ทุกครั้งที่การปรับขึ้นราคา lpg หลายคนมักมีคำถามมาว่า ทำไมต้องปรับแล้วปรับเผื่ออะไร ทั้งที่เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่ดีไม่แย่ ทำไมต้องทำร้ายแม่ค้าขายอาหารตาดำ และมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ต้องรับผิดชอบค่าอาหารจานด่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อยามขึ้นราคา lpg แต่ในยามที่ก๊าซlpgปรับลง ค่าอาหารกับไม่ได้ปรับตามไปด้วย นั้นเองจึงเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าในวันนี Share This:
ขึ้นราคา LPG/ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตอนที่ 2 ประชาชนได้อะไรจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน?.. เป็นคำถามที่ประชาชนให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากประชาชนจะรู้สึกว่าการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เหมือนการขึ้นราคา LPG ซึ่งทำให้ประชาชนต้อง “จ่ายมาก” ขึ้น โดยลืมให้ความสำคัญว่าการปรับในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไร และประโยชน์นี้จะส่งผลถึงประชาชนอย่างไรบ้าง จึงจะขอนำเสนอประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ออกเป็นข้อย่อยให้พิจารณากัน ดังนี้ 1. LPG มีเพียงพอใช้ในทุกภาคส่วน เนื่องจาก – เดิมผู้ขาย LPG มีความต้องการขายให้ภาคปิโตรเคมีมากกว่า เนื่องจากราคาที่สูงกว่า เพราะในภาคส่วนอื่นๆ มีการกำหนดราคาที่ถูกกว่า จนภาคส่วนอื่นๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าซึ่งมีราคาสูงกว่า การปรับโครงสร้างราคาจึงเป็นการสร้างความเท่าเทียมในด้านราคา – ผู้ขายไม่มีแรงจูงใจในการขาย LPG เนื่องจากราคาขายในประเทศค่อนข้างต่ำไม่คุ้มค่าในการผลิต การปรับโครงสร้างราคาใหม่จึงสร้างอุปทานให้เกิดความต้องการขยายการผลิตเพื่อขายในประเทศมากขึ้น – ก่อนการปรับโครงสร้างราคา เมื่อเข้าสู่ AEC ผู้ขายจะมีความต้องการขายออกนอกประเทศมากกว่า เนื่องจากราคาขายในประเทศถูกกว่าส่งออกค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้า LPG อยู่ 15% หากมีการส่งออกมาก ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น การปรับโครงสร้างราคา LPG ให้ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน AEC จึงเป็นการลดอุปทานในการส่งออก 2. LPG […]
จากนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน LPG และ NGV เมื่อปลายปีที่แล้ว และปรับใช้จริงในส่วนของ LPG เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สร้างกระแสต่อต้านให้พูดถึงมากในสังคม เหตุผลหลักคงหนีไม่พ้นการทำให้ราคา LPG สูงขึ้น จนกลุ่มคนบางกลุ่มเข้าใจว่า การปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ แท้จริงแล้ว เป็นการขึ้นราคา LPG นั่นเอง ปัญหา “โครงสร้างราคาพลังงานบิดเบี้ยว” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน เกิดจากการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงผิดวัตถุประสงค์ นอกจากรักษาเสถียรภาพด้านราคาแล้ว ยังใช้กองทุนน้ำมันฯ เป็นเครื่องมือในการทำประชานิยม โดยกำหนดราคาขายปลีก LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ส่งผลให้คนใช้เบนซินต้องจ่ายเงินอุดหนุนคนใช้แก๊ส นอกจากนั้น LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงยังมีหลายราคาก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขายแก๊สผิดประเภท (ขายข้ามภาค) รวมทั้งลักลอบส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ขาย LPG ในราคาแพงกว่า จากการที่ราคา LPG ถูกกำหนดให้ต่ำกว่าต้นทุน สามารถสรุปเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ 1. ผู้ผลิต LPG จะเลือกขายให้ภาคปิโตรเคมีก่อน (เนื่องจากราคาภาคปิโตรเคมี ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคากันเอง) ส่วนที่เหลือจึงจะขายให้ภาคเชื้อเพลิง (รัฐกำหนดราคาไว้ที่ 333 ดอลลาร์/ตัน) หากไม่เพียงพอจะนำเข้า LPG มาใช้เป็นเชื้อเพลิง 2. เมื่อมีความต้องการใช้ […]
