากรปิโตรเลียมอยู่บ้าง แต่เราไม่ใช่เศรษฐีพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ยิ่งถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นเศรษฐีน้ำมันชาติอาหรับ หรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านเราบางประเทศ จะยิ่งเห็นว่าเรา “เทียบไม่ติด” ยกตัวอย่างง่ายๆ ซาอุดิอาระเบีย มีก๊าซฯ สำรองมากกว่าเรา 7 เท่า มีน้ำมันสำรองมากกว่าเรา 600 เท่า!!!! ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียก็มีก๊าซฯ สำรองมากกว่าเรา 7.5 เท่า มีน้ำมันสำรองมากกว่าเราถึง 9 เท่า (ข้อมูล EIA) จริงอยู่ที่เราจะผลิตปิโตรเลียมได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซฯ น้ำมันดิบ ถ่านหิน แต่เมื่อคิดรวมกันแล้วเราผลิตได้ประมาณ 1,000,000 บาร์เรล/วัน หรือเพียง 55% ของความต้องการใช้พลังงาน ทำให้เรายังต้องนำเข้าพลังงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันดิบ ถ่านหิน หรือแม้กระทั่งก๊าซฯ เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯ สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากประเทศสิงคโปร์ ปตท ฉวยโอกาส? ทำให้ปีหนึ่งๆ เราต้องเสียเงินในการนำเข้าพลังงานมหาศาลกว่า 1.2 ล้านล้านบาท* หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ […]


  • ปตท กับรัฐบาลไทย ใครกันแน่ที่ทำให้เราต้องรับกับสภาพเป็นแบบนี้???

    ปตท กับรัฐบาลไทย ใครกันแน่ที่ทำให้เราต้องรับกับสภาพเป็นแบบนี้???

    ที่ผ่านมารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยยึดมั่นในหลักการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนจะมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอและเหมาะสมในระยะยาว แม้ว่าประเทศเราจะสามารถผลิตพลังงานได้บางส่วน แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทั้งหมด  ทำให้ต้องมีการนำเข้าพลังงานสุทธิในสัดส่วนประมาณ  55-60% ของปริมาณการใช้ทั้งหมดในแต่ละปี ด้วยเหตุนี้ปตท กับรัฐบาลไทยจึงต้องมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุดควบคู่ไปกับการแสวงหาพลังงานแหล่งใหม่ๆ เพิ่มเติมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราจะได้มีพลังงานเหลือให้ลูกหลานใช้ไปเรื่อยๆ ไม่ขาดแคลน และเพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ในการดำเนินโครงการด้านพลังงานขนาดใหญ่ๆ แต่ละครั้ง  ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงต่อสาธารณชนให้ทราบทุกครั้ง สำหรับการให้สัมปทานปิโตรเลียมในบ้านเรานั้น มี พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเป็นกฎหมายที่ระบุขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ รวมทั้งกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้กันอยู่ ที่สำคัญประเทศที่มีการนำเข้าพลังงานเป็นหลัก (Net Importer) ล้วนแล้วแต่ต้องดำเนินนโยบายพลังงาน โดยหลักเดียวกับประเทศไทยแทบทั้งสิ้น เนื่องจากพลังงานของโลกนับวันมีแต่จะหมดไปและจะเป็นภาระของลูกหลานในอนาคต หากคนรุ่นนี้ใช้พลังงานให้หมดไปโดยขาดความรับผิดชอบก็จะบอกได้เลยว่าไม่ต้องโทษปตท กับรัฐบาลไทยหรอกจงโทษตัวเราเองที่ไม่รู้จักการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าคงจะดีกว่า   Share This:


  • พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

    พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

    ในการทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งขึ้น-ลง เป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งขึ้นและลง คงไม่มีธุรกิจใดที่จะมีแต่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มิเช่นนั้นคนก็คงแห่ไปทำธุรกิจนั้นกันหมดแล้ว ที่ผ่านมาโรงกลั่นก็มีขาดทุน เพราะถ้ามีแต่กำไรจริง ทำไมในปี 2546 บริษัท เชลล์ ถึงต้องขายโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC)? เหตุผลคือ ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ และถ้าไปดูข้อมูลผลประกอบการ ปี 2551 จะเห็นได้ว่า โรงกลั่นขาดทุนรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ที่สงสัยกันว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ทำไมโรงกลั่นถึงส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทย ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบ้านเราเป็นยังไง มันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ – ต้นทุนเนื้อน้ำมัน – ค่าภาษีและกองทุน – ค่าการตลาด แล้วจะให้ทวงคืน ปตท ยังไง ก็ในเมื่อเวลาที่โรงกลั่นส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศนั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศ จะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าโรงกลั่นส่งออกน้ำมันราคาถูกซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการคิดกันคนละฐานราคาเท่านั้น ดูจากกราฟค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทย โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป (เฉลี่ยไตรมาสที่ 1/2555) จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง […]


  • ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ทั้งๆที่เราเป็นถึงเจ้าของบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ

    ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ทั้งๆที่เราเป็นถึงเจ้าของบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ

    หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง เป็นเพราะ ปตท. โก่งราคาน้ำมันรึเปล่า? ก็ในเมื่อประเทศไทยก็เป็นเจ้าของบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ รายได้เข้าประเทศก็ดี เราก็น่าจะเติมน้ำมัน “ถูก” สิ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แล้วทำไมประเทศไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบ? คำตอบคือก็เพราะว่าน้ำมันดิบที่เราผลิตได้ในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น่ะสิ ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 140,000 บาร์เรล/วัน หรือ 23 ล้านลิตร/วัน แต่เรามีความต้องการใช้ถึง 900,000 บาร์เรล/วัน หรือ 143 ล้านลิตร/วัน  นั่นแสดงว่าเรามีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 800,000 บาร์เรล/วัน หรือ 127 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ อย่างนี้แล้วจะให้เราใช้น้ำมันถูกได้อย่างไร ในเมื่อเรายังต้องนำเข้าน้ำมันดิบ น้ำมันดิบที่ประเทศไทยนำเข้ากว่า 80% มาจากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ก็เพราะราคาที่ใช้ในการ ซื้อ-ขาย เป็นราคาที่ถูกกำหนดโดยกลไกในตลาด นั่นคือ อุปสงค์และอุปทานของทั้งโลกนั่นเอง โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบมาในราคาตลาดโลก เวลาขายก็ใช้ราคาตลาดโลกเช่นกัน โดยตลาดกลางซื้อขายน้ำมันที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายในภูมิภาคเอเชียก็คือตลาดสิงคโปร์ โดยราคาที่ซื้อขายกันในตลาดสิงคโปร์สะท้อนมาจากอุปสงค์-อุปทานของผู้บริโภค –          ไม่ใช่ ราคา ณ โรงกลั่นสิงคโปร์ […]


  • ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่   หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]