ยังมีข้อสงสัยที่บางกลุ่มในโซเชียล สร้างประเด็นคำถามเชิงว่าข้าราชการ ที่ดำรงตำแหน่งเป็น บอร์ด ปตท. มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ซึ่งตรงนี้จากข้อมูลของทาง ปตท. เองได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปและการควบคุมดูแลไว้ดังนี้ คณะกรรมการ ปตท. (บอร์ด ปตท.) มาจากไหน มีการควบคุมดูแลอย่างไร ข้อเท็จจริง · พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ฉบับแรก ที่ออกมา เมื่อปี พ.ศ. 2518 จนถึงฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้มีตัวแทนจากข้าราชการเข้าไปเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจเพื่อเป็น ตัวแทนของประชาชน โดยมีการตราคุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้ามของกรรมการ ที่มาจากข้าราชการอย่างชัดเจน และไม่ให้ข้าราชการเข้าถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นบริษัทมหาชนที่ตนเป็นกรรมการอยู่ รวมทั้งไม่ให้เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกิน 3 แห่งด้วย · การเป็นกรรมการโดยการมอบหมายของรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ก็เพื่อให้การบริหารงานมีความคล่องตัว ครอบคลุมการกำกับดูแลกิจการพลังงานของ ประเทศอย่างทั่วถึงอีก ทั้งยังช่วยให้เกิด การถ่ายทอดนโยบายจากภาครัฐไปสู่การ บริหารงานของกิจการพลังงานที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการควบคุม ดูแล รักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนในอีกทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นผลดีในแง่ ของประสิทธิภาพการดำเนินงานและความสอดคล้องต้องกันของนโยบายพลังงาน ในภาพรวม เพื่อให้อุตสาหกรรมพลังงานพัฒนาได้ อย่างต่อเนื่องต่อไป […]
รายการพลังงานวันนี้ ปรับโครงสร้างราคาพลังงานส่งผลต่อค่าการตลาดน้ำมันสูงอย่างไหร่ Share This:
ข้าราชการบอร์ด ปตท. ตามที่กลุ่มบางกลุ่มที่คัดค้าน สัมปทานรอบที่ 21 และไม่เห็นด้วยกับกระบวนการทำงานของกระทรวงพลังงาน รวมถึง ปตท. มีการตั้งคำถามทั้งต่อคนที่มีความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ไปจนถึงผู้ถือหุ้นต่างๆ ด้านพลังงาน ทุกคำถามมีการตอบคำถามและคำชี้แจง แต่น่าเสียดายที่คำตอบกลับมีผู้ให้ความสนใจน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับคำถาม และหลายคำถามก็ได้สร้างอคติให้คนเข้าใจผิดเรื่องพลังงานจนเกิดเป็นกระแสต่อต้านอยู่ในทุกวันนี้ ยกตัวอย่างคำถามหนึ่ง ที่อดีต สว. ท่านหนึ่งเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการ บอร์ด ปตท. ความว่า “ที่ผ่านมาเห็นชัดว่าข้าราชการของกระทรวงพลังงานคือตัวปัญหา เพราะเข้าไปนั่งเป็นทั้งบอร์ดปตท. และอยู่ใน กบง.ที่มีบทบาทกำกับดูแลราคาน้ำมัน ซึ่งเมื่อปตท.มีกำไร ข้าราชการที่เข้าไปนั่งเป็นบอร์ด ปตท.ก็จะได้รับโบนัส จึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์หลายแสนล้านบาทที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง” ซึ่งคำถามดังกล่าวถูกนำมาเล่นเป็นละครรีเมคไม่จบสิ้น ทั้งที่อีกฝ่ายก็ตอบข้อข้องใจครั้งแล้วครั้งเล่า จนบางทีคนตอบยังท้อใจ ตรงนี้ผู้เขียนขอหยิบยกคำตอบของ ดร. คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ตอบคำถามนี้ (อีกครั้ง) ในงานสัมมนา เดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชนิดคำต่อคำมาให้อ่านกัน “ผมอยากที่จะเรียนอีกสักนิดหนึ่งครับที่ ท่าน สปช. รสนา พูดถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ท่านธีระชัยด้วย เหมือนทวงความซื่อสัตย์สุจริตและการรักษาประโยชน์ส่วนรวมจากผม ผมก็เสียใจอยู่นิดหนึ่งครับว่า […]
เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. น่าแปลกใจที่ในสถานการณ์ด้านพลังงานค่อนข้างมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ (ประชาชนหลายท่าน มักรู้สึกว่าแพงเกินไป โดยปราศจากความเข้าใจพื้นฐานโครงสร้างพลังงาน) แทนที่จะช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานเพื่อลดการนำเข้า แต่มีกลุ่มคนบ้างกลุ่ม อาศัยความรู้สึกทางสังคมที่เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในรายได้ ตั้งเป้าโจมตีว่าเงินเดือนผู้บริหาร Share This:
หยุดข้อมูลบิดเบือน เงินเดือนซีอีโอ ปตท ไม่ได้สูงเกือบ 5 ล้านบาทอย่างที่คิด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่อยู่ในความนิยมอันดับต้นๆ เป็นที่ที่หลายคนใฝ่ฝันอยากทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่แก่กล้าด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ เพื่อมาในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการ (บอร์ด ) และผู้ที่ยังเพิ่งเริ่มวัยทำงาน เพราะผลตอบแทนสูง เพราะมีทั้งเงินเดือน โบนัส ค่าเบี้ยประชุม หุ้น สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) และสวัสดิการ รวมไปถึง ค่าเช่าบ้าน ค่าปฏิบัติงานต่างจังหวด และค่าล่วงเวลา ข้อมูลเหล่านี้ปรากฏชัดเจนในหนังสือรายงานประจำปีของปตท. 2550 ที่ระบุว่า ได้จ่ายผลตอบแทนให้กรรมการบริษัทซึ่งมีงานหลักในการประชุมรวมทั้งสิ้นประมาณ 42 ล้านบาท (ตาราง”42 ล้านบาทเบี้ยประชุม โบนัส กรรมการ”) โดยมีโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และสุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) […]