Articles Posted in the " พลังงานไฟฟ้า " Category

  • ระบบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน และเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟ

        จากบทความ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ปลอดมลพิษ” เมื่อตอนที่ผ่านมา จะพอทำให้รู้จักตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันแล้ว ซึ่งในตอนนี้จะขอพูดถึงระบบภายในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า อัตราสิ้นพลังงาน และสถานี Charger ที่มีในประเทศไทย       ระบบภายในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในส่วนของระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้ง อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานและอัตราเร่ง  โดยมาเริ่มกันที่ระยะเวลาการชาร์จเต็ม 1 ครั้งสามารถวิ่งได้ราวๆ 2 – 4 ร้อยกิโลเมตร อัตราสิ้นเปลืองพลังงานอยู่ใกล้เคียงกับก๊าซ NGV คือ 0.30 –  0.80 สตางค์ /  กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพจราจร และพฤติกรรมในการขับขี่ของผู้ขับ ในส่วนของอัตราเร่ง  รถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ ที่ กฟน. ใช้อยู่สามารถทำความเร็วสูงสุด 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งสามารถทำได้ 0 – 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้ภายใน 9 วินาที สำหรับเครื่องยนต์ (มอเตอร์ไฟฟ้า) 63 แรงม้า หรือ […]


  • รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า เทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ปลอดมลพิษ

        รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric car) เป็นรถยนต์ประเภทหนึ่งที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทั้งหมดของรถยนต์ประเภทนี้จะถูกเก็บอยู่ใน แบตเตอรี่ และเนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถให้แรงบิด ได้แทบจะทันที ทำให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า มีอัตราเร่งที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว อีกสิ่งที่สำคัญมากๆคือรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีการปลดปล่อยมลพิษ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับอนาคตข้างหน้า     รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แบ่งเป็น Plug-in Hybrid ที่มีทั้งเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ (ใช้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า) หรือ ที่เป็นแบตเตอรี่ล้วนที่ไม่มีเครื่องยนต์ (ใช้ไฟฟ้า 100% ) ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ แต่ภายในประเทศไทยยังต้องนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวทั้งหมด ทางบริษัท ปตท. จึงได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวภายในประเทศเอง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ปตท.โดย พัฒนาทั้งในเรื่องของระบบ Charger รวมไปถึงพัฒนาระบบแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย   ระบบชาร์จ เทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า     โดยในส่วนของตัว Charger ทาง ปตท.ได้นำเข้าเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อมาศึกษาระบบ Charger โดยตรง ซึ่งเทคโนโลยี Charger สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบ่งเป็น Home Charge ใช้ไฟบ้าน 220V. ในการชาร์จ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 – 8 […]