ขึ้นราคาก๊าซ เสื้อแดง ท่ามกลางกระแสความปรองดองในประเทศ ที่ทุกคนพยายามละลายสี ละลายความขัดแย้ง เพื่อให้ประเทศได้เดินหน้าต่อไป ยังมีรากลึกบางอย่างที่ยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนไทยบางกลุ่ม ยังคงมีการแบ่งแยกว่า คนนั้นเป็นพวกคนนี้ องค์กรนี้อยู่ในอำนาจของคนนั้น ให้เราเห็นอยู่ประปราย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับพลังงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในประเทศ ที่ยังคงถูกพูดถึงแม้จะผ่านระยะเวลามาหลายปีว่า ปตท.เป็นของใคร โดยไม่คำนึงว่านโยบายต่างๆ ที่ออกมาเพื่อผลประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่กลับมองว่าเมื่อนโยบายได้การสนับสนุนจากคนสีใด สีนั้นต้องได้ประโยชน์และอีกสีต้องเสียผลประโยชน์เป็นแน่ ย้อนไปปี 2556 มีการพูดถึงสถานการณ์ราคาก๊าซในประเทศที่ได้รับการอุดหนุนราคาจากภาครัฐโดยเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมัน ซึ่งหากจะมองกันดีๆ ก็จะทราบว่าการให้คนใช้น้ำมันช่วยอุดหนุนราคาก๊าซ ก็ดูไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมันเลย จึงเริ่มมีนโยบายที่จะยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะมีผลให้ราคาก๊าซเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันจะลดลง ในวันที่ 28-30 สิงหาคม 2556 ได้มีกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รวมพลคนรักษ์พลังงาน” เข้าชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต และมีกลุ่มคนเสื้อแดงเข้าร่วมปราศรัยกว่า 100 คน โดยแกนนำได้ขึ้นเวทีปราศรัย ระบุว่ามาให้กำลังใจนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน และเห็นด้วยกับนโยบายขึ้นราคา LPGของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อยกเลิกเก็บเงินคนใช้น้ำมัน ซึ่งมองในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่มาเพื่อสนับสนุนนโยบายและให้กำลังแก่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เท่านั้น อย่างไรก็ดีจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บางสี บางกลุ่มเริ่มตั้งคำถามและข้อสงสัย พยายามโยงทักษิณ และกลุ่มเสื้อแดงเข้ากับ […]
ทำไมแก๊สแพง คำว่า “น้ำมันแพง” หรือ “แก๊สแพง” กลายเป็นคำที่คนมักใช้ติดปาก แม้ว่าเราจะไม่สามารถวัดได้ว่า “แพง” หมายถึงอย่างไร และคำว่า “ถูก” ที่เราต้องการคือราคาเท่าไหร่ รู้แต่ว่าราคาถูก คือราคาที่ฉันอยากได้ เป็นราคาแบบตามใจฉัน แต่เพราะราคาปัจจุบันยังไม่ถูกใจ จึงกร่นด่าว่าแพงไว้ก่อน ซึ่งหากจะวัดคำว่าแพง จากกำไรที่ได้ ราคาแก๊ส (LPG) หน้าปั๊มอยู่ที่ 23.96 บาท ในขณะที่ค่าการตลาดหรือกำไรอยู่ที่ 3.2566 บาท (9/6/2558) เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกำไรคือ 13.59% ยังไม่นับต้นทุนของแต่ละปั๊ม นั่นแปลว่าสินค้าชนิดนี้ไม่ได้สร้างกำไรให้ผู้ค้ามากมายเลย บางท่านอาจแย้งว่า ในเมื่อก๊าซขุดได้ในประเทศ ทำไมจึงต้องตั้งราคาต้นทุนไว้ซะสูง โดยลืมคิดไปว่าในความเป็นจริง อุปสงค์หรือความต้องการใช้ก๊าซของประเทศไทยมากกว่าอุปทานหรือการจัดหาที่สามารถหาได้ในประเทศเสียอีก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซส่วนหนึ่งในรูป LNG (Liquid Natural gas) ซึ่งมีราคาสูงมาก นอกจากนี้ ราคาขายปลีกก๊าซบ้านเรายังรวมภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนอีกด้วย ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่า ทำไมแก๊สแพง (LPG) มาทำความรู้จักกับโครงสร้างราคากันก่อนดีกว่า 1. ในโครงสร้างราคาน้ำมันและ LPG นั้นจะประกอบด้วยหลักๆ คือ ราคาหน้าโรงกลั่น […]
ข่าวล่ามาแรงทุกวันนี้ว่า กระทรวงพลังงาน จะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม แล้วคนไทยก็อึ้งเลยอ่ะดิ ซึ่งจะให้ได้เท่าราคาตลาดโลก ปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ ต่อ กก. ตั้งแต่มกราคม 2556 เป็นต้นไป ปีแรกจะขึ้นจาก 18.13 บาท/กก. เป็น 24.82 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 6.69 บาท/กก. และเตรียมขยับขึ้นในปีถัดไปด้วย เห็นตัวเลขแบบนี้อย่าคิดว่าเป็นเรื่องจิ๊บๆ นะ คิดดูสิ…ถ้าบ้านเราใช้ก๊าซหุงต้มถังขนาด 15 กิโลกรัม เราจะต้องจ่ายค่าก๊าซ เพิ่มขึ้นปีละ 100 บาท 2 ปี 200 บาทเชียวนะ นี่ยังไม่รวมค่ารถส่งก๊าซอีก เฮ้อ.. ได้ขึ้นค่าแรง 300 บาท แต่พอครบ 2 ปีถูกเอาคืนไปถึง 200 บาท เชียวล่ะ !! แล้วค่าครองชีพของแต่ละคนจะขึ้นไปอีกเท่าไหร่ล่ะ ทั้งข้าวแกง ข้าวถุง ค่าสินค้าใน ชีวิตประจำ วัน คิดหรือว่าบัตรคูปองพลังงาน […]