จากการผิดหวังที่เฝ้ารอคอยข่าวที่ออกมาหลาย ๆ ครั้งของหุ้นดีมีอนาคตอีกหนึ่งตัวในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกเลื่อนมาตั้งแต่ ปี 2561 จนมาปี 2562 ก็ถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่ 2 จนบัดนี้เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ข่าวคราวก็ได้เงียบหายไป ซึ่งหุ้นตัวนั้นก็เป็นหุ้นลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีชื่อว่า บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จนหลายๆคนคงเกิดความสงสัยเหมือนผมว่าทำไม? เป็นเพราะอะไรถึงทำต้องถูกเลื่อนเรื่อยๆ ด้วยข้อมูลที่ผม พอจะหาได้และความรู้ที่มีในตลาดทุนพอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า 1.เป็นเรื่องของการจัดการแบ่ง แยกทรัพย์สินที่ถูกโอนจากบริษัทแม่ไปสู่บริษัทลูกที่เสร็จไม่ทันเวลา และมีความไม่ชัดเจนภายในองค์กรเองอันนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งจัดการเสร็จเรียบร้อยในช่วงปลายปีนั้นเอง เนื่องด้วยหุ้นของปตท.เองถูกรัฐบาลถือผ่านกระทรวงการคลัง 51% จึงทำให้มีเรื่องของการเมืองเข้ามามีส่วน ทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นจึงต้องเลื่อนจนกว่าการเมืองจะนิ่งและเป็นประชาธิปไตยเสียก่อน 3. น่าจะเป็นในเรื่องของจังหวะและเวลาที่ยังไม่ลงตัวเพราะหากไม่ได้มีความจำเป็นรีบร้อนในการเข้าซื้อขายแบบเร่งด่วนดั่งสมัย ปตท.ที่ถูกบีบให้แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ในสภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยและยังถูกบีบด้วยเจ้าหนี้ของรัฐบาล(กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟที่มาปล่อยกู้ให้ประเทศแก้วิกกฤตในตอนนั้น) ตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ทำให้ราคาอาจจะไม่ดีนัก มาถึงตรงนี้แล้วก็คงเริ่มสงสัยแล้วกันแล้วใช่ไหมครับในเรื่องของการกำหนดราคาที่ปตท.จะเอาบริษัทฯลูกเข้าตลาด ซึ่งผมก็บอกเลยว่าเป็นอะไรที่บอกได้ยากมากครับ เพราะตามหลักแล้วการหาราคาที่เหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆแล้วการทำการ สำรวจความต้องการของตลาด สภาวะของตลาดในช่วงนั้นประกอบกันด้วย หากตลาดดีกำลังเป็นขาขึ้นราคาก็ถูกกำหนดโดยการบวกค่าความคาดหวัง (Expected Return)เข้าไป แต่หากสภาวะตลาดซบเซาก็จะหักส่วนลด (Discount […]
ยังมีกลุ่มใครบางคนที่มีความพยายามสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่สับสน โดยเฉพาะในโลกโซเชียลว่า ปตท. เป็นของทักษิณอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่ม NGO ด้านพลังงานบางกลุ่ม ที่ต้องการเรียกคะแนนเสียง จากความเกลียดชังทางการเมือง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หุ้นใน ปตท. ประมาณ 67% นั้น เป็นของรัฐบาล ถือหุ้นผ่านทั้งกระทรวงการคลัง กองทุนรวมวายุภักษ์ และกองทุนประกันสังคม โดยที่เมื่อมีการตรวจสอบไปถึงคนในตระกูลชินวัตร พบว่ามีการถือหุ้น เพียง 7,700 หุ้น จากหุ้นทั้งหมด 2.85 พันล้านหุ้น หรือคิดเป็น 0.0002% เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถมีอิทธิพลต่อการบริหารงานของ ปตท. ได้เลย ส่วนในกรณีที่มีการตั้งข้อสงสัยว่า อาจถือหุ้นผ่านบริษัทนอมินีต่างประเทศ ต้องเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องที่สามารถทำได้และเปิดเสรีอยู่แล้ว ซึ่งหากจะเหมาว่ากองทุนนอมินีต่างชาติทั้งหมดเป็นของทักษิณ นั่นหมายความว่า ทักษิณต้องมีเงินมหาศาลขนาดที่ว่าจะซื้ออะไรก็ได้เลยทีเดียว ดูข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ “ปตท. เป็นของใคร จะเป็นของของทักษิณจริงหรือไม่” ได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=t_wEDAkaMpk Share This:
ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ได้มีการจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. หลังจากที่แปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้น ปตท. หุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท ซึ่งมีประเด็นในกระบวนการจัดจำหน่ายหุ้น ปตท. ที่ถูกโจมตีมากมาตลอด มีอยู่ 3 ประเด็น ดังนี้ ราคาหุ้น ปตท. ที่ขาย หุ้นละ 35 บาทนั้น เป็นราคาที่ถูกเกินไป ในการจองซื้อ ในส่วนที่ขายให้ประชาชนทั่วไปนั้น ขายหมดใน 1 นาที 17 วินาที มีประชาชนไปเข้าแถวแล้วจองไม่ได้เป็นจำนวนมาก ในรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรร มีรายชื่อของผู้ที่เป็นนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นญาติ เป็นพรรคพวกกับผู้มีอำนาจอยู่หลายคน สาเหตุที่ ปตท. เข้าระดมทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2544 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ฟื้นจากวิกฤตดี โดยเฉพาะตลาดทุน ตลาดหุ้น ต้นปี 2544 […]